EP 2 ร่างกายผลิตน้ำนมได้อย่างไร

ฟัง Youtube

 ฟัง Podcast

EP 2 ทำความเข้าใจเรื่องกระบวนการผลิตน้ำนม   

 

Lactogenesis I & II น้ำนมแม่ถูกผลิตจากการทำงานของฮอร์โมน

 

กระบวนการผลิตน้ำนมของร่างกาย จะแบ่งเป็นสามช่วง ช่วงแรก เริ่มตั้งแต่ตั้งครรภ์ประมาณ 16-22 สัปดาห์จนถึงวันแรกหลังคลอด ร่างกายจะเริ่มผลิต Colostrum หรือหัวน้ำนม ในปริมาณน้อยนิด ช่วงนี้เรียกว่า Lactogenesis I

 

หลังคลอดประมาณ 30-40 ชม. ฮอร์โมนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องจะกระตุ้นให้มีการสร้างน้ำนมเพิ่มขึ้น คุณแม่ส่วนใหญ่จะเริ่มรู้สึกว่า นมมาแล้ว หลังจากคลอดประมาณ 50-73 ชม. หรือ 2-3 วันหลังคลอด ช่วงนี้เรียกว่า Lactogenesis II

 

ในสองช่วงแรก กระบวนการผลิตน้ำนมจะเกิดจากการทำงานของฮอร์โมน ไม่ว่าแม่จะให้ลูกดูดเต้าหรือไม่ ร่างกายก็จะผลิตน้ำนมโดยอัตโนมัติตามธรรมชาติ 

 

Lactogenesis ช่วงที่ III ถ้าไม่ให้ลูกดูด น้ำนมก็ไม่มี

 

ช่วงที่สามเป็นช่วงที่สำคัญมาก เพราะการผลิตน้ำนมของคุณแม่จะไม่ได้ถูกควบคุมด้วยฮอร์โมนเพียงอย่างเดียว แต่น้ำนมจะถูกผลิตอย่างต่อเนื่องก็ต่อเมื่อมีการระบายน้ำนมออกจากร่างกายอย่างสม่ำเสมอ ไม่ว่าจะด้วยการให้ลูกเข้าเต้า การบีบด้วยมือ หรือการปั๊มด้วยเครื่อง

 

ดังนั้นภายในสัปดาห์แรกหลังคลอด จึงเป็นช่วงเวลาที่สำคัญที่สุดที่จะช่วยให้การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ประสบความสำเร็จอย่างง่ายดาย หรือยากลำบาก ในช่วงนี้ยิ่งคุณแม่ระบายน้ำนมออกจากร่างกายได้มากเท่าไหร่ ก็จะยิ่งช่วยให้การผลิตน้ำนมได้มากขึ้นและเร็วขึ้นเท่านั้น

 

คุณแม่บางท่านอาจจะได้รับความรู้ผิด ๆ  จากบุคลากรในโรงพยาบาลว่า ในช่วงสัปดาห์แรกที่น้ำนมน้อย จะต้องเสริมนมผสมให้ลูกก่อน แล้วพอน้ำนมมา ค่อยให้นมแม่ การทำเช่นนี้เป็นการแทรกแซงกลไกธรรมชาติของการผลิตน้ำนม และเป็นการซ้ำเติมให้นมแม่ยิ่งมาช้ากว่าเดิม

 

วิธีที่จะเร่งให้น้ำนมมาเร็ว ๆ คือ ต้องพยายามระบายน้ำนมออกจากร่างกายให้มากที่สุด ด้วยการให้ลูกดูดอย่างถูกวิธีบ่อย ๆ แต่ในช่วง 2-3 วันแรกนั้น ลูกยังดูดไม่ค่อยเก่ง และอาจจะซึมยา ทำให้มักจะหลับเป็นส่วนใหญ่ แม่ก็ยังอ่อนเพลียจากการคลอด การใช้มือบีบหรือเครื่องปั๊มคุณภาพดี จะช่วยให้สามารถระบายน้ำนมออกจากร่างกายได้มากกว่าการรอให้ลูกดูดอย่างเดียว

 

อย่างไรก็ตาม การเข้าเต้า การบีบน้ำนมด้วยมือ หรือการใช้เครื่องปั๊มในช่วงหลังคลอดใหม่ ๆ มีข้อควรระวัง คือ หากทำไม่ถูกวิธี อาจทำให้คุณแม่รู้สึกเจ็บมาก ๆ จนทำให้คุณแม่รู้สึกว่า การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ช่างเจ็บปวดและทรมานเสียจริง

