EP 31 นมแม่มหัศจรรย์

 

ทำไมโคลอสตรัมจึงมีความสำคัญ?


คุณอาจเคยได้ยินคนเรียก โคลอสตรัม ว่าเป็น ทองคำเหลว ไม่ใช่แค่เพราะมันเป็นสีเหลือง เราจะมาดูกันว่า เหตุใดโคลอสตรัม จึงเป็นอาหารมื้อแรกที่ล้ำค่าสำหรับทารกแรกเกิด

 

โคลอสตรัม เป็นนมช่วงแรกที่คุณแม่ผลิตออกมาเมื่อเริ่มให้นมลูก มันเป็นอาหารที่สมบูรณ์แบบสำหรับทารกแรกเกิด มีความเข้มข้นสูง เต็มไปด้วยโปรตีนและอัดแน่นไปด้วยสารอาหาร ดังนั้นถึงจะมีปริมาณเพียงเล็กน้อยก็สามารถเติมเต็มความต้องการของทารกได้ นอกจากมันจะมีไขมันต่ำ ย่อยง่ายและเต็มเปี่ยมไปด้วยส่วนประกอบที่ช่วยเริ่มต้นการพัฒนาอย่างดีที่สุดแล้ว ที่สำคัญกว่านั้นคือ มันมีบทบาทสำคัญในการสร้างระบบภูมิคุ้มกันของทารก

 


โคลอสตรัม มีลักษณะข้นและมีสีเหลืองมากกว่าน้ำนมขาว (Mature Milk) องค์ประกอบของมันก็แตกต่างจากน้ำนมขาวด้วย เนื่องจากมันถูกปรับแต่งให้ตรงกับความต้องการเฉพาะของทารกแรกเกิด

 


โคลอสตรัม ต่อต้านการติดเชื้อ

 


“2 ใน 3 ของเซลล์ต่างๆ ในโคลอสตรัมเป็นเซลล์เม็ดเลือดขาว ซึ่งป้องกันการติดเชื้อและช่วยให้ทารกเริ่มต่อสู้กับการติดเชื้อได้ด้วยตัวเอง เซลล์เม็ดเลือดขาวมีความสำคัญมากในการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกัน มันสร้างเกราะป้องกันและท้าทายเชื้อโรค” ศจ.ปีเตอร์ ฮาร์ทมันน์ ผู้เชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์การให้นมบุตรจากมหาวิทยาลัยเวสเทิร์นออสเตรเลียอธิบาย

 


เมื่อออกมาจากครรภ์ของแม่ ทารกต้องเตรียมพร้อมสำหรับความท้าทายใหม่ๆ ในโลกรอบตัว เม็ดเลือดขาวในโคลอสตรัมสร้างแอนติบอดีที่สามารถต่อต้านแบคทีเรียหรือไวรัสได้ แอนติบอดีเหล่านี้มีประสิทธิภาพอย่างยิ่งต่ออาการท้องอืดและท้องร่วง ซึ่งสำคัญมากสำหรับทารกที่กระเพาะและลำไส้ยังพัฒนาไม่สมบูรณ์เต็มที่

 


ช่วยสร้างระบบภูมิคุ้มกันและการทำงานของลำไส้ของทารก

 


“โคลอสตรัม อุดมไปด้วยแอนติบอดีสำคัญที่ชื่อ sIgA ซึ่งช่วยปกป้องทารกจากเชื้อโรคที่ไม่ได้ผ่านเข้าสู่กระแสเลือดแต่ผ่านเยื่อบุทางเดินอาหาร โมเลกุลที่สร้างภูมิคุ้มกันป้องกันการติดเชื้อในตัวแม่ จะถูกลำเลียงในกระแสเลือดไปยังเต้านม รวมตัวกันเป็น sIgA และหลั่งออกมาในโคลอสตรัม” ศจ.ฮาร์ทมันน์อธิบาย “sIgA จะเข้มข้นขึ้นในเมือกเยื่อบุของลำไส้และระบบทางเดินหายใจของทารก ช่วยปกป้องทารกจากอาการป่วยที่แม่เคยเป็นมาแล้ว”

 


โคลอสตรัม ยังอุดมไปด้วยส่วนประกอบที่ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันและสารเร่งการเจริญเติบโต (growth factor) อื่นๆ ที่กระตุ้นการเจริญเติบโตของเมือกป้องกันเนื้อเยื่อในลำไส้ของทารก และในขณะเดียวกันพรีไบโอติกในโคลอสตรัมก็ยังเป็นอาหารที่ช่วยสร้างแบคทีเรียชนิดดีในลำไส้ของทารก

 


