ปั๊มนมอย่างไรให้พอ หากลูกไม่ดูดเต้า

เป้าหมาย :

ปั๊มน้ำนมให้ได้ปริมาณเต็มที่ 25-35 ออนซ์ต่อวัน ภายใน 10-14 วัน หลังคลอด โดยไม่ต้องคำนึงว่าลูกจะกินแค่ไหน  ร่างกายของคุณแม่พร้อมที่จะผลิตน้ำนมแล้ว ถ้ารอนานเกินไป  มันอาจจะยากหรือแทบเป็นไปไม่ได้ที่เพิ่มปริมาณน้ำนมให้ได้ถึงระดับนี้  

หลังจากคลอด เริ่มต้นปั๊มนมให้เร็วที่สุดเท่าที่จะสามารถทำได้โดย

  • ปั๊มให้ได้ 8-10 ครั้งทุก 24 ช.ม. (เท่ากับจำนวนครั้งที่ลูกดูดต่อวัน) ยิ่งปั๊มได้บ่อยแค่ไหนต่อวัน ก็จะยิ่งทำให้เต้านมผลิตน้ำนมได้มากขึ้นเท่านั้น
  • เลือกใช้เครื่องปั๊มนมที่เหมาะสมแบบปั๊มคู่ (ดูวิธีเลือกเครื่องปั๊มนมที่เหมาะสม ด้านล่าง)
  • จนกว่า น้ำนมจะมาจริงๆ ในวันที่ 3 หรือ 4 หลังคลอด ให้ปั๊มนมเป็นเวลาอย่างน้อย 10-15 นาทีต่อข้าง ต่อการปั๊มแต่ละครั้ง
  • เมื่อปริมาณน้ำนมเพิ่มขึ้นแล้ว พยายามปั๊มให้นานขึ้น (บ่อยที่สุดเท่าที่ทำได้) อย่างน้อย 20-30 นาที หรือปั๊มต่ออีก 2 นาทีหลังจากน้ำนมถูกปั๊มออกหมดแล้ว แล้วแต่กรณีใดจะเกิดก่อน (การปั๊มให้เกลี้ยงเต้า จะช่วยให้น้ำนมผลิตได้เร็วขึ้น)
  • การใช้มือกระตุ้นกลไกการหลั่งน้ำนมก่อนปั๊ม นวดเต้าระหว่างปั๊ม และบีบด้วยมือตามหลังจากปั๊มทุกครั้ง จะช่วยให้ร่างกายผลิตน้ำนมได้มากขึ้น

ตั้งเป้าที่จำนวนครั้งของการปั๊มต่อวัน ไม่ใช่ระยะห่างของการปั๊มแต่ละครั้ง

  • ถ้าคุณคิดถึงแต่ว่าจะต้องปั๊มทุกกี่ช.ม. เมื่อมีการปั๊มครั้งหนึ่งช้าไปบ้าง จะทำให้จำนวนครั้งในการปั๊มต่อวัน (ปัจจัยสำคัญ) ลดลงไปโดยไม่รู้ตั
  • เมื่อวางแผนการปั๊ม พยายามคิดว่า "ฉันจะปั๊มให้ได้ 10 ครั้งหรือมากกว่าได้ยังไง"
  • ถ้าไม่สามารถปั๊มได้ระหว่างช่วงไหนของวัน ให้ปั๊มทุกชั่วโมงในช่วงที่ทำได้ เพื่อให้ถึงเป้าหมายที่กำหนด (8-10 ครั้งต่อวัน)
  • ก่อนที่จะถึงเป้าหมาย 25-35 ออนซ์ต่อวัน ให้ปั๊มตอนกลางคืนอย่างน้อยหนึ่งครั้ง
  • อย่าให้ช่วงห่างระหว่างการปั๊มแต่ละครั้งนานเกินกว่า 5 ช.ม. (เต้านมที่คัดมากๆ และไม่ได้ปล่อยออก จะทำให้การผลิตน้ำนมช้าลง)

เมื่อสามารถปั๊มได้ตามเป้าหมาย 25-35 ออนซ์ต่อวัน อาจจะลดจำนวนครั้งที่ปั๊มลงและยังคงรักษาระดับปริมาณน้ำนมนี้ไว้ได้

