EP 28 ตัวเหลือง

"ตัวเหลืองเป็นอาการสามัญที่เกิดขึ้นได้กับทารกโดยทั่วไป ภายในสัปดาห์แรกหลังคลอด และมีแนวโน้มที่จะพบมากขึ้นในทารกที่เลี้ยงด้วยนมแม่ ส่วนมากแล้วไม่เป็นอันตรายและไม่จำเป็นต้องทำการรักษา อาการเหลืองจะหายไปเองภายในสองถึงสามสัปดาห์ แต่ในบางรายอาจใช้เวลานานกว่า
 
อาการตัวเหลืองที่ถือว่าผิดปกติมักจะเกิดภายใน 24 ช.ม.แรกหลังคลอด ระดับบิลิรูบินที่สูงมากๆ อาจจะไปทำลายเซลล์ประสาทได้ ระดับที่น่ากังวลคือ 20 mg/dl ขึ้นไป หากเกิดขึ้นภายใน 48 ช.ม.แรกหลังคลอด ถ้าหลังจากสองวันไปแล้ว 25 mg/dl ขึ้นไปจึงจะนับว่าสูง (ค่าเหล่านี้ สำหรับทารกที่ครบกำหนดคลอด หากเป็นทารกคลอดก่อนกำหนด ค่าที่ต่ำกว่าก็อาจจะเกิดปัญหาได้)  
 
สิ่งสำคัญที่พ่อแม่ควรจะตระหนักก็คือ อันตรายจากอาการตัวเหลืองนั้นเป็นเรื่องที่พบได้น้อยมากๆๆๆ การตัดสินใจที่จะทำการรักษานั้นขึ้นอยู่กับว่าทารกอายุเท่าใด ระดับบิลิรูบินสูงขึ้นอย่างรวดเร็วแค่ไหน หากแพทย์พิจารณาแล้ว คิดว่าจำเป็นต้องส่องไฟ ก็ไม่จำเป็นต้องงดนมแม่..."
 
ที่มา: หนังสือ Womanly Art of Breastfeeding
 
 
ตัวเหลือง

อาการตัวเหลืองในเด็กเกิดจากการสะสมของสารบิลิรูบินในกระแสเลือด สารบิลิรูบินคือเม็ดสีสีเหลืองที่เกิดจากการแตกตัวของเม็ดเลือดแดงที่หมดอายุแล้ว การแตกตัวของเม็ดเลือดแดงที่หมดอายุแล้วเป็นเรื่องปกติ และโดยทั่วไปสารบิลิรูบินที่เกิดขึ้นจะไม่ทำให้เกิดอาการตัวเหลือง เพราะตับจะเผาผลาญมันและกำจัดออกทางลำไส้

แต่ทารกแรกคลอดมักจะตัวเหลืองในช่วงสองสามวันแรก เนื่องจากเอนไซม์ในตับซึ่งทำหน้าที่เผาผลาญบิลิรูบินยังไม่สมบูรณ์พอ นอกจากนี้ทารกแรกคลอดมีเม็ดเลือดแดงมากกว่าผู้ใหญ่ ดังนั้นเม็ดเลือดแดงที่แตกตัวก็จะมีจำนวนมากกว่าด้วยเช่นกัน

กรณีที่ทารกคลอดก่อนกำหนด, มีความเครียดจากการคลอดที่ยากลำบาก, ทารกที่แม่เป็นโรคเบาหวาน, หรือมีเม็ดเลือดแดงเแตกตัวมากผิดปกติ (ซึ่งเกิดขึ้นได้ในกรณีที่เลือดเข้ากันไม่ได้) ระดับของบิลิรูบินในเลือดก็อาจจะเพิ่มสูงเกินระดับปกติ