โคลอสตรัม ช่วยป้องกันโรคตัวเหลือง

 


เช่นเดียวกับการป้องกันไม่ให้ท้องอืด โคลอสตรัม ยังทำหน้าที่เหมือนยาระบายที่ช่วยให้ทารกแรกคลอดอึบ่อยๆ ซึ่งจะช่วยขับสิ่งที่เขาได้รับเข้าไปขณะอยู่ในครรภ์ออกจากลำไส้ มาเป็นขี้เทาหรืออุจจาระที่เป็นสีเข้มและเหนียว

 


การอึบ่อยๆ ยังช่วยลดความเสี่ยงของการเป็นโรคตัวเหลืองในทารกแรกเกิด ทารกเกิดมาพร้อมกับเซลล์เม็ดเลือดแดงระดับสูง ซึ่งจะลำเลียงออกซิเจนไปทั่วร่างกาย เมื่อเซลล์เม็ดเลือดแดงแตกตัว ตับจะช่วยกำจัดมันออกไป ซึ่งจะเกิดสารที่เรียกว่าบิลิรูบินเป็นผลลัพธ์ หากตับของทารกไม่พัฒนาเพียงพอที่จะกำจัดบิลิรูบิน มันจะสะสมในร่างกาย ทำให้เกิดโรคตัวเหลือง คุณสมบัติที่เป็นยาระบายของโคลอสตรัมจะช่วยให้ทารกขับบิลิรูบินออกทางอุจจาระ

 


วิตามินและแร่ธาตุในโคลอสตรัม

 


แคโรทีนอยด์ (สารพฤกษเคมีที่มีสีเหลือง ส้ม แดง) และวิตามินเอ ทำให้โคลอสตรัมมีสีเหลืองโดดเด่น วิตามินเอมีความสำคัญต่อการมองเห็นของทารก (การขาดวิตามินเอเป็นสาเหตุหลักของการตาบอดทั่วโลก) และการรักษาให้ผิวหนังและระบบภูมิคุ้มแข็งแรง ทารกมักเกิดมาพร้อมกับปริมาณวิตามินเอในระดับต่ำ ดังนั้นโคลอสตรัมจึงช่วยชดเชยปริมาณที่ขาดไปได้

 


“ช่วง 3 วันแรก เป็นเวลาสำคัญสำหรับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่”

 


โคลอสตรัมอุดมไปด้วยแร่ธาตุ เช่น แมกนีเซียมซึ่งช่วยหัวใจและกระดูกของทารก ทองแดงและสังกะสีซึ่งช่วยพัฒนาระบบภูมิคุ้มกัน สังกะสียังช่วยในการพัฒนาการสมอง ในโคลอสตรัมมีสังกะสีมากกว่าในน้ำนมขาวเกือบ 4 เท่า สำหรับสมองของทารกแรกเกิดที่กำลังพัฒนาอย่างรวดเร็ว
โคลอสตรัมช่วยให้ลูกน้อยเติบโตและมีพัฒนาการ

 


โคลอสตรัมมีส่วนประกอบอื่นๆ อีกมากมายที่ช่วยในการเจริญเติบโตและพัฒนาการของทารก นักวิทยาศาสตร์ยังคงพยายามวิเคราะห์หาส่วนประกอบที่เกี่ยวข้องอยู่

 


“โคลอสตรัม จะคงส่วนประกอบเหมือนเดิมจนถึง 30 ชั่วโมงหลังคลอด” ศจ.ฮาร์ทมันน์กล่าว “โปรตีนค่อนข้างสูง เพราะแอนติบอดีทั้งหมดในโคลอสตรัมเป็นโปรตีน แลคโตส [น้ำตาลในนม] ค่อนข้างต่ำ ส่วนไขมันก็เป็นชนิดที่มีองค์ประกอบต่างจากไขมันในน้ำนมขาว"

 


และเนื่องจากโคลอสตรัมมีส่วนประกอบคล้ายกับน้ำคร่ำ (ซึ่งทารกกลืนและขับถ่ายออกในระหว่างที่อยู่ครรภ์แม่) มันจึงเป็นสิ่งที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการเปลี่ยนผ่านสู่โลกภายนอก


การเปลี่ยนแปลงจากโคลอสตรัมไปเป็นน้ำนมขาว

 


หลังจาก 2-4 วัน น้ำนมแม่ควรจะเริ่มมา แม่จะสังเกตได้ว่าหน้าอกรู้สึกคัดตึงและเต็มขึ้น และแทนที่จะผลิตโคลอสตรัม เต้านมจะผลิตน้ำนมระยะเปลี่ยนผ่าน (transition milk) ซึ่งมีสีขาวกว่าและเป็นเหมือนครีมมากกว่า

