EP 1 สิ่งที่พ่อแม่ทุกคนควรรู้เกี่ยวกับนมผสม

 ฟัง YouTube

ฟัง Podcast 

1 - ในขณะที่พ่อแม่ส่วนใหญ่ทราบดีว่า “การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ดีที่สุดสำหรับทารก” แต่อัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่กลับต่ำกว่าการเลี้ยงลูกด้วยนมผสมหลายเท่า นั่นเป็นเพราะพ่อแม่เหล่านั้นไม่เคยทราบว่า “นมผสมที่ใช้เลี้ยงทารกแทนนมแม่ที่มีจำหน่ายอยู่ในท้องตลาดไม่ดีพอสำหรับทารก”

 

2 - คนทั่วไปมักจะเข้าใจว่านมผงดัดแปลงสำหรับทารกเป็นทางเลือกที่สองต่อจากนมแม่ แต่ที่จริงแล้วองค์การอนามัยโลกให้คำแนะนำเกี่ยวกับการให้อาหารที่ดีที่สุดสำหรับทารกเรียงตามลำดับดังนี้


2.1. ให้ทารกดูดนมจากอกแม่ของตนเอง
2.2. ให้ทารกกินนมแม่ของตนเองที่บีบหรือปั๊มออกมาโดยการป้อนป้อนด้วยวิธีอื่น
2.3. ให้ทารกกินนมบริจาคจากแม่คนอื่น
2.4. ให้ทารกกินนมผสม

 

3 - นมผสม เป็นทางเลือกสุดท้าย ที่องค์การอนามัยโลกแนะนำ แต่ผู้ผลิตและจำหน่ายนมผสมต่างทุ่มเงินจำนวนมหาศาลเพื่อโฆษณาให้ผู้บริโภคหลงเชื่อว่า นมผสมของบริษัทตนมีคุณสมบัติ “ใกล้เคียง” นมแม่มากที่สุด

 

4 - หนึ่งในกลยุทธ์ของการประชาสัมพันธ์ที่ดีที่สุดและน่าเชื่อถือที่สุด ก็คือการประชาสัมพันธ์ผ่านโรงพยาบาล และบุคลากรทางการแพทย์นั่นเอง เมื่อผู้บริโภคได้รับเอกสารหรือตัวอย่างนมผสมแจกฟรีจากแพทย์หรือโรงพยาบาล ก็จะ หลงเชื่อ ว่า “นมผสมยี่ห้อนั้นๆ” ดีและเหมาะสำหรับทารกจริงๆ

 

5 - ข้อมูลที่พ่อแม่ส่วนใหญ่ไม่เคยรับรู้เลยก็คือ “นมผสมทุกยี่ห้อ” ไม่ว่าจะถูกหรือแพง ล้วนแต่มีองค์ประกอบที่ห่างไกลจากนมแม่มาก ยิ่งมีการวิจัยค้นคว้ามากขึ้นเท่าไหร่ ผู้ผลิตทั้งหลายก็ยิ่งต้องยอมรับความจริงว่า “เป็นไปไม่ได้เลยที่จะผลิตนมผสมให้เลียนแบบนมแม่ได้”

 

6 - นมผสมหรือนมผงดัดแปลงสำหรับทารกนั้นใช้คำภาษาอังกฤษว่า “formula” ซึ่งแปลว่า “สูตร” แต่ในความเป็นจริง ไม่มีผู้ผลิตนมผสมรายใดที่รู้ “สูตร” ที่แท้จริงของนมแม่ เพราะ “นมแม่” มีส่วนประกอบนับพันชนิด รวมทั้งเซลล์มีชีวิตต่าง ๆ ฮอร์โมนหลายชนิด เอนไซม์ที่มีฤทธิ์ทำปฏิกิริยา อิมมูโนโกลบูลิน (ภูมิคุ้มกันโรค) และสารประกอบที่มีโครงสร้างเฉพาะซึ่งไม่สามารถทำเลียนแบบในนมผสมสำหรับทารกได้

 

7 - นมของแม่แต่ละคน ถูกผลิตขึ้นมาได้อย่างเหมาะสมที่สุดสำหรับลูกของตน ถ้าลูกคลอดก่อนกำหนด นมที่ถูกผลิตออกมาก็จะเหมาะสมที่สุดกับทารกที่คลอดก่อนกำหนด ภูมิคุ้มกันในนมแม่จะแปรเปลี่ยนไปตามเชื้อโรคที่อยู่ในสภาพแวดล้อมของแต่ละคน และสารอาหารในนมแม่ก็ยังแปรเปลี่ยนไปตามความต้องการในแต่ละช่วงวัยของลูกอีกด้วย