อาการตัวเหลืองในเด็ก ๒ ประเภท

ตับจะเปลี่ยนรูปบิลิรูบินเพื่อที่มันจะได้ถูกกำจัดออกจากร่างกายได้ บิลิรูบินที่เปลี่ยนรูปแล้ว เรียกว่า บิลิรูบินชนิดสังยุค (conjugated bilirubin)* ถ้าตับทำงานได้ไม่ดีพอ (ซึ่งมักจะเกิดในช่วงที่มีการติดเชื้อ) หรือท่อที่ลำเลียงบิลิรูบินไปยังลำไส้เกิดการอุดตัน บิลิรูบินที่เปลี่ยนรูปนี้ก็อาจสะสมอยู่ในกระแสเลือดและทำให้เกิดอาการตัวเหลือง เมื่อเหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้น บิลิรูบินที่เปลี่ยนรูปจะออกมาทางปัสสาวะ และทำให้ปัสสาวะเป็นสีน้ำตาล ปัสสาวะสีน้ำตาลนี้เป็นสัญญาณสำคัญที่บอกว่าอาการตัวเหลืองไม่ “ปกติ”

อาการตัวเหลืองจากบิลิรูบินชนิดสังยุคมักจะเป็นสิ่งผิดปกติเสมอ บ่อยครั้งเป็นอันตรายและจำเป็นต้องได้รับการวิเคราะห์อย่างละเอียดและเร่งด่วน นอกจากในกรณีที่เป็นโรคเกี่ยวกับกระบวนการเผาผลาญอาหาร ซึ่งพบได้น้อยมาก คุณแม่สามารถให้ลูกกินนมแม่ได้และควรให้ลูกกินนมแม่ต่อไป

การสะสมของบิลิรูบินก่อนที่มันจะถูกเอนไซม์ในตับเปลี่ยนรูปไปอาจจะเป็นเรื่องปกติ สำหรับอาการตัวเหลืองแบบปกติ (physiologic jaundice)** บิลิรูบินก่อนถูกเปลี่ยนรูป เรียกว่า บิลิรูบินชนิดอสังยุค (unconjugated bilirubin) ***

อาการตัวเหลืองแบบปกติ จะเริ่มประมาณวันที่ ๒ และเป็นมากที่สุดในวันที่ ๓ หรือ ๔ หลังจากนั้นจะค่อย ๆ หายไป แต่ก็อาจจะมีสาเหตุอื่นที่ทำให้อาการตัวเหลืองชนิดนี้มีความรุนแรงเพิ่มขึ้น และจำเป็นต้องได้รับการรักษา แต่เนื่องจากสาเหตุเหล่านั้นไม่มีความสัมพันธ์กับการให้ลูกกินนมแม่ คุณแม่จึงควรให้ลูกกินนมแม่ต่อไป หรือถ้าทารกมีอาการตัวเหลืองขั้นรุนแรงเนื่องจากการแตกตัวอย่างรวดเร็วของเม็ดเลือดแดง ก็ไม่ใช่สาเหตุที่จะงดนมแม่ คุณแม่ควรให้ลูกกินนมแม่ต่อไปในสถานการณ์เช่นนี้

อาการตัวเหลืองจากนมแม่

มีอาการตัวเหลืองอีกชนิดหนึ่ง ที่เรียกกันทั่วไปว่า ตัวเหลืองจากนมแม่ ไม่มีใครรู้ว่าอะไรเป็นสาเหตุของอาการตัวเหลืองจากนมแม่ การวินิจฉัยอาการตัวเหลืองชนิดนี้ ทารกควรมีอายุอย่างน้อยหนึ่งสัปดาห์ แต่ก็เป็นเรื่องน่าสนใจว่า ทารกที่มีอาการตัวเหลืองจากนมแม่จำนวนมาก มักจะมีอาการตัวเหลืองแบบปกติร่วมด้วย

ทารกควรจะน้ำหนักเพิ่มขึ้นดีด้วยการกินนมแม่ล้วน ๆ ถ่ายอุจจาระบ่อยและมีปริมาณมาก ปัสสาวะเป็นสีใส และโดยทั่วไปมีสุขภาพดี ในสถานการณ์เช่นนี้ทารกมีอาการที่บางคนเรียกว่า ตัวเหลืองจากนมแม่ ถึงแม้ว่าบางครั้งการติดเชื้อของปัสสาวะ หรือต่อมไทรอยด์ของทารกทำงานน้อยผิดปกติ รวมถึงโรคบางชนิดที่พบได้ยากมาก ก็อาจทำให้เกิดอาการแบบเดียวกันได้