 


“ประมาณ 3 วันแรก เป็นช่วงที่สำคัญอย่างยิ่งสำหรับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่” ศจ.ฮาร์ทมันน์กล่าว “หากคุณสามารถทำสิ่งต่างๆ ได้ถูกต้องในช่วงเวลานี้ คุณมีแนวโน้มที่จะผลิตน้ำนมได้ดี และทารกก็เติบโตได้ดี”

 


ในตอนนี้คุณอาจจะนึกไม่ออกภาพเลย ว่าในเวลาเพียง 1 ปี ลูกของคุณจะเดินได้และอาจจะเริ่มพูด คุณผลิตโคลอสตรัมในช่วงเวลาสั้นๆ เท่านั้น แต่มันมีส่วนช่วยอย่างมหาศาลในช่วง 12 เดือนแรกและตลอดชีวิตที่เหลือของทารก

 


น้ำนมระยะเปลี่ยนผ่าน (Transition Milk) คืออะไร

 


ในช่วง 2-3 สัปดาห์แรกของชีวิตทารก องค์ประกอบของน้ำนมแม่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก เรามาเรียนรู้เกี่ยวกับคุณสมบัติพิเศษของน้ำนมระยะเปลี่ยนผ่านนี้กัน

 


น้ำนมระยะเปลี่ยนผ่าน สำหรับทารก

 


ไม่มีวันไหนที่ทารกแรกเกิดจะหมือนกันทุกวัน เช่นเดียวกันกับน้ำนมแม่ เมื่อน้ำนมเริ่มมา หน้าอกของคุณอาจขยายใหญ่ขึ้นในขนาดที่คุณไม่เคยคิดมาก่อน และมันก็มีการเปลี่ยนแปลงภายในด้วย ในช่วงสัปดาห์แรก เซลล์น้ำนมและท่อที่เชื่อมต่อกันจะปรับตัวสำหรับการให้ลูกกินนมจากเต้าที่จะเกิดขึ้น น้ำนมที่ผลิตได้ในช่วงนี้จนถึงประมาณ 2 สัปดาห์ เรียกว่า น้ำนมระยะเปลี่ยนผ่าน

 


“เมื่อมีการคลอดรก ระดับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนที่เพิ่มขึ้นในช่วงตั้งครรภ์จะเริ่มลดลงอย่างรวดเร็ว” ศจ.ปีเตอร์ ฮาร์ทมันน์ ผู้เชี่ยวชาญด้านองค์ประกอบของน้ำนมแม่จากมหาวิทยาลัยเวสเทิร์นออสเตรเลียอธิบาย “เมื่อฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนลดลง จะเกิดการสังเคราะห์น้ำนมเพิ่มขึ้น และองค์ประกอบปกติของน้ำนมแม่ก็เริ่มพัฒนาขึ้น ถึงแม้ว่าจะใช้เวลา 2-3 สัปดาห์กว่าจะกลายเป็นน้ำนมขาวอย่างสมบูรณ์แบบ

 


ระยะต่างๆ ของน้ำนมแม่: ระยะระหว่างกาล (Interim phase)

 


ถ้า โคลอสตรัม เป็นอาหาร 'เรียกน้ำย่อย' ของทารก และ น้ำนมขาว เป็นสารอาหารระยะยาวของเขา น้ำนมระยะเปลี่ยนผ่าน ก็เป็นสะพานเชื่อมระหว่างสองสิ่งนี้

 


ให้คิดว่ามันเป็นน้ำนมแม่ 3 ระยะที่แตกต่างกัน ไม่ใช่ 3 ประเภทที่แยกจากกัน ส่วนผสมพื้นฐานของน้ำนมยังคงเหมือนเดิมตราบเท่าที่คุณให้นมลูก แต่ระดับของส่วนผสมต่างๆ จะเพิ่มขึ้นหรือลงขึ้นอยู่กับสถานการณ์ แต่ในระยะเปลี่ยนผ่านนี้จะเป็นระยะที่มีการเปลี่ยนแปลงในแต่ละวันมากที่สุด เช่นเดียวกับการเปลี่ยนแปลงความต้องการของทารก

 


น้ำนมแม่เปลี่ยนแปลงเพราะมันเต็มไปด้วยองค์ประกอบที่ออกฤทธิ์ทางชีวภาพ (bioactive) ซึ่งรวมทั้งเซลล์ ฮอร์โมนและแบคทีเรียชนิดดี ในขณะที่น้ำนมขาวเข้ามาแทนที่ มันไม่ได้เปลี่ยนแปลงปุบปับแบบกดสวิทช์ แต่การเปลี่ยนแปลงถูกปรับแต่งทีละน้อย ให้เหมาะสมกับความต้องการในการพัฒนาของทารก