 

8 - ในขณะที่นมผสมแต่ละยี่ห้อ ถูกผลิตขึ้นมาตามความต้องการของผู้ผลิต เหมือนกันหมดสำหรับทารก “ทุกคน” และความจริงแล้ว ไม่เหมาะสำหรับทารกคนใดสักคน การที่ผู้ผลิตใช้ “นมวัว” หรือ “ถั่วเหลือง” เป็นวัตถุดิบหลักในการผลิต ไม่ใช่เพราะมันมีคุณสมบัติใกล้เคียงนมแม่มากที่สุด แต่เป็นเพราะ “หาง่ายและราคาถูก” ทำให้ผู้ผลิตสามารถทำกำไรได้อย่างมหาศาลต่างหาก

 

9 - นมผสมทุกยี่ห้อจะระบุวิธีใช้ว่า “ควรใช้ตามคำแนะนำของแพทย์” ทำให้คนทั่วไปเข้าใจผิดว่า ทารกแต่ละคนจะมีความต้องการสารอาหารที่แตกต่างกันไป และแพทย์จะสามารถวิเคราะห์ความแตกต่างนี้ และเลือกนมผสมที่เหมาะสมให้กับทารกได้ แต่ในความเป็นจริง มันไม่ถูกต้องและเป็นไปไม่ได้

 

10 - ในทางปฏิบัติ แพทย์จะ “ทดลอง” ให้นมยี่ห้อใดยี่ห้อหนึ่งกับทารกก่อน ถ้าพบว่าทารกมีปัญหา ก็จะ “ทดลอง” ให้นมยี่ห้ออื่นหรือชนิดอื่นต่อไป พ่อแม่ส่วนใหญ่ไม่ทันได้ตระหนักว่า การต้องเปลี่ยนยี่ห้อหรือชนิดของนมผสมไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะพบนมผสมที่ลูกสามารถกินได้โดยไม่มีปัญหานั้น ไม่ต่างกับการให้ลูกเป็น “หนูทดลอง” นมผสมแต่ละยี่ห้อเลย

 

11 - การทดลองกินนมยี่ห้อต่าง ๆ ทำให้ทารกบางคนต้องเจ็บป่วยทรมานอย่างไม่มีทางหลีกเลี่ยง ทารกบางคนมีอาการแพ้ทันทีที่ได้รับนมผสมครั้งแรก แต่บางคนต้องใช้เวลานานกว่านั้นจึงจะแสดงอาการ ทำให้พ่อแม่ หรือบางครั้งแม้แต่แพทย์เอง ก็ไม่ทราบว่าสาเหตุของความเจ็บป่วยของทารกมาจากนมผสมที่กินอยู่ทุกวันนั่นเอง

 

12 - ผู้ผลิตนมผสมรับรู้ถึงอันตรายเหล่านี้ดี แต่แทนที่จะแสดงคำเตือนในบนฉลากบรรจุภัณฑ์ให้ชัดเจน ผู้ผลิตกลับหลอกลวงผู้บริโภคต่อไปอีกว่า นมผสมของตนได้พัฒนาสูตรใหม่ สามารถย่อยได้ง่ายและไม่ก่อให้เกิดการแพ้ ทั้งที่ยังมีทารกอีกจำนวนมากที่มีอาการแพ้และเจ็บป่วยจากการกินนมผสมสูตรใหม่นั้นเอง

 

13 - ด้วยกลยุทธ์ทางการตลาด การโฆษณาทางสื่อต่าง ๆ ที่ใช้ภาพเด็กหน้าตาน่ารัก ฉลาดเฉลียว และคุณแม่สมัยใหม่ที่เป็นดาราหรือบุคคลมีชื่อเสียง ทำให้พ่อแม่หลงเชื่อว่านมผสมดีและปลอดภัยไม่ต่างจากนมแม่ โดยไม่ตระหนักเลยว่า ทุกครั้งที่เปิดนมกระป๋องให้ลูกกินนั้นมีความเสี่ยงและอันตรายรออยู่เสมอ

 

องค์การอนามัยโลกแนะนำให้

เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ล้วนภายใน 6 เดือนแรก

โดยไม่จำเป็นต้องให้น้ำ ของเหลว หรืออาหารอื่น

หลังจากนั้นให้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ร่วมกับอาหารเสริมตามวัยจนถึง 2 ปีหรือมากกว่า

 


  • ฟัง Youtube ฟัง Podcast EP2 ทำความเข้าใจเรื่องกระบวนการผลิตน้ำนม Lactogenesis I & II น้ำนมแม่ถูกผลิตจากการทำงานของฮอร์โมน กระบวนการผลิตน้ำนมของร่างกาย จะแบ่งเป็นสามช่วง ช่วง...