 

ขอให้เข้าใจว่าความรู้สึกเจ็บปวดทรมานแบบนั้นไม่ใช่เรื่องปกติ หากคุณแม่รู้สึกเจ็บในขณะที่ลูกเข้าเต้า อาจเป็นไปได้ว่าลูกมีพังผืดใต้ลิ้น หรือลูกเข้าเต้าไม่ถูกวิธี ควรขอความช่วยเหลือจากพยาบาลผู้เชี่ยวชาญ การปั๊มนมก็เช่นกัน หากเป็นเครื่องที่ได้มาตรฐานเครื่องมือแพทย์ และได้รับคำแนะนำอย่างถูกต้อง การปั๊มนมก็ไม่ควรเจ็บเช่นเดียวกัน

 

การเปลี่ยนแปลงของกระบวนการผลิตน้ำนมในแต่ละช่วงวัยของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

 

ในช่วง 2-3 วันแรกหลังคลอด ก่อนที่คุณแม่จะเริ่มรู้สึกว่า “นมมาแล้ว” นั้น กระบวนการผลิตน้ำนมเกิดจากการทำงานของฮอร์โมน ร่างกายจะผลิตน้ำนมโดยอัตโนมัติ ไม่ว่าจะมีการระบายน้ำนมออกจากร่างกายหรือไม่ก็ตาม

 

แต่หลังจากที่น้ำนมมาแล้ว ร่างกายจะผลิตน้ำนมอย่างต่อเนื่องต่อไป ก็ต่อเมื่อมีการระบายน้ำนมออกจากเต้าอย่างสม่ำเสมอ โดยการเข้าเต้า บีบด้วยมือ หรือใช้เครื่องปั๊ม ถ้าไม่มีการระบายน้ำนมออกจากเต้าอย่างสม่ำเสมอ เต้านมจะหยุดการผลิตน้ำนมภายในไม่กี่วัน

 

ในช่วง 2-3 สัปดาห์แรก ถ้าการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เป็นไปด้วยดี แม่ส่วนใหญ่จะมีน้ำนมมากเกินกว่าความต้องการของลูก สังเกตได้จากมีอาการคัดเต้านม น้ำนมไหลซึมเลอะเทอะ ให้ลูกเข้าเต้าข้างหนึ่ง อีกข้างก็ไหลพุ่งออกมาด้วย หรือน้ำนมไหลพุ่งก่อนที่จะถึงมื้อนม อาการเหล่านี้ไม่ใช่สิ่งปกติที่จะเกิดขึ้นตลอดการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ แต่จะเกิดขึ้นในช่วงที่ร่างกายของแม่กำลังปรับปริมาณการผลิตน้ำนมให้เข้ากับปริมาณความต้องการน้ำนมของลูก

 

หลังจาก 6-12 สัปดาห์ผ่านไป หรืออาจนานกว่านี้ สำหรับบางคน ปริมาณของฮอร์โมนโปรแล็คตินซึ่งเพิ่มสูงขึ้นในระยะแรกคลอด จะค่อย ๆ ลดต่ำลงกลับสู่ระดับปกติสำหรับแม่ให้นมลูก ในช่วงนี้คุณแม่จะไม่รู้สึกว่าหน้าอกคัดตึงเหมือนช่วงแรก น้ำนมที่เคยไหลซึมก็น้อยลง หรือไม่ไหลซึมเลย ไม่รู้สึกว่าน้ำนมไหลพุ่ง ไม่รู้สึกถึงกลไกการหลั่งน้ำนม หรือ Let-down reflex และปริมาณน้ำนมที่ปั๊มได้อาจลดลง ความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้เป็นเรื่องปกติ และไม่ได้หมายความว่าร่างกายผลิตน้ำนมไม่พอแต่อย่างใด

 

โปรดจำไว้ว่า ในช่วงแรกนั้นปริมาณน้ำนมที่ผลิต จะมากเกินกว่าความต้องการของลูก หน้าอกจึงมีการคัดตึง นมไหลซึมเลอะเทอะ เมื่อร่างกายปรับตัวได้แล้ว ปริมาณการผลิตน้ำนมจะพอดีกับความต้องการของลูก ร่างกายไม่ได้ผลิตน้ำนมส่วนเกิน ไม่ใช่ผลิตน้อยลงจนไม่พอ อย่างที่คนส่วนใหญ่เป็นกังวล ถ้าให้ลูกเข้าเต้า บีบหรือปั๊มออกอย่างสม่ำเสมอ โดยไม่ให้นมผสมเพิ่ม ร่างกายคุณแม่ก็จะผลิตน้ำนมได้เพียงพอต่อความต้องการของลูกในแต่ละวัย ไปได้นานเท่าที่ต้องการ 

