ปั๊มนมแล้วเจ็บ เป็นเพราะอะไร

Q: ใช้เครื่องปั๊มแค่ 15 นาที แล้วลานนมเป็นแผล ขนาดปั๊มเบาๆ ก็ยังเป็น จะแก้ไขอย่างไรดี?

 

A: ถ้าปั๊มแค่ 15 นาที ด้วยแรงต่ำสุดของเครื่องแล้วก็ยังเจ็บ แสดงว่าเครื่องที่ใช้อยู่อาจจะมีแรงดูดเกินมาตรฐานเครื่องมือแพทย์ แนะนำลองหาโอกาสไปลองเครื่องรุ่นที่เหมาะสม กับโค้ชนมแม่ ผู้มีประสบการณ์นะคะ ระหว่างนี้ ให้หยุดปั๊มก่อน แล้วใช้วิธีบีบด้วยมือแทนค่ะ

 
 
สาเหตุของการปั๊มนมแล้วเจ็บ
  1. แรงดูดที่มากเกินไป (ไม่ควรเกิน 200 mmHg) 
  2. ใช้เวลาปั๊มนานเกินไป (ไม่ควรปั๊มติดต่อกันนานเกินกว่า 30 นาที)
  3. รอบดูดช้าเกินไป (ไม่ควรต่ำกว่า 30 รอบต่อนาที) เพราะการดูดด้วยความแรงค้างนานๆ จะยิ่งสร้างความบาดเจ็บมากขึ้น
  4. ขนาดกรวยปั๊มไม่เหมาะสม กรวยที่เล็กเกินไป จะทำให้เสียดสี กรวยที่ใหญ่เกินไป จะทำให้ลานนมถูกดูดเข้าไปด้วย
 
แรงดูดในช่องปากทารกที่เหมาะสมเพื่อให้การดูดเต้าแม่มีประสิทธิภาพอยู่ระหว่าง 87-203 mmHg (เฉลี่ย 145 mmHg)
 
ทารกที่สมองในการควบคุมการทำงานของการดูดและกลืนยังไม่สมบูรณ์เพราะคลอดก่อนกำหนด หรือซึมยา หรือมีพังผืดใต้ลิ้นจะไม่สามารถสร้างแรงดูดในช่องปากได้พอที่จะกระตุ้นเต้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ กรณีนี้ การใช้เครื่องปั๊มนมที่เหมาะสมพร้อมคำแนะนำที่ถูกต้องจากผู้เชี่ยวชาญ จะช่วยแก้ปัญหาในช่วงแรกได้
 
 
ในทางกลับกันทารกที่มีแรงดูดในช่องปากมากเกินไป จะทำให้แม่รู้สึกเจ็บปวด เต้าบาดเจ็บ และส่งผลให้การผลิตน้ำนมน้อยลง
 
 
มีงานวิจัยหนึ่งซึ่งทำการทดลองระหว่างทารก 2 กลุ่ม โดยการวัดแรงดูดในช่องปากของทารก และปริมาณน้ำนมที่ได้รับจากการดูด
 
กลุ่มทดลองคือ กลุ่มที่แม่มีปัญหาเจ็บเต้าทุกข์ทรมานเวลาลูกดูด และกลุ่มควบคุมที่แม่ให้นมลูกได้อย่างปกติ ไม่มีอาการเจ็บปวดใดๆ
 
ผลการวิจัย*คือ กลุ่มที่ลูกดูดแรงจนแม่เจ็บมีแรงดูดสูงสุดระหว่าง 154-274 mmHg (เฉลี่ย 214 mmHg) เทียบกับกลุ่มปกติที่มีแรงดูดสูงสุด 191-225 mmHg (เฉลี่ย 163 mmHg)
 
 
เมื่อเทียบปริมาณน้ำนมที่ได้รับ กลุ่มทดลองที่ลูกดูดแรงๆ วัดปริมาณน้ำนมที่ได้รับได้เพียง 30-72g (เฉลี่ย 41g) ในขณะที่กลุ่มควบคุมที่ลูกดูดไม่เจ็บ ได้รับน้ำนม 40-100g (เฉลี่ย 70g)
 
สรุปคือ ดูดแรง นอกจากทำให้เจ็บแล้ว ยังทำให้ได้นมน้อยลงด้วย
 
 
เพราะฉะนั้น เครื่องปั๊มที่ผลิตโดยบริษัทผู้ผลิตเครื่องมือแพทย์ที่ได้มาตรฐานจึงมีแรงดูดสูงสุดเพียง 250 mmHg เท่านั้น ซึ่งเป็นระดับที่ปลอดภัยต่อการใช้งานกับร่างกายมนุษย์ 
 
เครื่องที่โฆษณาว่าแรงดูดดี แรงดูดสูง 400-500 mmHg นั้นเป็นความเข้าใจที่ไม่ถูกต้อง
 
การจะปั๊มนมได้มากหรือน้อยขึ้นกับ 3 ปัจจัยนี้ร่วมกันคือ
  • ปริมาณน้ำนมที่มีในเต้า ถ้าเต้าคุณแม่ไม่มีน้ำนม เครื่องปั๊มดูดแรงแค่ไหนก็ทำให้นมออกเยอะดังใจไม่ได้ ต้องค่อยๆ กู้กลับมา
  • กลไกการหลั่งน้ำนม ถ้านมในเต้ามีมาก แต่กลไกการหลั่งน้ำนมไม่ทำงาน นมก็จะไม่ไหล หรือไหลได้ไม่ดี
  • คุณภาพของเครื่องปั๊มที่เหมาะสม เครื่องที่ดูดแรงมากจะยิ่งทำให้เจ็บ ระยะสั้นอาจจะเหมือนออกดี แต่อาการบาดเจ็บจะสะสมมากขึ้น ส่งผลให้ฮอร์โมน oxytocin ไม่หลั่ง ระยะยาวแล้วจะทำให้นมลดลง 
 
