ข้อขัดแย้งเรื่องการใช้ Domperidone

ข้อขัดแย้งเรื่องการใช้ Domperidone (Motilium) สำหรับแม่ให้นม

บทความโดย พญ.สุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ https://www.doctorbreastfeeding.com

 

คุณแม่แฟนเพจหลายท่านแชร์โพสต์จากเพจ RDU มาถามป้าหมอ โดยมีความกังวลว่า ยาดอมเพอริโดนที่คุณแม่หลายท่านกินทุกวัน บางท่านกินมานานหลายเดือนแล้ว เพื่อเพิ่มปริมาณการผลิตน้ำนมแม่

 

 

หากใช้ขนาดยาตามที่ Dr.Jack Newman ผู้เชี่ยวชาญนมแม่แห่งแคนาดา แนะนำ คือ 2 เม็ดวันละ 4 ครั้ง หรือ 3 เม็ดวันละ 3 ครั้ง ซึ่งเป็นขนาดยาที่งานวิจัยพิสูจน์แล้วว่าได้ผลในการเพิ่มปริมาณน้ำนม ก็จะขัดกับคำแนะนำที่ EMA เตือน คือ ไม่ให้ใช้สำหรับนอกข้อบ่งชี้รักษาการทำงานผิดปกติของกระเพาะอาหารและลำไส้ และ ไม่ให้ใช้เกิน 1 เม็ดวันละ 3 ครั้ง และไม่นานเกิน 7 วัน

 

 

ในขณะที่ยังไม่มีข้อสรุปจากผู้เกี่ยวข้องกับการพิจารณาเรื่องกฏเกณฑ์การใช้ยาในประเทศไทย คุณเบญได้กรุณาเรียนถาม Dr.Jack Newman ไปว่า เพราะเหตุใด ทาง EMA จึงออกคำแนะนำมาเช่นนี้ เป็นเพราะมีเคสเสียชีวิตจากการใช้ยาตัวนี้เพื่อเพิ่มปริมาณน้ำนมจริงหรือ

 

 

Dr.Jack ได้กรุณาตอบมาว่า ไม่มีเคสดังกล่าวเกิดขึ้นแต่อย่างใด งานวิจัยที่ EMA นำมาอ้างอิงเพื่อออกคำแนะนำดังกล่าว ก็ไม่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับกลุ่มคุณแม่ที่กินยาตัวนี้เพื่อเพิ่มปริมาณน้ำนมได้เลย เพราะล้วนแต่เป็นคุณแม่ที่อายุน้อย ไม่มีโรคหัวใจ เคสที่เสียชีวิตล้วนแต่เป็นคนแก่ที่มีโรคประจำตัวทั้งนั้น เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเส้นเลือดหัวใจตีบ

 

 

ส่วนในกลุ่มอายุน้อย พบว่าผู้หญิงมีปัญหาน้อยกว่าผู้ชายด้วยซ้ำไป สรุปว่า ไม่มีเหตุผลที่สมควร ที่ EMA จะแบนการใช้ยาดอมเพอริโดนในผู้ป่วยทั่วไปอายุน้อยกว่า 60 ปีที่ไม่มีโรคประจำตัว ไม่มีการใช้ยาอื่นที่มีผลกับการดูดซึมของยาดอมเพอริโดน

 

รวมถึงการที่เตือนเรื่องโด๊สยาขนาดสูง ก็ไม่มีหลักฐานที่แข็งแรงพอ เพราะจำนวนเคสน้อยมาก (ในจำนวนที่เสียชีวิต 1304 คน มีประวัติกำลังกินยาตัวนี้อยู่เพียง 10 คน โดยมี 4 คนที่กินโด๊สสูงกว่า 30 มก./วัน)

 

จึงเอามาสรุปไม่ได้ค่ะว่า การกินยาขนาดสูงมีความสัมพันธ์กับการเสียชีวิตของผู้สูงอายุเหล่านี้ ขอขอบคุณข้อมูลที่เป็นประโยชน์จากคุณเบญ BenBen LoveKing