อาการตัวเหลืองจากนมแม่จะเป็นมากที่สุดตอนอายุ ๑๐-๒๑ วัน แต่ก็อาจจะเป็นต่อไปนาน ๒ หรือ ๓ เดือนได้ อาการตัวเหลืองจากนมแม่เป็นเรื่องปกติ แทบไม่มีกรณีใดเลยที่จำเป็นต้องหยุดให้ลูกกินนมแม่ แม้แค่ช่วงเวลาสั้น ๆ มีบางกรณีเท่านั้นที่ทารกจำเป็นต้องได้รับการรักษาอื่น ๆ เช่น การส่องไฟ และไม่มีหลักฐานใด ๆ เลยที่แสดงว่าอาการตัวเหลืองจากนมแม่จะเป็นปัญหากับทารก
.
คุณแม่ไม่ควรหยุดการให้ลูกกินนมแม่ “เพื่อทำการวินิจฉัยโรค” ถ้าทารกสามารถกินนมจากอกแม่ได้ดี ก็ไม่มีเหตุผลใดเลยที่จะหยุดให้ลูกกินนมแม่ หรือให้นมเสริมด้วยอุปกรณ์เสริมการให้นม (lactation aid)

ความเชื่อที่ว่า ทารกที่มีอาการตัวเหลืองมีความผิดปกติ มาจากสมมติฐานที่เชื่อว่า ทารกกินนมผสมคือมาตรฐานที่เราควรใช้วัดว่าทารกกินนมแม่ควรเป็นอย่างไร วิธีการคิดเช่นนี้แทบจะเป็นมาตรฐานสากลในหมู่เจ้าหน้าที่ด้านสุขภาพ แต่เป็นการใช้ตรรกะผิดด้าน เนื่องจากทารกที่กินนมผสมแทบจะไม่มีอาการตัวเหลืองเลยในช่วงสัปดาห์แรกหลังคลอด และถ้าทารกมีอาการตัวเหลืองขึ้นมา ก็มักจะมีความผิดปกติเกิดขึ้นกับเขา ดังนั้นทารกที่ตัวเหลืองชนิดที่เรียกกันว่าตัวเหลืองจากนมแม่ จึงเป็นกลายเป็นเรื่องน่ากังวล และ “ต้องทำอะไรสักอย่าง”

อย่างไรก็ตามจากประสบการณ์ของเรา ทารกกินนมแม่ล้วน ๆ ที่มีสุขภาพดีเยี่ยม และน้ำหนักเพิ่มขึ้นได้ดี ส่วนใหญ่ก็ยังมีอาการตัวเหลืองตอนอายุห้าหกสัปดาห์หรืออาจจะนานกว่านั้นด้วยซ้ำ

ความจริงแล้ว คำถามที่พวกเราควรจะถามกันคือ มันเป็นเรื่องปกติหรือเปล่าที่ทารกจะไม่มีอาการตัวเหลือง และการที่เด็กไม่มีอาการตัวเหลืองนั้นควรเป็นสิ่งที่เราจะกังวลหรือเปล่าต่างหาก อย่าหยุดให้ลูกกินนมแม่ เพราะลูกมีอาการตัวเหลืองจากนมแม่

ตัวเหลืองเพราะกินนมแม่ไม่พอ

ระดับของบิลิรูบินที่สูงผิดปกติ หรือ อาการตัวเหลืองที่เกิดนานผิดปกติ อาจจะเกิดขึ้นได้ถ้าทารกได้รับนมไม่พอ นี่อาจจะเป็นเพราะน้ำนมแม่ที่จะใช้เวลานานกว่าปกติกว่าที่จะมาได้เต็มที่ (แต่ถ้าทารกกินนมได้ดีในช่วงวันแรก ๆ กรณีนี้ก็ไม่ควรจะเป็นปัญหา) หรือเพราะโรงพยาบาลจำกัดช่วงเวลาหรือความถี่ในการให้ลูกกินนมแม่ หรือทารกไม่สามารถงับหัวนมได้ดีพอ จึงไม่สามารถกินนมแม่ที่มีอยู่ได้พอ (ดู “ลูกกินนมพอหรือไม่”)