ถ้าต้องการให้นมเพิ่ม ต้องระบายน้ำนมออกบ่อยๆ ด้วยการดูดที่มีประสิทธิภาพของลูก หรือใช้เครื่องปั๊มรุ่นที่เหมาะสมอย่างถูกวิธีร่วมกับการนวดและบีบด้วยมือหลังปั๊มทุกครั้ง
 
*ที่มา http://bit.ly/2vInheN
 

ต้องการทดลองเครื่องปั๊มนมที่เหมาะสมกับโค้ชนมแม่ผู้มีประสบการณ์ในการแก้ปัญหา

คลิกลงทะเบียน https://bit.ly/3jGfqZb 

หมายเหตุ: แรงดูดทั้งหมดทดสอบด้วยการใช้เกจวัดแรงดันตัวเดียวกัน ค่าที่วัดได้อาจไม่ตรงกับที่บริษัทผู้จำหน่ายระบุ

 

รูปเต้านมที่ได้รับบาดเจ็บจากการใช้เครื่องปั๊มนมแรงเกินมาตรฐานความปลอดภัย

Spectra S1

Spectra S1

Spectra S1

spectra s1 pantip

malish pantip

หลังเปลี่ยนเครื่องปั๊มเป็น Ardo จาก 3-4 ออนซ์ กลายเป็น 14-16 ออนซ์


  • NC3.jpg
    ตามธรรมชาติ กระบวนการผลิตน้ำนมของร่างกายแม่ แบ่งเป็น 3 ช่วง คือ ช่วงแรกตอนตั้งครรภ์ได้สัก 16 - 22 สัปดาห์ ร่างกายจะเริ่มผลิตคอลอสตรัม หรือหัวน้ำนม แต่ผลิตในปริมาณเพียงน้อยนิด ช่วงน...

  • mom vs. covid19.png
    ขณะนี้งานวิจัยเพื่อทำความเข้าใจผลกระทบของการติดเชื้อ COVID-19 ต่อคุณแม่ตั้งครรภ์ ยังมีจำกัด แต่ในปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานว่ามีความเสี่ยงสูงต่อการเจ็บป่วยรุนแรงกว่าประชากรทั่วไป อย่า...

  • nommaecenter_เจ็บเต้านม2.jpg
    ความกังวลของแม่ให้นมเกือบทุกคนคือ กลัวนมหด นมหาย ไม่มีนมให้ลูกกินได้เพียงพอ ยิ่งถ้าสังเกตตัวเองแล้วพบว่า หลังคลอด1 - 2เดือน เต้านมคัดน้อยลง นั่นแสดงว่านมกำลังเริ่มหดหายไปใช่ไหม? อ...

  • S__32604181.jpg
    1. เชื้อ COVID-19 สามารถส่งผ่านทางการให้ลูกกินนมแม่ได้หรือไม่ ยังไม่มีการตรวจพบเชื้อ COVID-19 ในน้ำนมแม่ที่ได้จากแม่ที่ถูกสงสัยหรือยืนยันแล้วว่าติดเชื้อลูกจึงมีโอกาสติดเชื้อน้อยมา...

  • nommaecenter_เครื่องปั๊มนม_Rumble_Tuff1.jpg
    ในความเป็นจริงแล้ว เต้านมจะไม่เคยเกลี้ยงจริงๆ เพราะร่างกายจะทำการผลิตน้ำนมอยู่ตลอดเวลา ซึ่งมีการวิจัยพบว่า ทารกไม่ได้ดูดนมจนหมดเต้า แต่ปริมาณน้ำนมที่ทารกดูดออกไปนั้นจะมากหรือน้อยขึ...

  • Ardo mom_181116_0040.jpg
    เป้าหมาย : ปั๊มน้ำนมให้ได้ปริมาณเต็มที่ 25-35 ออนซ์ต่อวัน ภายใน 10-14 วัน หลังคลอด โดยไม่ต้องคำนึงว่าลูกจะกินแค่ไหน ร่างกายของคุณแม่พร้อมที่จะผลิตน้ำนมแล้ว ถ้ารอนานเกินไป มันอาจจะย...

  • j6.jpg
    เพิ่มน้ำนมด้วยการเข้าเต้า [ ] ตรวจสอบให้แน่ใจว่าลูกดูดอย่างถูกวิธีและได้น้ำนม [ ] ให้ดูดเต้าบ่อยขึ้น [ ] ให้ดูดทั้งสองเต้าทุกครั้ง [ ] สลับเต้าไปมาหลายๆ ครั้ง [ ] Skin to skin c...

  • Food Allergy.png
    หากลูกไม่ได้มีปัญหาอะไร คุณแม่ให้นมไม่จำเป็นต้องงดอาหารทั้งหมดตามรายการข้างล่างนี้นะคะ รายการทั้งหมดใช้เพื่อเป็นไกด์ไลน์สำหรับหาสาเหตุของการแพ้ เด็กแต่ละคนแพ้อาหารแต่ละชนิดไม่เหมือ...

  • nursing_strike.png
    อยู่ๆ ลูกก็ไม่ยอมกินนม หรือNursing strike คุณแม่ที่ให้ลูกเข้าเต้ามาดีๆ แตาอยู่มาวันนึง ลูกก็ออกอาการงอแง ไม่ยอมเข้าเต้าเสียดื้อๆ อาการปฏิเสธเต้าแบบนี้ ภาษาอังกฤษเรียกว่า Nursing S...

  • รวมพอดคาสต์วิธีกู้น้ำนม เพิ่มน้ำนม แก้ปัญหานมน้อย นมไม่พอ
Visitors: 94,906