 

ตอน USA ประกาศ เรื่อง FDA ไม่อนุญาตให้มีการขายยาดอมเพอริโดนใน USA จนทำให้วงการนมแม่ระส่ำระสายไปบ้าง เพราะคนจะรู้สึกว่า ยาดอมเป็นยาอันตรายจริงไหม ทำไม USA ถึงประกาศแบบนั้น ตอนนั้นป้าหมอเฉยๆ นะคะ เพราะเค้าเอาเคสคนแก่ ที่มีโรคหัวใจมาฉีดยาดอมเพอริโดนเป็นข้ออ้าง

 

ป้าหมออ่านเหตุผลที่ทางแคนาดายังอนุญาตให้ใช้ยาตัวนี้ได้ โดยทางฝ่าย Dr.Jack มีเหตุผลที่ดีมากกว่าเยอะค่ะ เมื่อเทียบ risk /benefit (ความเสี่ยง/ประโยชน์ที่ได้รับ) เพราะแม่ให้นมไม่มีใครอายุเกิน 60 ปี และส่วนใหญ่ก็ไม่มีโรคหัวใจ หรือความเสี่ยงอะไรที่ทำให้สมดุลเกลือแร่ผิดปกติ

 

พูดถึงสมดุลเกลือแร่ผิดปกติ ไม่ควรใช้ยา แต่ก็แปลกนะคะ เวลาเป็นโรคทางลำไส้ เช่น อาหารเป็นพิษ ก็ต้องมีภาวะเสียสมดุลเกลือแร่อยู่แล้ว แต่ก็ไม่มีปัญหาในการใช้ยาแต่อย่างใด หรือ ถ้าอ้างว่าเพราะใช้ยาช่วงสั้นๆ ก็เลยไม่เป็นอะไร และเห็นด้วยกับ Dr.Jack และผู้เชี่ยวชาญเรื่องนมแม่ค่ะ ว่า Risk (ความเสี่ยง) ของแม่ลูกคู่หนึ่งที่ไม่ได้ให้นมลูกนั้น มากมายมหาศาลเกินกว่ากลุ่มคนที่ไม่มีความรู้เรื่องนี้จะคาดถึง

 

แต่ถ้ามีเคสดังกล่าวเกิดขึ้นจริงๆ เช่น หญิงสาวไม่มีโรคประจำตัว อายุน้อยกว่า 60 ปี เสียชีวิตจากการใช้ยาดอม แม้แต่เพียงเคสเดียวบนโลกนี้ ยาตัวนี้สมควรถูกระงับการใช้จริงๆค่ะ รวมถึงการใช้ยาตัวนี้โดยไม่มีความจำเป็นจริงๆ เช่น มีน้ำนมเพียงพออยู่แล้ว แต่โลภมาก อยากมีมากกว่านี้อีก ก็เลยใช้ยา อันนี้ก็ไม่ควรใช้เช่นกันค่ะ

 

ส่วนคำแนะนำที่ว่า ถ้าไม่ได้ใช้ยาดอม ก็ไม่เห็นเดือดร้อนเลย หันไปใช้ยาอื่นก็ได้ น่าจะปลอดภัยกว่า เช่น fenugreek ยาประสระน้ำนม เพราะเหตุผลคือ เป็นสมุนไพร อันนั้นไม่เห็นด้วยค่ะ เพราะคำว่าสมุนไพร หรือ คำว่าเพราะเป็นธรรมชาติ ไม่ได้เป็นตัวรับรองว่า ไม่มีพิษ หรือ ไม่มีโทษ (ยกตัวอย่าง เห็ดพิษ)

 