ถ้าทารกได้กินนมน้อย ก็มีแนวโน้มว่าจะมีการขับถ่ายออกมาน้อยไปด้วย บิลิรูบินที่อยู่ในลำไส้ของทารกก็จะถูกดูดซึมกลับเข้าไปในกระแสเลือด แทนที่จะถูกกำจัดออกจากร่างกายพร้อมกับของเสียที่ถูกขับถ่ายออกมา จะเห็นได้ชัดว่ามาตรการที่ดีที่สุดสำหรับอาการตัวเหลืองเพราะกินนมแม่ไม่พอ ก็คือการเริ่มให้ลูกกินนมแม่อย่างถูกวิธี

อยากไรก็ตาม แน่นอนว่ามาตรการแรกสำหรับอาการตัวเหลืองเพราะกินนมแม่ไม่พอ ก็คือการไม่หยุดให้ลูกกินนมแม่ หรือการไม่ยอมให้ทารกกินนมผสม และถ้าทารกสามารถกินนมแม่ได้ดี การให้ทารกกินนมแม่บ่อยขึ้นอาจจะเพียงพอที่จะทำให้สารบิลิรูบินลดระดับลงได้เร็วขึ้น ดังนั้นจึงไม่มีความจำเป็นต้องทำอะไร

แต่ถ้าทารกกินนมแม่ได้ไม่ดี การช่วยให้ทารกสามารถงับหัวนมได้ดีขึ้น อาจจะทำให้เขาดูดนมจากอกแม่ได้ดีขึ้น และกินนมแม่ได้มากขึ้น การบีบหน้าอกเพื่อให้ได้น้ำนมมากขึ้นก็อาจจะช่วยได้เช่นกัน แต่ถ้าการช่วยงับหัวนมและการบีบหน้าอกไม่สามารถแก้ปัญหาได้ ก็อาจจำเป็นต้องใช้อุปกรณ์เสริมการให้นมกับทารก เพิ่มเติมจากการกินนมจากอกแม่

การส่องไฟ

การส่องไฟจะช่วยเพิ่มความต้องการของเหลวของทารก ถ้าทารกกินนมแม่ได้ดี การให้ทารกกินนมบ่อยครั้งขึ้นจะช่วยเติมเต็มความต้องการที่เพิ่มขึ้นนี้ได้ อย่างไรก็ตาม ถ้าคิดว่าทารกต้องการของเหลวเพิ่มขึ้น ควรใช้อุปกรณ์เสริมการให้นมเสริมจากการกินนมจากอกแม่ โดยใช้น้ำนมแม่ที่บีบออกมา หรือนมแม่ที่บีบออกมาเติมด้วยน้ำผสมน้ำตาล หรือน้ำผสมน้ำตาลอย่างเดียว แทนที่จะใช้นมผสม

*บิลิรูบินชนิดสังยุค (conjugated bilirubin) หรือบิลิรูบินชนิดทำปฏิกริยาโดยตรง (direct reacting bilirubin) หรือบิลิรูบินชนิดละลายในน้ำ (water soluble bilirubin) ชื่อทั้งสามนี้คือสิ่งเดียวกัน

**physiologic jaundice อาการตัวเหลืองแบบไม่มีพยาธิสภาพ

***บิลิรูบินชนิดอสังยุค (unconjugated bilirubin) บิลิรูบินชนิดทำปฏิกริยาโดยอ้อม (indirect reacting bilirubin) หรือบิลิรูบินชนิดละลายในไขมัน (fat-soluble bilirubin)

Written and Revised by Jack Newman, MD, FRCPC 1995-2005
Revised May 2008
แปลโดย คุณนิจวรรณ ตั้งวิรุฬห์

  • คุยกันเรื่องนมแม่ EP 33ฉีดวัคซีนป้องกันโควิดแล้วให้นมลูกได้ไหม?ชวนมาฟังงานวิจัยล่าสุดกันค่ะ นมแม่เดอะซีรีย์ และ คุยกันเรื่องนมแม่ออกอากาศทุกวันพุธและวันเสาร์ติดตามตอนใหม่ได้ที่ You...