  • ลดจำนวนครั้งในการปั๊มเป็น 5-7 ครั้งต่อวัน ซึ่งเป็นจำนวนครั้งที่คุณแม่ส่วนใหญ่สามารถรักษาระดับปริมาณการผลิตน้ำนมไว้ได้คงที่
  • อาจจะไม่จำเป็นต้องลุกขึ้นมาปั๊มตอนกลางคืน บางคนอาจจะปั๊มก่อนเข้านอนและปั๊มอีกครั้งทันทีที่ตื่นตอนเช้าก็ได้
  • เมื่อปริมาณน้ำนมถึงจุดที่กำหนดแล้ว  ปั๊มเพียง 10-15 นาทีต่อครั้งก็พอ
  • สังเกตปริมาณน้ำนมสัปดาห์ละครั้งด้วยการจดบันทึกปริมาณน้ำนมที่ได้ในแต่ละวัน

ถ้าต้องการเพิ่มปริมาณน้ำนม ยิ่งเริ่มต้นปฏิบัติได้เร็วเท่าใด ผลสำเร็จก็ยิ่งเร็วขึ้นเท่านั้น

ปริมาณ 25-35 ออนซ์ เป็นปริมาณนมแม่เฉลี่ยที่ทารกอายุ 1-6 เดือน จะได้รับอย่างพอเพียงในแต่ละวัน หลังจาก 6 เดือนไปแล้ว ปริมาณน้ำนมที่ทารกต้องการจะค่อยๆ ลดลง เพราะถูกแทนที่ด้วยอาหารตามวัย หากคุณแม่มีปริมาณนมสต๊อกมากพอ สามารถเริ่มลดรอบปั๊มได้หากต้องการ 

ที่มา: How to Established a Full Milk Supply with a Breast Pump โดย Nancy Mohrbacher, IBCLC 

เครื่องปั๊มนมที่ได้มาตรฐานสำหรับการปั๊มล้วน

  • เครื่องปั๊มนมแบบปั๊มคู่ สามารถปรับแรงดูดและรอบดูดได้ใกล้เคียงกับทารก
  • แรงดูดไม่ควรเกิน (250 mmHg หรือ 330 mBar) หากเกินกว่านี้จะทำให้เต้านมบาดเจ็บ ท่อน้ำนมตีบ และ/หรือ เส้นเลือดฝอยในเต้านมแตก
  • รอบดูดไม่ต่ำกว่า 30 ครั้งต่อนาที หากรอบต่ำมากๆ ร่วมกับแรงดูดที่แรง จะยิ่งทำให้เต้านมบาดเจ็บมากขึ้น
  • ขนาดกรวยปั๊มเหมาะสม (หัวนมเคลื่อนไหวได้สะดวก ไม่เสียดสีกับคอกรวย)

เครื่องที่เหมาะสม

  • รู้สึกสบายเวลาปั๊ม ไม่เจ็บ ไม่แสบ
  • นมไหลดี หลังปั๊มเต้านิ่ม โล่ง
  • หลังปั๊มหัวนมไม่บวม ไม่ยื่น ไม่ยาว
  • เมื่อปั๊มอย่างสม่ำเสมอ นมจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

เครื่องที่ไม่เหมาะสม

  • เจ็บ แสบ เวลาปั๊ม 
  • หัวนมถลอก แตก เป็นแผล มีรอยฉีก 
  • หลังปั๊มหัวนมบวม ยื่น ยาว 
  • ปั๊มไม่ค่อยออก เต้าหนัก ไม่โล่ง 
  • ปั๊มมานานแล้ว นมไม่เพิ่ม

--------------------------------------------

Tag: ปั๊มไฟฟ้า รุ่นไหนดี, ปั๊มไฟฟ้า ยี่ห้อไหนดี 2020, ปั๊มไฟฟ้า ยี่ห้อไหนดี 2563, ปั๊มไฟฟ้า ยี่ห้อไหนดี 2562,เครื่องปั๊มนม ยี่ห้อไหนดี,เครื่องปั๊มนม รุ่นไหนดี, ปั๊มนมไม่เจ็บ, รีวิวเครื่องปั๊มนม, Ardo, Unimom, Rumble Tuff, Spectra S1, Youha, Malish, Brusta, Attitude Mom Galaxy, mirror light, โค้ชนมแม่, นมน้อย, นมไม่พอ, ปั๊มนมไม่ออก, ปั๊มแล้วเจ็บ, กู้น้ำนม, นวดเปิดท่อ, นวดเคลียร์เต้า, นวดเพิ่มน้ำนม, เครื่องปั๊มนมรุ่นไหนดี, ปั๊มไฟฟ้า รุ่นไหนดี, ร้านนมแม่, โค้ชนมแม่, นมแม่, แรกคลอด, ตั้งครรภ์, แม่มือใหม่, นมไม่มา,นมมาช้า


  • NC3.jpg
    ตามธรรมชาติ กระบวนการผลิตน้ำนมของร่างกายแม่ แบ่งเป็น 3 ช่วง คือ ช่วงแรกตอนตั้งครรภ์ได้สัก 16 - 22 สัปดาห์ ร่างกายจะเริ่มผลิตคอลอสตรัม หรือหัวน้ำนม แต่ผลิตในปริมาณเพียงน้อยนิด ช่วงน...