ยาพวกนี้ ไม่มีการศึกษา ไม่มีการเก็บข้อมูลอย่างจริงจัง ถ้าถามป้าหมอว่าปลอดภัยกว่ายาดอมไหม พูดได้เลยว่าคงไม่ แต่เพราะไม่มีการศึกษา เป็นการบอกต่อๆ กันมา ไม่มีการเก็บข้อมูลผลข้างเคียง และติดตามอาการของผู้ใช้อย่างจริงจังและเป็นรูปแบบ และปัจจุบันมียาปลอมระบาดในอินเตอร์เน็ทด้วย อาจเอาอะไรใส่แคปซูลให้กินก็ไม่ทราบได้ ผู้ใช้ก็ต้องระมัดระวังและเสี่ยงกันเอาเอง

 

สรุปอีกทีค่ะ ถ้าไม่จำเป็นจริงๆ อย่าใช้ยาอะไรทั้งสิ้น เพราะยาทุกตัวมีความเสี่ยงไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง แต่ถ้าจำเป็นต้องใช้เพื่อเพิ่มน้ำนมจริงๆ ควรหาวิธีอื่นควบคู่กันไป เช่น การกินอาหารเพิ่มน้ำนม การให้ลูกดูดและปั๊มเพิ่มขึ้น และควรปรึกษาแพทย์ว่าตัวคุณแม่มีความเสี่ยงหรือมีข้อห้ามในการใช้ยาหรือไม่ เช่น อายุเกิน 60 ปี มีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ มีการใช้ยาอื่นร่วมด้วย มีภาวะเสียสมดุลเกลือแร่อยู่หรือไม่

 

และที่สำคัญคือ คุณหมอและคุณแม่ต้องมีข้อมูลว่า การที่แม่ลูกคู่หนึ่งจะไม่ได้ให้นมแม่ มีความเสี่ยงในการเป็นโรค และขาดโอกาสอะไรไปบ้าง และอันตรายของนมวัวมีอะไรบ้าง เช่น เพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคภูมิแพ้ โรคเบาหวาน โรคเรื้อรังอีกหลายโรค เพียงแต่โรคพวกนี้ยังไม่ปรากฏตอนนี้ ก็เลยทำให้คนส่วนใหญ่ไม่ค่อยเห็นความสำคัญของการให้นมแม่เท่าที่ควร สุดท้ายแล้ว ก็ต้องขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแต่ละท่านค่ะ

 

เมื่อมีผู้แย้งว่า RDU กล่าวว่า ยาดอมเพอริโดนเป็นยาที่ห้ามใช้ในแม่ให้นมลูก เพราะเอกสารกำกับยาเขียนไว้แบบนั้น

 

ป้าหมอขอชี้แจงดังนี้ค่ะ “เรื่อง เอกสารกำกับยา หรือ leaflets โดยปฏิบัติแล้ว ผู้เชี่ยวชาญเรื่องนมแม่ทั่วโลก ไม่ใคร่ยึดถือ เพราะว่า เขามี reference หรือ แหล่งอ้างอิงที่น่าเชื่อถือได้มากกว่า เพราะมีการศึกษาอย่างแท้จริงตั้งแต่วัดระดับยาในเลือดแม่ ในเลือดลูก ระดับยาในน้ำนม ศึกษาถึง การจับตัวของยากับโปรตีน ขนาดของโมเลกุลยา ฯลฯ แล้วจึงสรุปมาเป็น reference สำหรับผู้เกี่ยวข้องกับการให้นมแม่ไว้ใช้อ้างอิง

 

และพบได้บ่อยมาก ที่คำแนะนำในเอกสารกำกับยา จะไม่ตรงกับ breastfeeding reference ซึ่งป้าหมอเข้าใจว่า เอกสารกำกับยาต้องห้ามไว้ก่อน เพราะบางครั้งคนไข้ซื้อยากินเอง โดยไม่ปรึกษาแพทย์ ก็จะไม่รู้ว่าต้องระวังอะไรบ้างเป็นพิเศษ เพราะบ้านเราคนไข้ซื้อยากินเองได้ บริษัทยาเขาก็ต้องป้องกันตัวเองอย่างเต็มที่

 

 

ขออนุญาตยกตัวอย่าง ยา Norfloxacin ซึ่งในเอกสารกำกับยา จะเขียนว่า breast-feeding is not recommended while taking this medicine Before you take Norfloxacin you should discuss breast-feeding with your doctor or midwife. If you wish to breast-feed you should discuss with your prescriber whether there are any other medicines you could take which would also allow you to breast-feed. You should not stop this medicine without taking advice from your doctor.