  • น้ำนมแม่แบ่งได้ 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 โคลอสตรัม หรือหัวน้ำนมเหลือง เป็นน้ำนมที่เต้านมผลิตออกมาในช่วงแรกคลอดจนถึง 3-5 วันหลังคลอด ปริมาณเฉลี่ย 15-30 cc ต่อวัน มีลักษณะเหนียวและข้...

  • ใครบ้างที่ต้องปั๊มนม คุณแม่ที่คลอดก่อนกำหนด หรือลูกมีปัญหาทางสุขภาพทำให้เข้าเต้าไม่ได้ ต้องอยู่ NICU คุณแม่ผ่าคลอดที่ลูกมาเข้าเต้าช้า มีปัญหาในการเข้าเต้า เข้าเต้าได้ไม่ดี หรื...

  • เครื่องปั๊มหรือลูกดูด แบบไหนเกลี้ยงเต้ากว่ากัน คำเตือนที่คุณแม่มือใหม่แม่มักจะได้ยิน คือ ต้องปั๊มให้เกลี้ยงเต้า หรือลูกดูดได้เกลี้ยงเต้ากว่าใช้เครื่องปั๊ม ซึ่งอาจจะทำให้หลายคนเข้า...

  • เริ่มปั๊มนมเมื่อไหร่ดี สำหรับคุณแม่ที่ลูกเข้าเต้าได้ดี อย่าลืมว่าการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่ดีที่สุด คือการให้ลูกเข้าเต้า การปั๊มนมแม่แล้วใส่ขวดป้อน สู้ให้ลูกเข้าเต้าไม่ได้ แต่สำหรั...

  • กลไกการหลั่งน้ำนม กลไกการหลั่งน้ำนม หรือ Let-down Reflex เป็นกระบวนการที่ร่างกายหลั่งน้ำนมออกมาโดยการทำงานของฮอร์โมน Oxytocin คุณแม่บางท่านอาจจะรู้สึกจี๊ดๆ ที่เต้านมก่อนที่น้ำนมจะ...

  • ทำไมปั๊มนมไม่ออกหรือปั๊มได้น้อย คุณแม่ที่ใช้เครื่องปั๊มนมคุณภาพดี นุ่มนวล ไม่เจ็บ เครื่องที่โค้ชเลือกให้ว่าเหมาะสมแล้ว แต่ทำไมยังปั๊มไม่ค่อยออกหรือปั๊มได้น้อยนั้น ลองตรวจสอบสาเหตุ...

  • บทที่ 5 - 20 เคล็ดลับสำหรับแม่ทำงาน ตอนที่ 1 เคล็ดลับในบทนี้แปลและเรียบเรียงมาจากเว็บไซต์ของ Dr. Sear บริบทบางอย่างอาจจะไม่ตรงกับสังคมไทย แต่ส่วนใหญ่แล้วเป็นคำแนะนำที่มีประโยชน์ซ...

  • บทที่ 5 - 20 เคล็ดลับสำหรับแม่ทำงาน ตอนที่ 2 ทำชีวิตให้ง่ายขึ้น 11.ทำให้การออกจากบ้านตอนเช้าเป็นเรื่องง่ายขึ้น ลูกจะทำให้กิจวัตรประจำตอนเช้าวันทำงานของคุณไม่ราบรื่นเหมือนเดิม ...

  • บทที่ 6 - วิธีเก็บรักษานมแม่ เก็บน้ำนมในภาชนะสำหรับใส่อาหารแบบไหนก็ได้ หรือจะใช้ถุงเก็บน้ำนมแม่ก็ได้ เขียนวันเวลาที่ปั๊มนมไว้บนภาชนะ ควรแบ่งปริมาณน้ำนมให้พอดีกับมื้อหนึ่งที่ลูกกิน...