  • น้องแรกคลอดตัวเหลือง คุณหมอแนะนำให้เสริมนมผง เพราะคิดว่านมไม่ควร ควรเสริมหรือไม่ มาหาคำตอบกันค่ะ สนับสนุนโดย Ardo ผลิตภัณฑ์เพื่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างมีความสุข จาก Switzerland...

  • IMG_2427 (1).jpg
    ทำไมโคลอสตรัมจึงมีความสำคัญ? คุณอาจเคยได้ยินคนเรียก โคลอสตรัม ว่าเป็น ทองคำเหลว ไม่ใช่แค่เพราะมันเป็นสีเหลือง เราจะมาดูกันว่า เหตุใดโคลอสตรัม จึงเป็นอาหารมื้อแรกที่ล้ำค่าสำหรับทาร...

  • ปั๊มน้ำนมได้มากขึ้นด้วย Ardo Calypso เครื่องปั๊มนมทั้งหมดไม่ได้ถูกสร้างขึ้นมาเหมือนกัน คุณแม่รู้ไหมว่าอะไรคือพลังของเครื่องปั๊มนมที่คุณแม่ใช้อยู่? เชื่อหรือไม่ว่า กลไกภายในเคร...

  • แม้ปัจจุบันนี้คนส่วนใหญ่ต่างก็ทราบดีว่านมแม่เป็นอาหารที่ดีที่สุดสำหรับทารก แต่ก็ยังมีบุคลากรทางการแพทย์จำนวนไม่น้อยทีเดียวที่ยังมีความเชื่อผิดๆ ว่าเมื่อลูกอายุเท่านั้นเท่านี้แล้ว น...

  • 10 ข้อที่พ่อแม่ทุกคนควรรู้เกี่ยวกับ RSV (Respiratory Syncytial Virus) Respiratory syncytial virus (RSV) ทำให้เกิดการติดเชื้อที่ปอดและทางเดินหายใจ ในผู้ใหญ่และเด็กที่มีสุขภาพแข็งแรง...

  • EP. 26 เครื่องปั๊มที่ได้มาตรฐานเครื่องมือแพทย์ คุยกันเรื่องนมแม่ Podcast EP 26 เครื่องปั๊มที่ได้มาตรฐานเครื่องมือแพทย์ นาทีที่ 0:49 เครื่องปั๊มนมที่ผู้ผลิตเป็นเครื่องมือแพทย์กั...

  • สรุปปัญหาของคุณแม่ที่ปั๊มนมได้ไม่พอจากโพสต์ #เปลี่ยนนมผงเป็นนมแม่ นะคะ ขอทบทวนสมการผลิตน้ำนมของร่างกายกันก่อนค่ะ ระบายออกได้มากเท่าไหร่ = ผลิตได้มากเท่านั้น ระบายออกไม่ได้ = ลดกำ...

  • Ep 24 อาหารเสริมเริ่มตอนไหนดี คุยกันเรื่องนมแม่ Podcast Ep 24 อาหารเสริมเริ่มตอนไหนดี นาทีที่ 0:13 แชร์บทความของ ดร.แจ็ค นาทีที่ 0:29 ควรเริ่มอาหารเสริมที่อายุเท่าไร จากบทความ...

  • นมน้อย นมไม่พอ ปั๊มไม่ออก ปั๊มแล้วเจ็บ ปรึกษาปัญหาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และการเลือกเครื่องปั๊มนมกับโค้ชนมแม่มืออาชีพ ---------------------------- สนับสนุนโดย Ardo ผลิตภัณฑ์เพื่อ...

  • นมน้อย นมไม่พอ ปั๊มไม่ออก ปั๊มแล้วเจ็บ ปรึกษาปัญหาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และการเลือกเครื่องปั๊มนมกับโค้ชนมแม่มืออาชีพ ---------------------------- สนับสนุนโดย Ardo ผลิตภัณฑ์เพื่...

  • นมน้อย นมไม่พอ ปั๊มไม่ออก ปั๊มแล้วเจ็บ ปรึกษาปัญหาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และการเลือกเครื่องปั๊มนมกับโค้ชนมแม่มืออาชีพ ---------------------------- สนับสนุนโดย Ardo ผลิตภัณฑ์เพื่...