 

 

แต่ถ้าเช็คจาก 2 แหล่งเช็คเรื่องยาในแม่ให้นมลูก กล่าวว่า

 

1. จาก http://toxnet.nlm.nih.gov/cgi-bin/sis/search Summary of Use during Lactation: Fluoroquinolones such as norfloxacin have traditionally not been used in infants because of concern about adverse effects on the infants' developing joints. However, recent studies indicate little risk.[1][2] In addition, the calcium in milk might prevent absorption of the small amounts of fluoroquinolones in milk,[3] but insufficient data exist to prove or disprove this assertion. The serum and milk levels and oral bioavailability of norfloxacin are the lowest of any of the fluoroquniolones, so the risk to the infant should be minimal. Short-term use of norfloxacin is acceptable in nursing mothers.

 

2.จาก http://e-lactancia.org/search?q=Norfloxacin level 0 : very low risk,compatible and not risky for breastfeeding or infant

ป้าหมอชอบเว็บ 2. คือ เว็บ e-lactancia.org เพราะง่ายต่อความเข้าใจดีค่ะ

 

และไหนๆ แล้ว มีคนสนใจเรื่องนี้มาก มีการแชร์ไปทั่ว และมีคนถามมาที่แฟนเพจป้าหมอ แฟนเพจนมแม่แฮปปี้ แฟนเพจมูลนิธิศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย รวมถึงโทรสายตรงไปที่คลินิคนมแม่ สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี

 

ป้าหมอก็ขออนุญาต ฝากประชาสัมพันธ์ ให้ทุกท่านที่สนใจเรื่อง การใช้ยาในคุณแม่ให้นมลูก ได้ทราบว่า วิธีตรวจสอบเรื่อง การใช้ยาขณะให้นมลูกที่ถูกต้อง สามารถตรวจสอบได้จาก 2 เว็บดังกล่าวข้างต้นได้เลยค่ะ ยาดอมเช็คจาก 2 เว็บนี้ เป็นยาที่ปลอดภัยในการให้นมลูกแน่นอนค่ะ

 

ขออนุญาตให้ความคิดเห็นว่า คำเตือนเรื่องการใช้ยาในคุณแม่ให้นมลูกในเอกสารกำกับยา เป็นไปเพื่อความปลอดภัยของบริษัทยา มากกว่า ความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ สำหรับคุณแม่ให้นมลูกค่ะ อย่างไรก็ดี มีแหล่งอ้างอิงที่เชื่อถือได้แน่นอนให้ทุกท่านตรวจสอบได้ไม่ยากค่ะ เพียงแค่มีอินเตอร์เน็ทเท่านั้น

 

และขอยืนยันเหมือนเดิมค่ะ ว่ายามีประโยชน์ก็ไม่น้อย แต่ยาทุกอย่างมีผลข้างเคียงแฝงอยู่เสมอ ดังนั้น อย่าใช้ยาพร่ำเพรื่อถ้าไม่มีข้อบ่งชี้ และ ควรปรึกษาแพทย์ถึงวิธีเพิ่มน้ำนมด้วยวิธีการอื่นๆที่ถูกต้องเหมาะสม ก่อนที่จะใช้ยาโดยไม่มีความจำเป็น และอาจเสี่ยงต่อผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น เพราะผู้ใช้ยาอาจไม่ทราบว่าตัวเองมีโรคประจำตัวอะไรซ่อนเร้นอยู่หรือไม่

 