 

การผลิตน้ำนมในแต่ละวันเป็นอย่างไร

 

จากการวิจัยพบว่าปริมาณน้ำนมจะมีมากที่สุดในช่วงเช้า ซึ่งเป็นเวลาดีที่สุดสำหรับการปั๊มเพื่อทำสต็อค และจะน้อยลงในช่วงบ่ายหรือเย็น ในขณะที่ปริมาณไขมันในน้ำนมกลับมีน้อยในช่วงแรก และมีมากขึ้นในช่วงหลังของวัน 

 

ความสามารถในการเก็บน้ำนม

 

อีกปัจจัยหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับการผลิตน้ำนม ก็คือ ความสามารถในการเก็บน้ำนม ซึ่งหมายถึงปริมาณที่เต้านมสามารถเก็บน้ำนมที่ผลิตออกมาในแต่ละมื้อ ซึ่งแม่แต่ละคนสามารถเก็บได้ไม่เท่ากัน และแต่ละข้างของแต่ละคนก็อาจไม่เท่ากันอีกด้วย

 

โดยปกติเต้านมจะผลิตน้ำนมอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา น้ำนมจะสะสมในเต้านมจนเต็มความสามารถในการเก็บน้ำนม เมื่อเต้านมเต็ม จะรู้สึกคัดตึง การผลิตน้ำนมจะช้าลงหรือหยุดผลิต

 

อย่างไรก็ตามความสามารถในการเก็บน้ำนม ไม่มีผลต่อปริมาณน้ำนมที่เต้านมสามารถผลิตได้ ไม่ว่าคุณแม่จะมีความสามารถในการเก็บน้ำนมได้มากหรือน้อย ก็สามารถผลิตน้ำนมได้ปริมาณมากพอสำหรับลูกของตัวเองเสมอ

 

*ลองเปรียบเทียบความสามารถในการเก็บน้ำนมของเต้านมกับขนาดของแก้วน้ำ เราสามารถดื่มน้ำในปริมาณมาก ๆ ด้วยแก้วน้ำขนาดเล็ก กลาง หรือใหญ่ก็ได้ ถ้าเราใช้แก้วขนาดเล็ก เราก็ต้องดื่มหลายแก้วกว่า ถ้าเต้านมมีความสามารถในการเก็บน้ำนมน้อย เต้านมจะเต็มเร็ว คุณแม่ก็ต้องให้นมลูกหรือปั๊มออกบ่อยกว่า เพื่อให้ได้ปริมาณที่ลูกต้องการ

 

หากต้องการเพิ่มปริมาณน้ำนม ต้องทำอย่างไร

 

ปล่อยให้นมคัดเต็มเต้า = การผลิตน้ำนมช้าลง         ให้ลูกเข้าเต้าหรือปั๊มให้เกลี้ยงเต้า = การผลิตน้ำนมเร็วขึ้น

 

เต้านมจะผลิตน้ำนมออกมาต่อเนื่องตลอดเวลา เต้านมที่ว่างจะผลิตน้ำนมได้เร็วกว่าเต้านมที่เต็ม ในระหว่างมื้อที่ลูกเข้าเต้าหรือปั๊มออก น้ำนมที่ผลิตออกมาจะสะสมอยู่ในเต้าเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตามระยะเวลาที่เพิ่มขึ้นหลังจากที่ลูกเข้าเต้าหรือปั๊มออก ครั้งสุดท้าย เมื่อน้ำนมเริ่มเต็มเต้า การผลิตน้ำนมก็จะช้าลง

           

ดังนั้นถ้าต้องการให้ร่างกายผลิตน้ำนมเพิ่มขึ้นในแต่ละวัน สิ่งที่ต้องทำ คือ ต้องพยายามระบายน้ำนมออกจากร่างกายให้เร็วขึ้นและบ่อยขึ้น ตลอดทั้งวัน เพื่อให้มีน้ำนมสะสมในเต้าในระหว่างมื้อน้อยลง โดยวิธีต่อไปนี้