  • บทที่ 7 – วิธีฝึกลูกดูดนมแม่จากขวด เมื่อคุณแม่ต้องกลับไปทำงาน ก็จำเป็นต้องให้ลูกกินนมแม่ด้วยวิธีอื่นแทนการเข้าเต้าการป้อนนมแม่ที่ปั๊มออกมาด้วยขวดเป็นวิธีที่ใช้กันมากที่สุด แต่เมื่...

  • บทที่8 -ทารกต้องการน้ำนมปริมาณมากน้อยเพียงใด   แม่ ๆ หลายคนสงสัยว่าจะต้องเตรียมน้ำนมแม่ไว้ปริมาณเท่าไร เวลาที่ไม่สามารถอยู่ให้นมลูกได้ด้วยตนเอง ในเด็กทารกที่เลี้ยงด้วยนมแ...

  • บทที่ 9 - เคล็ดลับการทำสต็อคน้ำนมและเพิ่มน้ำนมด้วยการปั๊มนม สิ่งสำคัญที่ควรรู้ ปริมาณน้ำนมที่ร่างกายผลิต = ปริมาณน้ำนมที่ระบายออก ดังนั้นถ้าต้องการให้มีน้ำนมมากเท่าใด ต้อ...

  • บทที่ 10 - Workshop เพิ่มน้ำนม สำหรับคุณแม่ที่รู้สึกว่าตัวเองมีปัญหานมน้อย หรือไม่พอนั้น ขอให้แยกประเภทปัญหาของตัวเองก่อนนะคะ กรณีที่ 1 ลูกเข้าเต้าแม่ได้ดี ไม่มีปัญหา แต่ให้นมผ...

  • บทที่ 11 - Power Pumping ปั๊มเพิ่มน้ำนม Power pumping เป็นเทคนิคการปั๊มนม โดยเลียนแบบการดูดของทารกในช่วงแรกเกิดซึ่งมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ทารกจะดูดบ่อยและนาน ช่วยกระตุ้นการ...

  • บทที่ 12 - ยาเพิ่มน้ำนม คำถามยอดนิยมของคุณแม่ให้นมลูกทุกคนก็คือ มียาอะไรที่ช่วยเพิ่มน้ำนมได้บ้าง แม้จะแนะนำว่าควรแก้ปัญหาด้วยวิธีที่ไม่ใช้ยาก่อนดีกว่า โดยการให้ลูกดูดให้ถูกวิธี ด...

  • nommaecenter_เครื่องปั๊มนมไฟฟ้า_สต๊อกนม_Unimom_Allegro2.jpg
    เมื่อตั้งใจจะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ล้วนให้นานที่สุด และเลือกที่จะใช้เครื่องปั๊มนมเป็นผู้ช่วย เราเข้าใจดีว่า คุณแม่ก็ยังมีความกังวล และมีคำถามในใจอีกมากมาย เราจึงรวบรวมคำตอบจากความกังวล...

  • nommaecenter_ปั๊มนม_สต๊อกนม_นมแม่1.jpg
    คำถามที่ได้ยินบ่อยๆ จากคุณแม่ที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่คือ ต้องสต๊อกน้ำนมไว้เท่าไหร่ถึงจะพอสำหรับลูก คำตอบคือ ถ้าต้องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ล้วนโดยไม่ใช้นมผสม ช่วงที่ลาคลอดสามเดือน ต่อให้...

  • nommaecenter_เครื่องปั๊มนม_ARDO_Calypso.jpg
    วิธีเพิ่มปริมาณน้ำนมที่ดีที่สุด คือ ให้ลูกดูดนมแม่อย่างถูกวิธีบ่อยๆ และต้องเป็นการดูดอย่างมีประสิทธิภาพ คือ ดูดแล้วต้องได้น้ำนม ไม่ใช่แค่การอมหัวนมแม่เป็นเวลานานๆ เท่านั้น ปกติแล้...

  • nommaecenter_เลี้ยงลูกด้วยนมแม่_ปั๊มนม_เต้านมอักเสบ1.jpg
    ปวดเต้า แดง เจ็บปวดมาก ทำอย่างไรดี? นี่คืออาการ "เต้านมอักเสบ" ที่แม่หลายคนกลัว หลายคนประสบมาแล้วรู้ว่ามันเจ็บปวดทรมานแค่ไหน จนทำให้แม่หลายคนล้มเลิกความตั้งใจที่จะเดินต่อไปบนเส้นทา...