และป้าหมอขอขอบคุณแอดมินที่ให้ข้อมูลให้ป้าหมอฟังแล้วสบายใจขึ้น เพราะตอนแรกคิดว่า ที่ EMA ออกมตินี้มา เป็นเพราะมีเคสมีปัญหาเกิดขึ้นแล้วหรือนี่ เพราะข้อมูลเรื่องยามันเปลี่ยนแปลงได้เรื่อยๆตลอดเวลา ยกตัวอย่าง ยา PPA ใช้มาหลายสิบปีผสมในยาแก้หวัดหลายสูตร ก็เพิ่งถูกถอนออกไป เพราะเพิ่มความเสี่ยงในการมีเลือดออกในสมอง

 

แต่คุณแอดมินบอกว่า เป็นการลงมติจาก EMA แบบไม่เป็นเอกฉันท์ ใช้วิธีโหวตเสียงข้างมาก สำหรับการออกมติครั้งนี้ ซึ่งคนที่โหวตไม่ให้ผ่าน น่าจะตั้งอยู่บนความคิดพื้นฐานว่า อะไรที่เสี่ยงแม้แต่นิดเดียว ถึงแม้ว่ายังไม่มีคนที่เสียชีวิตจากการกินยาดอมเพอริโดน ก็อย่าไปยุ่งกับมันเลยจะดีกว่าไหม ไม่อยากให้มีเคสเกิดขึ้นจริงแล้วค่อยแก้ไข กลัวว่าจะสายเกินไป

 

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ก็ยังมีคนที่โหวตให้ผ่าน (แต่แพ้คะแนนเสียง) น่าจะเป็นคนที่คิดว่า นมแม่เป็น Preventive medicine ช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นโรคมากมายทั้งในแม่และลูก ช่วยลดอัตราการเสียชีวิตของทารกทั่วโลก มีงานวิจัยที่บอกว่ายาดอมสามารถใช้เพิ่มปริมาณน้ำนม และ มีผลข้างเคียงที่ต่ำ และ หากมีการใช้อยู่ภาย ใต้คำแนะนำจากแพทย์ ก็น่าจะปลอดภัย ก็เลยโหวตให้ผ่าน

 

ทีนี้ก็ต้องมาลุ้นคณะกรรมการของเมืองไทยกันอีกทีค่ะ ว่าจะโหวตกันอย่างไร โอมเพี้ยง สุดท้ายนี้ คุณแม่ให้นมทุกท่านคะ อย่าซื้อยาดอมมากินเพื่อเพิ่มน้ำนมเองนะคะ แต่ควรปรึกษาแพทย์ถึงวิธีการเพิ่มน้ำนมอย่างยั่งยืน ตามแนวทางที่ถูกต้อง และหากจำเป็นต้องใช้ยาจริงๆแล้ว ขอให้แพทย์เป็นผู้แนะนำ เพื่อความปลอดภัยสูงสุดของตัวเองและลูกน้อยค่ะ


  • ฟัง YouTube ฟัง Podcast 1 - ในขณะที่พ่อแม่ส่วนใหญ่ทราบดีว่า “การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ดีที่สุดสำหรับทารก” แต่อัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่กลับต่ำกว่าการเลี้ยงลูกด้วยนมผสมหลายเท่า นั่นเป็...

  • ฟัง Youtube ฟัง Podcast EP2 ทำความเข้าใจเรื่องกระบวนการผลิตน้ำนม Lactogenesis I & II น้ำนมแม่ถูกผลิตจากการทำงานของฮอร์โมน กระบวนการผลิตน้ำนมของร่างกาย จะแบ่งเป็นสามช่วง ช่วง...

  • น้ำนมแม่แบ่งได้ 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 โคลอสตรัม หรือหัวน้ำนมเหลือง เป็นน้ำนมที่เต้านมผลิตออกมาในช่วงแรกคลอดจนถึง 3-5 วันหลังคลอด ปริมาณเฉลี่ย 15-30 cc ต่อวัน มีลักษณะเหนียวและข้...