 

  1. ให้ลูกเข้าเต้าบ่อยกว่าเดิม และ/หรือ เพิ่มการบีบหรือปั๊มในระหว่างมื้อที่ลูกเข้าเต้า
  2. ให้ลูกเข้าเต้าข้างหนึ่งพร้อมกับปั๊มนมอีกข้างหนึ่งไปด้วยกัน

 

ทำอย่างไรให้เกลี้ยงเต้า 

  • ต้องให้ลูกเข้าเต้าอย่างถูกวิธี มีประสิทธิภาพและได้น้ำนม
  • ใช้การนวดเต้านมและบีบหน้าอกช่วยในระหว่างเข้าเต้า
  • ระบายน้ำนมออกทั้งสองข้างในแต่ละมื้อ โดยให้ลูกเข้าเต้าทั้งสองข้าง หรือเข้าเต้าข้างหนึ่งและปั๊มนมอีกข้างหนึ่งไปพร้อมๆ กัน
  • บีบด้วยมือต่อให้เกลี้ยงหลังการเข้าเต้าหรือปั๊มนม 

 

หมายเหตุ: เกลี้ยงเต้าหมายถึงการระบายน้ำนมออกจากเต้าประมาณ 70-80% ของปริมาณทั้งหมด สังเกตได้จากเต้านิ่มเหลว ไม่ได้หมายถึงเกลี้ยงจนไม่มีน้ำนมเหลือ ซึ่งเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ เพราะน้ำนมถูกผลิตอยู่ตลอดเวลา

 

ต้องรอเวลาให้นมเต็มเต้า ก่อนจะให้ลูกดูดหรือปั๊มหรือเปล่า

 

คนส่วนใหญ่มักจะเข้าใจผิดว่า เมื่อต้องให้ลูกดูดให้เกลี้ยง ก็น่าจะต้องรอให้เต็มเสียก่อน ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ไม่ถูกต้อง

 

ในความเป็นจริง ร่างกายจะผลิตน้ำนมตลอดเวลา ดังนั้นเต้านมจะไม่เคยเกลี้ยงจริง ๆ จากการวิจัยพบว่า ทารกไม่ได้ดูดนมจนหมดเต้า ปริมาณน้ำนมที่ทารกได้รับจะขึ้นอยู่กับความหิวของทารกในแต่ละครั้ง และแตกต่างกันในแต่ละมื้อ โดยทั่วไปทารกจะดูดนมออกไปได้ประมาณ 75-80 % ของปริมาณน้ำนมที่มีในเต้านม

  

ยิ่งเราทำให้น้ำนมในเต้าเหลือน้อยลงเท่าใด เต้านมก็จะยิ่งผลิตน้ำนมมาเติมเร็วขึ้นเท่านั้น ดังนั้นการกำหนดเวลาให้ลูกเข้าเต้าหรือปั๊มออกทุก ๆ กี่ช.ม. เพราะต้องการรอให้นมเต็มเต้าเสียก่อน ไม่ได้ช่วยให้น้ำนมผลิตได้มากขึ้น ถ้ามีการเว้นช่วงห่างระหว่างมื้อนมหรือการปั๊มนาน ๆ บ่อยครั้ง จะทำให้การผลิตน้ำนมน้อยลงเรื่อย ๆ เพราะยิ่งน้ำนมสะสมในเต้ามาก จะยิ่งทำให้การผลิตน้ำนมช้าลง

 

รู้สึกว่าหน้าอกไม่คัดตึง นิ่ม เหมือนไม่มีน้ำนม น้ำนมแห้งแล้วหรือเปล่า?

 

หลังจากสัปดาห์แรก ๆ ผ่านพ้นไป คุณแม่ส่วนใหญ่จะรู้สึกวิตกกังวลเกี่ยวกับปริมาณน้ำนมของตน เมื่อสังเกตเห็นว่า นมที่เคยปั๊มได้มีปริมาณลดลง หรือรู้สึกว่าหน้าอกนิ่ม เหลว ไม่คัดตึง หรือคัดตึงบ้าง เฉพาะเวลาที่เว้นช่วงการให้ลูกเข้าเต้าหรือปั๊ม นานกว่าปกติ

           