  • mom vs. covid19.png
    ขณะนี้งานวิจัยเพื่อทำความเข้าใจผลกระทบของการติดเชื้อ COVID-19 ต่อคุณแม่ตั้งครรภ์ ยังมีจำกัด แต่ในปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานว่ามีความเสี่ยงสูงต่อการเจ็บป่วยรุนแรงกว่าประชากรทั่วไป อย่า...

  • nommaecenter_เจ็บเต้านม2.jpg
    ความกังวลของแม่ให้นมเกือบทุกคนคือ กลัวนมหด นมหาย ไม่มีนมให้ลูกกินได้เพียงพอ ยิ่งถ้าสังเกตตัวเองแล้วพบว่า หลังคลอด1 - 2เดือน เต้านมคัดน้อยลง นั่นแสดงว่านมกำลังเริ่มหดหายไปใช่ไหม? อ...

  • หัวนมบาดเจ็บจากปั๊ม_181116_0022.jpg
    Q: ใช้เครื่องปั๊มแค่ 15 นาที แล้วลานนมเป็นแผล ขนาดปั๊มเบาๆ ก็ยังเป็น จะแก้ไขอย่างไรดี? A: ถ้าปั๊มแค่ 15 นาที ด้วยแรงต่ำสุดของเครื่องแล้วก็ยังเจ็บ แสดงว่าเครื่องที่ใช้อยู่อาจจะมีแร...

  • S__32604181.jpg
    1. เชื้อ COVID-19 สามารถส่งผ่านทางการให้ลูกกินนมแม่ได้หรือไม่ ยังไม่มีการตรวจพบเชื้อ COVID-19 ในน้ำนมแม่ที่ได้จากแม่ที่ถูกสงสัยหรือยืนยันแล้วว่าติดเชื้อลูกจึงมีโอกาสติดเชื้อน้อยมา...

  • nommaecenter_เครื่องปั๊มนม_Rumble_Tuff1.jpg
    ในความเป็นจริงแล้ว เต้านมจะไม่เคยเกลี้ยงจริงๆ เพราะร่างกายจะทำการผลิตน้ำนมอยู่ตลอดเวลา ซึ่งมีการวิจัยพบว่า ทารกไม่ได้ดูดนมจนหมดเต้า แต่ปริมาณน้ำนมที่ทารกดูดออกไปนั้นจะมากหรือน้อยขึ...

  • j6.jpg
    เพิ่มน้ำนมด้วยการเข้าเต้า [ ] ตรวจสอบให้แน่ใจว่าลูกดูดอย่างถูกวิธีและได้น้ำนม [ ] ให้ดูดเต้าบ่อยขึ้น [ ] ให้ดูดทั้งสองเต้าทุกครั้ง [ ] สลับเต้าไปมาหลายๆ ครั้ง [ ] Skin to skin c...

  • Food Allergy.png
    หากลูกไม่ได้มีปัญหาอะไร คุณแม่ให้นมไม่จำเป็นต้องงดอาหารทั้งหมดตามรายการข้างล่างนี้นะคะ รายการทั้งหมดใช้เพื่อเป็นไกด์ไลน์สำหรับหาสาเหตุของการแพ้ เด็กแต่ละคนแพ้อาหารแต่ละชนิดไม่เหมือ...

  • nursing_strike.png
    อยู่ๆ ลูกก็ไม่ยอมกินนม หรือNursing strike คุณแม่ที่ให้ลูกเข้าเต้ามาดีๆ แตาอยู่มาวันนึง ลูกก็ออกอาการงอแง ไม่ยอมเข้าเต้าเสียดื้อๆ อาการปฏิเสธเต้าแบบนี้ ภาษาอังกฤษเรียกว่า Nursing S...

  • รวมพอดคาสต์วิธีกู้น้ำนม เพิ่มน้ำนม แก้ปัญหานมน้อย นมไม่พอ
Visitors: 94,990