  • ใครบ้างที่ต้องปั๊มนม คุณแม่ที่คลอดก่อนกำหนด หรือลูกมีปัญหาทางสุขภาพทำให้เข้าเต้าไม่ได้ ต้องอยู่ NICU คุณแม่ผ่าคลอดที่ลูกมาเข้าเต้าช้า มีปัญหาในการเข้าเต้า เข้าเต้าได้ไม่ดี หรื...

  • เครื่องปั๊มหรือลูกดูด แบบไหนเกลี้ยงเต้ากว่ากัน คำเตือนที่คุณแม่มือใหม่แม่มักจะได้ยิน คือ ต้องปั๊มให้เกลี้ยงเต้า หรือลูกดูดได้เกลี้ยงเต้ากว่าใช้เครื่องปั๊ม ซึ่งอาจจะทำให้หลายคนเข้า...

  • เริ่มปั๊มนมเมื่อไหร่ดี สำหรับคุณแม่ที่ลูกเข้าเต้าได้ดี อย่าลืมว่าการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่ดีที่สุด คือการให้ลูกเข้าเต้า การปั๊มนมแม่แล้วใส่ขวดป้อน สู้ให้ลูกเข้าเต้าไม่ได้ แต่สำหรั...

  • กลไกการหลั่งน้ำนม กลไกการหลั่งน้ำนม หรือ Let-down Reflex เป็นกระบวนการที่ร่างกายหลั่งน้ำนมออกมาโดยการทำงานของฮอร์โมน Oxytocin คุณแม่บางท่านอาจจะรู้สึกจี๊ดๆ ที่เต้านมก่อนที่น้ำนมจะ...

  • ทำไมปั๊มนมไม่ออกหรือปั๊มได้น้อย คุณแม่ที่ใช้เครื่องปั๊มนมคุณภาพดี นุ่มนวล ไม่เจ็บ เครื่องที่โค้ชเลือกให้ว่าเหมาะสมแล้ว แต่ทำไมยังปั๊มไม่ค่อยออกหรือปั๊มได้น้อยนั้น ลองตรวจสอบสาเหตุ...

  • บทที่ 5 - 20 เคล็ดลับสำหรับแม่ทำงาน ตอนที่ 1 เคล็ดลับในบทนี้แปลและเรียบเรียงมาจากเว็บไซต์ของ Dr. Sear บริบทบางอย่างอาจจะไม่ตรงกับสังคมไทย แต่ส่วนใหญ่แล้วเป็นคำแนะนำที่มีประโยชน์ซ...

  • บทที่ 5 - 20 เคล็ดลับสำหรับแม่ทำงาน ตอนที่ 2 ทำชีวิตให้ง่ายขึ้น 11.ทำให้การออกจากบ้านตอนเช้าเป็นเรื่องง่ายขึ้น ลูกจะทำให้กิจวัตรประจำตอนเช้าวันทำงานของคุณไม่ราบรื่นเหมือนเดิม ...

  • บทที่ 6 - วิธีเก็บรักษานมแม่ เก็บน้ำนมในภาชนะสำหรับใส่อาหารแบบไหนก็ได้ หรือจะใช้ถุงเก็บน้ำนมแม่ก็ได้ เขียนวันเวลาที่ปั๊มนมไว้บนภาชนะ ควรแบ่งปริมาณน้ำนมให้พอดีกับมื้อหนึ่งที่ลูกกิน...

  • บทที่ 7 – วิธีฝึกลูกดูดนมแม่จากขวด เมื่อคุณแม่ต้องกลับไปทำงาน ก็จำเป็นต้องให้ลูกกินนมแม่ด้วยวิธีอื่นแทนการเข้าเต้าการป้อนนมแม่ที่ปั๊มออกมาด้วยขวดเป็นวิธีที่ใช้กันมากที่สุด แต่เมื่...

  • บทที่8 -ทารกต้องการน้ำนมปริมาณมากน้อยเพียงใด   แม่ ๆ หลายคนสงสัยว่าจะต้องเตรียมน้ำนมแม่ไว้ปริมาณเท่าไร เวลาที่ไม่สามารถอยู่ให้นมลูกได้ด้วยตนเอง ในเด็กทารกที่เลี้ยงด้วยนมแ...