เป็นเรื่องปกติที่จะรู้สึกว่าหน้าอกเริ่มจะไม่คัดตึง นิ่ม เหลว เหมือนไม่มีน้ำนม เมื่อเวลาผ่านไป 6-12 สัปดาห์หลังคลอด หรืออาจจะนานกว่านี้ สำหรับบางคนที่มีนมเยอะมากๆ ความรู้สึกว่าหน้าอกคัดตึง เต็มไปด้วยน้ำนม จะเกิดขึ้นเฉพาะในช่วงแรก ๆ ที่ร่างกายมีระดับฮอร์โมนโปรแล็คตินสูง และยังไม่สามารถปรับตัวให้รับรู้กับปริมาณความต้องการน้ำนมของลูกได้

 

เมื่อร่างกายสามารถปรับปริมาณการผลิตน้ำนมเข้าที่ และฮอร์โมนโปรแล็คติดลดลงสู่ระดับปกติแล้ว จะรู้สึกว่าหน้าอกคัดน้อยลง นิ่มเหลว เหมือนไม่มีน้ำนม ไม่มีการไหลซึม ไม่รู้สึกถึง Let-down และถ้าปั๊ม ก็จะได้ปริมาณน้อยลงกว่าเดิม  

 

อาการเหล่านี้ไม่ได้แสดงว่าร่างกายผลิตน้ำนมได้น้อยเกินไป แต่แสดงว่า ร่างกายสามารถรับรู้แล้วว่าต้องผลิตน้ำนมปริมาณเท่าใด จึงจะพอดีกับความต้องการของทารก ร่างกายจะไม่ผลิตน้ำนมมากเกินไปอีกแล้ว

 

การที่ร่างกายมีฮอร์โมนระดับสูงมากในช่วงสัปดาห์แรก ๆ ก็เพื่อทำให้มั่นใจได้ว่าร่างกายจะผลิตน้ำนมให้ได้มากพอถ้ามีความจำเป็น เช่น ในกรณีที่มีลูกแฝดสองหรือสาม แม่ก็จะสามารถผลิตน้ำนมได้พอสำหรับลูกทุกคน แต่หลังจาก 2-3 เดือนแรกผ่านไป ฮอร์โมนโปรแล็คตินจะค่อย ๆ ลดลงสู่ระดับปกติ พร้อม ๆ กับที่การผลิตน้ำนมของแม่ก็จะปรับไปตามความต้องการของลูก ร่างกายจะไม่ผลิตน้ำนมส่วนเกินอีกต่อไป

 

ความเปลี่ยนแปลงนี้อาจเกิดขึ้นแบบค่อยเป็นค่อยไป หรือเกิดขึ้นทันทีทันใดก็ได้ แตกต่างกันไปในแต่ละคน แต่ก็มีคุณแม่จำนวนมากที่ไม่ได้รับรู้ถึงความเปลี่ยนแปลงนี้ เพราะอาจจะหยุดเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ไปก่อนหน้านี้แล้ว และบางคนก็เข้าใจผิดว่าความเปลี่ยนแปลงเช่นนี้ เป็นสัญญาณว่านมกำลังจะแห้ง ทำให้เลิกให้นมแม่ แล้วไปให้นมผสมแทน หรือในทางตรงข้าม คุณแม่ที่ขยันปั๊มอย่างสม่ำเสมอเพื่อทำสต๊อก ก็เป็นการหลอกร่างกายว่ามีความต้องการเกินจริง ปริมาณน้ำนมก็จะผลิตมากอย่างต่อเนื่อง โดยไม่ลดลงได้เป็นเวลานานหลายเดือน

           

ถ้าน้ำนมมากไปจะทำอย่างไรดี

 

คุณแม่บางคนมีน้ำนมมากโดยธรรมชาติ หรือบางคนอาจจะกระตุ้นมากไปจนมีน้ำนมมากเกิน หากต้องการลดปริมาณน้ำนมโดยไม่ให้มีผลกระทบกับจำนวนครั้งในการเข้าเต้าของลูกหรือต้องหย่านมลูก สามารถทำได้โดยการจำกัดการให้นมลูก ให้เต้าเพียงข้างเดียวในแต่ละมื้อ ทิ้งระยะห่างระหว่างมื้อ 3-4 ช.ม. หรือนานกว่า แล้วสลับข้างในมื้อถัดไป การทำเช่นนี้ น้ำนมจะสะสมอยู่ในเต้าเต็มที่ก่อนที่จะเปลี่ยนข้าง การปล่อยให้น้ำนมสะสมมาก ๆ จะทำให้การผลิตลดลง

 


  • ฟัง YouTube ฟัง Podcast 1 - ในขณะที่พ่อแม่ส่วนใหญ่ทราบดีว่า “การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ดีที่สุดสำหรับทารก” แต่อัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่กลับต่ำกว่าการเลี้ยงลูกด้วยนมผสมหลายเท่า นั่นเป็...