  • นมน้อย นมไม่พอ ปั๊มไม่ออก ปั๊มแล้วเจ็บ ปรึกษาปัญหาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และการเลือกเครื่องปั๊มนมกับโค้ชนมแม่มืออาชีพ ---------------------------- สนับสนุนโดย Ardo ผลิตภัณฑ์เพื่...

  • นมน้อย นมไม่พอ ปั๊มไม่ออก ปั๊มแล้วเจ็บ ปรึกษาปัญหาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และการเลือกเครื่องปั๊มนมกับโค้ชนมแม่มืออาชีพ ---------------------------- สนับสนุนโดย Ardo ผลิตภัณฑ์เพื่...

  • นมน้อย นมไม่พอ ปั๊มไม่ออก ปั๊มแล้วเจ็บ ปรึกษาปัญหาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และการเลือกเครื่องปั๊มนมกับโค้ชนมแม่มืออาชีพ ---------------------------- สนับสนุนโดย Ardo ผลิตภัณฑ์เพื่...

  • นมน้อย นมไม่พอ ปั๊มไม่ออก ปั๊มแล้วเจ็บ ปรึกษาปัญหาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และการเลือกเครื่องปั๊มนมกับโค้ชนมแม่มืออาชีพ ---------------------------- สนับสนุนโดย Ardo ผลิตภัณฑ์เพื่...

  • นมน้อย นมไม่พอ ปั๊มไม่ออก ปั๊มแล้วเจ็บ ปรึกษาปัญหาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และการเลือกเครื่องปั๊มนมกับโค้ชนมแม่มืออาชีพ ---------------------------- สนับสนุนโดย Ardo ผลิตภัณฑ์เพื่...

  • นมน้อย นมไม่พอ ปั๊มไม่ออก ปั๊มแล้วเจ็บ ปรึกษาปัญหาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และการเลือกเครื่องปั๊มนมกับโค้ชนมแม่มืออาชีพ ---------------------------- สนับสนุนโดย Ardo ผลิตภัณฑ์เพื่...

  • นมน้อย นมไม่พอ ปั๊มไม่ออก ปั๊มแล้วเจ็บ ปรึกษาปัญหาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และการเลือกเครื่องปั๊มนมกับโค้ชนมแม่มืออาชีพ ---------------------------- สนับสนุนโดย Ardo ผลิตภัณฑ์เพื่...

  • นมน้อย นมไม่พอ ปั๊มไม่ออก ปั๊มแล้วเจ็บ ปรึกษาปัญหาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และการเลือกเครื่องปั๊มนมกับโค้ชนมแม่มืออาชีพ ---------------------------- สนับสนุนโดย Ardo ผลิตภัณฑ์เพื่...

  • Ep12 หลัง 1 เดือน นมจะลดมั้ย คนทั่วไป ส่วนใหญ่เข้าใจว่า หลัง 1 เดือน ปริมาณน้ำนมจะลด หด หายไป!!! จริงๆ เป็นอย่างที่เข้าใจกันมั้ย

  • หลากหลายคำถามจาก "กรุ๊ปคุณแม่นักปั๊มทำทุกอย่างเพื่อลูก" จากสมาชิกกว่า 88,000 คน เราหยิบยก 1 คำถามยอดฮิต มาตอบกันในรายการ กับการตกรอบปั๊มนม ถ้าตกไปแล้วเราจะแก้ไขยังไง น้ำนมจะลดลง...

  • ไขความลับ เครื่องปั๊มนม ซื้อมือ 1 หรือมือสองดีกว่ากัน -เครื่องปั๊มที่ถูกส่งต่อจากรุ่นสู่รุ่น -เครื่องปั๊มนมรุ่นดังที่เล็งไว้เจอประกาศขายมือ2 -เครื่องปั๊มนมที่เพื่อนใช้ดีม...