  • บทที่ 9 - เคล็ดลับการทำสต็อคน้ำนมและเพิ่มน้ำนมด้วยการปั๊มนม สิ่งสำคัญที่ควรรู้ ปริมาณน้ำนมที่ร่างกายผลิต = ปริมาณน้ำนมที่ระบายออก ดังนั้นถ้าต้องการให้มีน้ำนมมากเท่าใด ต้อ...

  • บทที่ 10 - Workshop เพิ่มน้ำนม สำหรับคุณแม่ที่รู้สึกว่าตัวเองมีปัญหานมน้อย หรือไม่พอนั้น ขอให้แยกประเภทปัญหาของตัวเองก่อนนะคะ กรณีที่ 1 ลูกเข้าเต้าแม่ได้ดี ไม่มีปัญหา แต่ให้นมผ...

  • บทที่ 11 - Power Pumping ปั๊มเพิ่มน้ำนม Power pumping เป็นเทคนิคการปั๊มนม โดยเลียนแบบการดูดของทารกในช่วงแรกเกิดซึ่งมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ทารกจะดูดบ่อยและนาน ช่วยกระตุ้นการ...

  • บทที่ 12 - ยาเพิ่มน้ำนม คำถามยอดนิยมของคุณแม่ให้นมลูกทุกคนก็คือ มียาอะไรที่ช่วยเพิ่มน้ำนมได้บ้าง แม้จะแนะนำว่าควรแก้ปัญหาด้วยวิธีที่ไม่ใช้ยาก่อนดีกว่า โดยการให้ลูกดูดให้ถูกวิธี ด...

  • nommaecenter_เครื่องปั๊มนมไฟฟ้า_สต๊อกนม_Unimom_Allegro2.jpg
    เมื่อตั้งใจจะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ล้วนให้นานที่สุด และเลือกที่จะใช้เครื่องปั๊มนมเป็นผู้ช่วย เราเข้าใจดีว่า คุณแม่ก็ยังมีความกังวล และมีคำถามในใจอีกมากมาย เราจึงรวบรวมคำตอบจากความกังวล...

  • nommaecenter_ปั๊มนม_สต๊อกนม_นมแม่1.jpg
    คำถามที่ได้ยินบ่อยๆ จากคุณแม่ที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่คือ ต้องสต๊อกน้ำนมไว้เท่าไหร่ถึงจะพอสำหรับลูก คำตอบคือ ถ้าต้องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ล้วนโดยไม่ใช้นมผสม ช่วงที่ลาคลอดสามเดือน ต่อให้...

  • nommaecenter_เครื่องปั๊มนม_ARDO_Calypso.jpg
    วิธีเพิ่มปริมาณน้ำนมที่ดีที่สุด คือ ให้ลูกดูดนมแม่อย่างถูกวิธีบ่อยๆ และต้องเป็นการดูดอย่างมีประสิทธิภาพ คือ ดูดแล้วต้องได้น้ำนม ไม่ใช่แค่การอมหัวนมแม่เป็นเวลานานๆ เท่านั้น ปกติแล้...

  • nommaecenter_เลี้ยงลูกด้วยนมแม่_ปั๊มนม_เต้านมอักเสบ1.jpg
    ปวดเต้า แดง เจ็บปวดมาก ทำอย่างไรดี? นี่คืออาการ "เต้านมอักเสบ" ที่แม่หลายคนกลัว หลายคนประสบมาแล้วรู้ว่ามันเจ็บปวดทรมานแค่ไหน จนทำให้แม่หลายคนล้มเลิกความตั้งใจที่จะเดินต่อไปบนเส้นทา...