  • น้ำนมแม่แบ่งได้ 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 โคลอสตรัม หรือหัวน้ำนมเหลือง เป็นน้ำนมที่เต้านมผลิตออกมาในช่วงแรกคลอดจนถึง 3-5 วันหลังคลอด ปริมาณเฉลี่ย 15-30 cc ต่อวัน มีลักษณะเหนียวและข้...

  • ใครบ้างที่ต้องปั๊มนม คุณแม่ที่คลอดก่อนกำหนด หรือลูกมีปัญหาทางสุขภาพทำให้เข้าเต้าไม่ได้ ต้องอยู่ NICU คุณแม่ผ่าคลอดที่ลูกมาเข้าเต้าช้า มีปัญหาในการเข้าเต้า เข้าเต้าได้ไม่ดี หรื...

  • เครื่องปั๊มหรือลูกดูด แบบไหนเกลี้ยงเต้ากว่ากัน คำเตือนที่คุณแม่มือใหม่แม่มักจะได้ยิน คือ ต้องปั๊มให้เกลี้ยงเต้า หรือลูกดูดได้เกลี้ยงเต้ากว่าใช้เครื่องปั๊ม ซึ่งอาจจะทำให้หลายคนเข้า...

  • เริ่มปั๊มนมเมื่อไหร่ดี สำหรับคุณแม่ที่ลูกเข้าเต้าได้ดี อย่าลืมว่าการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่ดีที่สุด คือการให้ลูกเข้าเต้า การปั๊มนมแม่แล้วใส่ขวดป้อน สู้ให้ลูกเข้าเต้าไม่ได้ แต่สำหรั...

  • กลไกการหลั่งน้ำนม กลไกการหลั่งน้ำนม หรือ Let-down Reflex เป็นกระบวนการที่ร่างกายหลั่งน้ำนมออกมาโดยการทำงานของฮอร์โมน Oxytocin คุณแม่บางท่านอาจจะรู้สึกจี๊ดๆ ที่เต้านมก่อนที่น้ำนมจะ...

  • ทำไมปั๊มนมไม่ออกหรือปั๊มได้น้อย คุณแม่ที่ใช้เครื่องปั๊มนมคุณภาพดี นุ่มนวล ไม่เจ็บ เครื่องที่โค้ชเลือกให้ว่าเหมาะสมแล้ว แต่ทำไมยังปั๊มไม่ค่อยออกหรือปั๊มได้น้อยนั้น ลองตรวจสอบสาเหตุ...

  • บทที่ 5 - 20 เคล็ดลับสำหรับแม่ทำงาน ตอนที่ 1 เคล็ดลับในบทนี้แปลและเรียบเรียงมาจากเว็บไซต์ของ Dr. Sear บริบทบางอย่างอาจจะไม่ตรงกับสังคมไทย แต่ส่วนใหญ่แล้วเป็นคำแนะนำที่มีประโยชน์ซ...

  • บทที่ 5 - 20 เคล็ดลับสำหรับแม่ทำงาน ตอนที่ 2 ทำชีวิตให้ง่ายขึ้น 11.ทำให้การออกจากบ้านตอนเช้าเป็นเรื่องง่ายขึ้น ลูกจะทำให้กิจวัตรประจำตอนเช้าวันทำงานของคุณไม่ราบรื่นเหมือนเดิม ...

  • บทที่ 6 - วิธีเก็บรักษานมแม่ เก็บน้ำนมในภาชนะสำหรับใส่อาหารแบบไหนก็ได้ หรือจะใช้ถุงเก็บน้ำนมแม่ก็ได้ เขียนวันเวลาที่ปั๊มนมไว้บนภาชนะ ควรแบ่งปริมาณน้ำนมให้พอดีกับมื้อหนึ่งที่ลูกกิน...

  • บทที่ 7 – วิธีฝึกลูกดูดนมแม่จากขวด เมื่อคุณแม่ต้องกลับไปทำงาน ก็จำเป็นต้องให้ลูกกินนมแม่ด้วยวิธีอื่นแทนการเข้าเต้าการป้อนนมแม่ที่ปั๊มออกมาด้วยขวดเป็นวิธีที่ใช้กันมากที่สุด แต่เมื่...