  • คุณแม่หลายท่านปั๊มนมได้ปริมาณต่างกัน บางคน 10 oz. บางคน 1 oz. หลายคน 3-4 oz แล้วน้ำนมน้อยขนาดไหนถึงต้องเรียกว่ากู้ กู้นมทำอย่างไร? ใครบ้างที่ต้องกู้? ใช้วิธีการใด?ระยะเวลานานแค...

  • คุณแม่ ที่กำลังจะตัดสินใจซื้อเครื่องปั๊ม เอ๊ะ ไม่รู้ว่า ซื้อก่อนคลอดดี หรือซื้อหลังคลอดดีนะ ลองมาฟัง Podcast ในตอนนี้ดู จะได้ช่วยตัดสินใจได้ ว่าจะซื้อเมื่อไรดี -----------------...

  • 3 ตัวช่วยเพิ่มน้ำนม ราคาไม่แพง และเห็นผลจริง 1. Domperidone (Motilium) หาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป2. Fenugreek หรือ ลูกซัด สั่งซื้อได้ที่ http://fb.me/nommaeshop3. ไม้นมนาง สั่งซื้...

  • คุณแม่จำนวนไม่น้อย ถูกกดดันให้หย่านมลูก ให้เลิกปั๊มนม และให้นมผงแทน วันนี้เราจะมาคุยกันถึงความแตกต่างระหว่างนมแม่ กับนมผง ในแง่ของวิทยาศาสตร์ คุณแม่จะได้มีกำลังใจให้นมลูกต่อไปค่...

  • ทำยังไงถึงปั๊มนมได้เยอะ ใช้เครื่องปั๊มนมอะไร เริ่มต้นยังไง มาฟังแม่กิฟเล่ากันค่ะ ---------------------------- นมน้อย นมไม่พอ ปั๊มไม่ออก ปั๊มแล้วเจ็บ ปรึกษาปัญหาการเลี้ยงลูกด้วยนม...

  • เคล็ดไม่ลับ 5 ข้อ ที่จะช่วยให้คุณแม่ปั๊มนมได้เต็มตู้ ปั๊มได้เหลือเฟือ ไม่ต้องห่วงว่าลูกจะไม่พอกิน ---------------------------- นมน้อย นมไม่พอ ปั๊มไม่ออก ปั๊มแล้วเจ็บ ปรึกษาปัญหาก...

  • EP 3 ท่อน้ำนมอุดตัน ปั๊มไม่ออก นมลด สาเหตุที่ทำให้ท่อน้ำนมอุดตัน ปั๊มไม่ออก ปั๊มได้น้อย ปริมาณน้ำนมลดลง

  • ทำไมบางคนนมเยอะ ทำไมบางคนนมน้อย สาเหตุที่ทำให้นมเยอะ คนส่วนใหญ่นมเยอะ หรือนมน้อย นาทีที่ 1:02 ทำไมบางคนนมเยอะ ทำไมบางคนนมน้อย นาทีที่ 1:57 ทำไมบางคนนมเยอะ นาทีที่ 3:18 สาเหตุอะ...

  • รู้จักคนคุย พี่เก๋ พี่ต่ายเป็นใคร คุยกันเรื่องอะไร คุยกันวันไหน นมน้อย นมไม่พอ ปั๊มไม่ออก ปั๊มแล้วเจ็บ ปรึกษาปัญหาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และการเลือกเครื่องปั๊มนมกับโค้ชนมแม่มืออาชีพ...

  • มนุษย์นมแม่ Podcast มนุษย์นมแม่ Ep.2 เปลี่ยนเครื่องปั๊มนมตอนลูก 6 เดือนจากนมหดกลับมามีสต็อก นาทีที่ 0:37 คุณแม่แนะนำตัว แล้วปั๊มล้วนหรือเข้าเต้า นมพอไหม ต้องเสริมนมผงหรือเปล่า ...

  • ประสบการณ์การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของคุณแม่ต้นอ้อ คุณแม่ ลูก 2 จากท้องแรกให้นมแม่ได้ 1 เดือนสู่การเป็นคุณแม่ท้อง 2 ที่ตอนนี้ปั๊มนมได้รอบล่ะ 9 oz. อะไรคือเคล็ดลับที่ทำให้คุณแม่ต้นอ้อ...
Visitors: 96,538