  • nommaecenter_เครื่องปั๊มนมไฟฟ้า_สต๊อกนม_Unimom_Minuet_LCD1.jpg
    คุณแม่หลายคนได้รับข้อมูลมาผิดๆ จนทำให้เชื่อว่า เครื่องปั๊มนมที่ยิ่งดูดแรงยิ่งดี จึงมักตัดสินใจเลือกซื้อเครื่องปั๊มนมไฟฟ้าด้วยเหตุผลนั้น แล้วยังปรับโหมดไว้แรงสุดตั้งแต่คลอดใหม่ๆ ซึ่...

  • all-um.jpg
    ตารางคำนวณปริมาณน้ำนม กรอกจำนวนมื้อที่ป้อนนมลูกในช่อง แล้วกด calculate

  • หัวนมบาดเจ็บจากปั๊ม_181116_0020.jpg
    ปัญหาที่แม่ๆ หลายคนต้องพบเจอจากการใช้เครื่องปั๊มนมที่ไม่เหมาะกับตัวเอง มีอยู่ 5 ปัญหาหลักๆ คือ 1. ปั๊มไม่ออก ปั๊มได้น้อย2. ปั๊มแล้วเจ็บ จนขยาดไม่อยากปั๊ม3. ปั๊มได้เลือด แทนได้นม4. ...

  • molax-m.jpg
    เริ่มใช้ดอมเพอริโดน (Domperidone) บทนำ ดอมเพอริโดน (Domperidone หรือ Motilium) เป็นยาซึ่งมีผลข้างเคียงช่วยกระตุ้นการสร้างน้ำนม ซึ่งอาจจะเป็นผลมาจากการเพิ่มปริมาณฮอร์โมนโปรแลคติน (...

  • 47386512_2168287783192458_4535804095314788352_n.jpg
    คุณแม่ปั๊มล้วน ไม่ได้ให้ลูกเข้าเต้า ต้องทำอย่างไรจึงจะมีน้ำนมเพียงพอ เรามีเคล็ดลับมาฝากกัน ตั้งเป้าหมาย โดยปั๊มนมให้ได้ปริมาณเต็มที่ 25 - 35 ออนซ์ต่อวัน ภายใน 10 - 14 วัน หลังคลอด...

  • มะเขือเปราะ-ดาวิกา-3.jpg
    เมื่อมีอาการบ่งบอกว่าเป็นเต้านมอักเสบ นมมีก้อนแข็งควรปฎิบัติดังนี้ 1. อย่าหยุดให้นมข้างที่เป็น เพราะกลัวว่าลูกจะกินไม่ได้ ความจริงคือ ต้องให้ลูกดูดเป็นข้างแรกเสมอ ดูดให้บ่อยขึ้น ปั...

  • ตอบทุกคำถาม FAQ - บีบมือ vs ปั๊มมือ vs ปั๊มไฟฟ้า สำหรับคุณแม่มือใหม่ที่ตั้งใจเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ อาจจะมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการเลือกที่ปั๊มนม หรือเครื่องปั๊มนมว่าควรจะเลือกแบบไหน อย่า...

  • 1. เครื่องปั๊มนมเป็นเครื่องมือแพทย์ที่ใช้แก้ปัญหาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ สามารถช่วยชีวิตได้ทั้งแม่และลูก ไม่ใช่เครื่องใช้ไฟฟ้าทั่วไป การซื้อเครื่องปั๊มนมตามรีวิวโดยขาดความรู้ที่ถูกต้...

  • ใช้ Youha แล้วเจ็บ เปลี่ยนกรวยหรือเปลี่ยนเครื่องดี คุณแม่ที่จะใช้ Youha ได้แล้วไม่เจ็บต้องเป็นคุณแม่ที่นมเยอะมากๆและมีหัวนมยืดหยุ่นลานนมหนานะคะเพราะแรงดูดของ youha แรงมากๆระดับต่ำส...

  • Baby Nursing / Breastfeeding Tracker เป็นแอพสำหรับบันทึกการเข้าเต้า ปั๊มนม ป้อนนม รวมทั้งสุขภาพและพัฒนาการต่างๆ ของลูกน้อย สำหรับ ระบบ Android / Sumsung, Huawei, Oppo, etc. สำห...

Visitors: 94,880