  • บทที่8 -ทารกต้องการน้ำนมปริมาณมากน้อยเพียงใด   แม่ ๆ หลายคนสงสัยว่าจะต้องเตรียมน้ำนมแม่ไว้ปริมาณเท่าไร เวลาที่ไม่สามารถอยู่ให้นมลูกได้ด้วยตนเอง ในเด็กทารกที่เลี้ยงด้วยนมแ...

  • บทที่ 9 - เคล็ดลับการทำสต็อคน้ำนมและเพิ่มน้ำนมด้วยการปั๊มนม สิ่งสำคัญที่ควรรู้ ปริมาณน้ำนมที่ร่างกายผลิต = ปริมาณน้ำนมที่ระบายออก ดังนั้นถ้าต้องการให้มีน้ำนมมากเท่าใด ต้อ...

  • บทที่ 10 - Workshop เพิ่มน้ำนม สำหรับคุณแม่ที่รู้สึกว่าตัวเองมีปัญหานมน้อย หรือไม่พอนั้น ขอให้แยกประเภทปัญหาของตัวเองก่อนนะคะ กรณีที่ 1 ลูกเข้าเต้าแม่ได้ดี ไม่มีปัญหา แต่ให้นมผ...

  • บทที่ 11 - Power Pumping ปั๊มเพิ่มน้ำนม Power pumping เป็นเทคนิคการปั๊มนม โดยเลียนแบบการดูดของทารกในช่วงแรกเกิดซึ่งมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ทารกจะดูดบ่อยและนาน ช่วยกระตุ้นการ...

  • บทที่ 12 - ยาเพิ่มน้ำนม คำถามยอดนิยมของคุณแม่ให้นมลูกทุกคนก็คือ มียาอะไรที่ช่วยเพิ่มน้ำนมได้บ้าง แม้จะแนะนำว่าควรแก้ปัญหาด้วยวิธีที่ไม่ใช้ยาก่อนดีกว่า โดยการให้ลูกดูดให้ถูกวิธี ด...

  • nommaecenter_เครื่องปั๊มนมไฟฟ้า_สต๊อกนม_Unimom_Allegro2.jpg
    เมื่อตั้งใจจะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ล้วนให้นานที่สุด และเลือกที่จะใช้เครื่องปั๊มนมเป็นผู้ช่วย เราเข้าใจดีว่า คุณแม่ก็ยังมีความกังวล และมีคำถามในใจอีกมากมาย เราจึงรวบรวมคำตอบจากความกังวล...

  • nommaecenter_ปั๊มนม_สต๊อกนม_นมแม่1.jpg
    คำถามที่ได้ยินบ่อยๆ จากคุณแม่ที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่คือ ต้องสต๊อกน้ำนมไว้เท่าไหร่ถึงจะพอสำหรับลูก คำตอบคือ ถ้าต้องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ล้วนโดยไม่ใช้นมผสม ช่วงที่ลาคลอดสามเดือน ต่อให้...

  • nommaecenter_เครื่องปั๊มนม_ARDO_Calypso.jpg
    วิธีเพิ่มปริมาณน้ำนมที่ดีที่สุด คือ ให้ลูกดูดนมแม่อย่างถูกวิธีบ่อยๆ และต้องเป็นการดูดอย่างมีประสิทธิภาพ คือ ดูดแล้วต้องได้น้ำนม ไม่ใช่แค่การอมหัวนมแม่เป็นเวลานานๆ เท่านั้น ปกติแล้...

  • nommaecenter_เลี้ยงลูกด้วยนมแม่_ปั๊มนม_เต้านมอักเสบ1.jpg
    ปวดเต้า แดง เจ็บปวดมาก ทำอย่างไรดี? นี่คืออาการ "เต้านมอักเสบ" ที่แม่หลายคนกลัว หลายคนประสบมาแล้วรู้ว่ามันเจ็บปวดทรมานแค่ไหน จนทำให้แม่หลายคนล้มเลิกความตั้งใจที่จะเดินต่อไปบนเส้นทา...