  • nommaecenter_เครื่องปั๊มนมไฟฟ้า_สต๊อกนม_Unimom_Minuet_LCD1.jpg
    คุณแม่หลายคนได้รับข้อมูลมาผิดๆ จนทำให้เชื่อว่า เครื่องปั๊มนมที่ยิ่งดูดแรงยิ่งดี จึงมักตัดสินใจเลือกซื้อเครื่องปั๊มนมไฟฟ้าด้วยเหตุผลนั้น แล้วยังปรับโหมดไว้แรงสุดตั้งแต่คลอดใหม่ๆ ซึ่...

  • all-um.jpg
    ตารางคำนวณปริมาณน้ำนม กรอกจำนวนมื้อที่ป้อนนมลูกในช่อง แล้วกด calculate

  • หัวนมบาดเจ็บจากปั๊ม_181116_0020.jpg
    ปัญหาที่แม่ๆ หลายคนต้องพบเจอจากการใช้เครื่องปั๊มนมที่ไม่เหมาะกับตัวเอง มีอยู่ 5 ปัญหาหลักๆ คือ 1. ปั๊มไม่ออก ปั๊มได้น้อย2. ปั๊มแล้วเจ็บ จนขยาดไม่อยากปั๊ม3. ปั๊มได้เลือด แทนได้นม4. ...

  • Molax_Molax-M6002PPS0.jpg
    ข้อขัดแย้งเรื่องการใช้ Domperidone (Motilium) สำหรับแม่ให้นม บทความโดย พญ.สุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ https://www.doctorbreastfeeding.com คุณแม่แฟนเพจหลายท่านแชร์โพสต์จากเพจ RDU มาถาม...

  • molax-m.jpg
    เริ่มใช้ดอมเพอริโดน (Domperidone) บทนำ ดอมเพอริโดน (Domperidone หรือ Motilium) เป็นยาซึ่งมีผลข้างเคียงช่วยกระตุ้นการสร้างน้ำนม ซึ่งอาจจะเป็นผลมาจากการเพิ่มปริมาณฮอร์โมนโปรแลคติน (...

  • 47386512_2168287783192458_4535804095314788352_n.jpg
    คุณแม่ปั๊มล้วน ไม่ได้ให้ลูกเข้าเต้า ต้องทำอย่างไรจึงจะมีน้ำนมเพียงพอ เรามีเคล็ดลับมาฝากกัน ตั้งเป้าหมาย โดยปั๊มนมให้ได้ปริมาณเต็มที่ 25 - 35 ออนซ์ต่อวัน ภายใน 10 - 14 วัน หลังคลอด...

  • มะเขือเปราะ-ดาวิกา-3.jpg
    เมื่อมีอาการบ่งบอกว่าเป็นเต้านมอักเสบ นมมีก้อนแข็งควรปฎิบัติดังนี้ 1. อย่าหยุดให้นมข้างที่เป็น เพราะกลัวว่าลูกจะกินไม่ได้ ความจริงคือ ต้องให้ลูกดูดเป็นข้างแรกเสมอ ดูดให้บ่อยขึ้น ปั...

  • ตอบทุกคำถาม FAQ - บีบมือ vs ปั๊มมือ vs ปั๊มไฟฟ้า สำหรับคุณแม่มือใหม่ที่ตั้งใจเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ อาจจะมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการเลือกที่ปั๊มนม หรือเครื่องปั๊มนมว่าควรจะเลือกแบบไหน อย่า...

  • 1. เครื่องปั๊มนมเป็นเครื่องมือแพทย์ที่ใช้แก้ปัญหาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ สามารถช่วยชีวิตได้ทั้งแม่และลูก ไม่ใช่เครื่องใช้ไฟฟ้าทั่วไป การซื้อเครื่องปั๊มนมตามรีวิวโดยขาดความรู้ที่ถูกต้...

  • ใช้ Youha แล้วเจ็บ เปลี่ยนกรวยหรือเปลี่ยนเครื่องดี คุณแม่ที่จะใช้ Youha ได้แล้วไม่เจ็บต้องเป็นคุณแม่ที่นมเยอะมากๆและมีหัวนมยืดหยุ่นลานนมหนานะคะเพราะแรงดูดของ youha แรงมากๆระดับต่ำส...

  • Baby Nursing / Breastfeeding Tracker เป็นแอพสำหรับบันทึกการเข้าเต้า ปั๊มนม ป้อนนม รวมทั้งสุขภาพและพัฒนาการต่างๆ ของลูกน้อย สำหรับ ระบบ Android / Sumsung, Huawei, Oppo, etc. สำห...

Visitors: 96,384