  • nommaecenter_เครื่องปั๊มนมไฟฟ้า_สต๊อกนม_Unimom_Minuet_LCD1.jpg
    คุณแม่หลายคนได้รับข้อมูลมาผิดๆ จนทำให้เชื่อว่า เครื่องปั๊มนมที่ยิ่งดูดแรงยิ่งดี จึงมักตัดสินใจเลือกซื้อเครื่องปั๊มนมไฟฟ้าด้วยเหตุผลนั้น แล้วยังปรับโหมดไว้แรงสุดตั้งแต่คลอดใหม่ๆ ซึ่...

  • all-um.jpg
    ตารางคำนวณปริมาณน้ำนม กรอกจำนวนมื้อที่ป้อนนมลูกในช่อง แล้วกด calculate

  • หัวนมบาดเจ็บจากปั๊ม_181116_0020.jpg
    ปัญหาที่แม่ๆ หลายคนต้องพบเจอจากการใช้เครื่องปั๊มนมที่ไม่เหมาะกับตัวเอง มีอยู่ 5 ปัญหาหลักๆ คือ 1. ปั๊มไม่ออก ปั๊มได้น้อย2. ปั๊มแล้วเจ็บ จนขยาดไม่อยากปั๊ม3. ปั๊มได้เลือด แทนได้นม4. ...

  • Molax_Molax-M6002PPS0.jpg
    ข้อขัดแย้งเรื่องการใช้ Domperidone (Motilium) สำหรับแม่ให้นม บทความโดย พญ.สุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ https://www.doctorbreastfeeding.com คุณแม่แฟนเพจหลายท่านแชร์โพสต์จากเพจ RDU มาถาม...

  • molax-m.jpg
    เริ่มใช้ดอมเพอริโดน (Domperidone) บทนำ ดอมเพอริโดน (Domperidone หรือ Motilium) เป็นยาซึ่งมีผลข้างเคียงช่วยกระตุ้นการสร้างน้ำนม ซึ่งอาจจะเป็นผลมาจากการเพิ่มปริมาณฮอร์โมนโปรแลคติน (...

  • 47386512_2168287783192458_4535804095314788352_n.jpg
    คุณแม่ปั๊มล้วน ไม่ได้ให้ลูกเข้าเต้า ต้องทำอย่างไรจึงจะมีน้ำนมเพียงพอ เรามีเคล็ดลับมาฝากกัน ตั้งเป้าหมาย โดยปั๊มนมให้ได้ปริมาณเต็มที่ 25 - 35 ออนซ์ต่อวัน ภายใน 10 - 14 วัน หลังคลอด...

  • มะเขือเปราะ-ดาวิกา-3.jpg
    เมื่อมีอาการบ่งบอกว่าเป็นเต้านมอักเสบ นมมีก้อนแข็งควรปฎิบัติดังนี้ 1. อย่าหยุดให้นมข้างที่เป็น เพราะกลัวว่าลูกจะกินไม่ได้ ความจริงคือ ต้องให้ลูกดูดเป็นข้างแรกเสมอ ดูดให้บ่อยขึ้น ปั...

  • ตอบทุกคำถาม FAQ - บีบมือ vs ปั๊มมือ vs ปั๊มไฟฟ้า สำหรับคุณแม่มือใหม่ที่ตั้งใจเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ อาจจะมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการเลือกที่ปั๊มนม หรือเครื่องปั๊มนมว่าควรจะเลือกแบบไหน อย่า...

  • 1. เครื่องปั๊มนมเป็นเครื่องมือแพทย์ที่ใช้แก้ปัญหาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ สามารถช่วยชีวิตได้ทั้งแม่และลูก ไม่ใช่เครื่องใช้ไฟฟ้าทั่วไป การซื้อเครื่องปั๊มนมตามรีวิวโดยขาดความรู้ที่ถูกต้...

  • ใช้ Youha แล้วเจ็บ เปลี่ยนกรวยหรือเปลี่ยนเครื่องดี คุณแม่ที่จะใช้ Youha ได้แล้วไม่เจ็บต้องเป็นคุณแม่ที่นมเยอะมากๆและมีหัวนมยืดหยุ่นลานนมหนานะคะเพราะแรงดูดของ youha แรงมากๆระดับต่ำส...

  • Baby Nursing / Breastfeeding Tracker เป็นแอพสำหรับบันทึกการเข้าเต้า ปั๊มนม ป้อนนม รวมทั้งสุขภาพและพัฒนาการต่างๆ ของลูกน้อย สำหรับ ระบบ Android / Sumsung, Huawei, Oppo, etc. สำห...

Visitors: 96,126