 


“อิทธิพลที่สำคัญต่อองค์ประกอบของน้ำนม คือปริมาณน้ำนมที่ร่างกายผลิตออกมา” ศจ.ฮาร์ทมันน์กล่าว “ตอนที่น้ำนมเหลือน้อย น้ำนมจะมีองค์ประกอบที่แตกต่างจาก ตอนที่น้ำนมมีปริมาณมากขึ้น”

 


นมระยะเปลี่ยนผ่าน: ปริมาณเพิ่มขึ้น

 


เมื่อทารกเติบโตขึ้น เขาจะเริ่มต้องการอาหารมากขึ้นและในสัดส่วนสารอาหารที่แตกต่างไป ปริมาณน้ำนมที่แม่ผลิตได้ในช่วงเวลานี้ ก็จะเพิ่มขึ้นอย่างมากเช่นกัน อาจจะผลิตน้ำนมได้ถึง 600 หรือ 700 มล. ใน 24 ชั่วโมง เทียบกับโคลอสตรัมปริมาณน้อยนิดที่ผลิตได้ในตอนแรก


“ส่วนประกอบของน้ำนมของแต่ละสปีชีส์ จะมีลักษณะเฉพาะเจาะจงเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกของมัน”

 


ตอนนี้เต้านมของแม่จะอยู่ในโหมด 'สร้างปริมาณ' เนื่องจากมันรับรู้ได้ว่าทารกต้องการน้ำนมมากแค่ไหน เต้านมเริ่มโตเต็มที่เช่นเดียวกับน้ำนมที่ผลิตได้ เมื่อเทียบกับโคลอสตรัมแล้ว น้ำนมระยะเปลี่ยนผ่านมีไขมันสูงกว่า และแลคโตสซึ่งเป็นน้ำตาลธรรมชาติที่ให้พลังงานแก่ทารก ก็เพิ่มขึ้นเช่นเดียวกัน

 


“ระดับแลคโตสจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วใน 2-3 วันหลังคลอด” ศจ.ฮาร์ทมันน์อธิบาย “นอกจากนี้ยังมีการเปลี่ยนแปลงของไขมัน เมื่อน้ำนมเริ่มมีกรดไขมันสายโซ่ขนาดกลางอย่าง C10 และ C12 มากขึ้น นอกจากเป็นแหล่งพลังงานที่ถูกเผาผลาญได้อย่างรวดเร็วแล้ว กรดไขมันเหล่านี้มีผลในการต่อต้านไวรัส นอกจากนี้โซเดียมและคลอไรด์จะลดลงจนอยู่ในระดับต่ำมาก เพื่อที่น้ำนมจะมีปริมาณเกลือต่ำมาก”

 


โปรตีน: สร้างสมดุลที่ถูกต้อง

 


ปริมาณโปรตีนของนมแม่ก็เปลี่ยนแปลงเช่นกัน โปรตีนในนมแม่มี 2 ประเภท คือ เคซีนและเวย์ เคซีนจะกลายเป็นของแข็ง (เป็นลิ่มน้ำนมแบบในโยเกิต) เมื่อเจอกับกรดในกระเพาะของทารก ซึ่งอาจช่วยให้รู้สึกอิ่มขึ้น นานขึ้น มันยังมีคุณสมบัติในการต้านจุลชีพอีกด้วย ส่วนเวย์ที่อุดมไปด้วยแอนติบอดีจะยังคงมีสภาพเป็นของเหลว มันจึงถูกย่อยได้ง่าย ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งสำหรับทารกแรกเกิด เมื่อลำไส้ของทารกเริ่มมีความทนทานมากขึ้นในช่วงระยะเปลี่ยนผ่าน สัดส่วนของเวย์และเคซีนในนมจะเปลี่ยน จากประมาณ 90:10 ในโคลอสตรัม เป็น 60:40 หลังจากหนึ่งเดือน (และ 50:50 ถ้าให้นมลูกต่อไปเป็นเวลาหนึ่งปี)

 


สัดส่วนนี้เป็นส่วนผสมของโปรตีนที่เหมาะสำหรับทารก เนื่องจากร่างกายของมนุษย์เติบโตค่อนข้างช้า ในขณะที่สมองมีขนาดใหญ่และซับซ้อน นอกจากนี้มันยังมีกรดอะมิโนต่างๆ ที่ทารกต้องการ เพื่อทำให้สมอง ดวงตา และอวัยวะอื่นๆ ทำงานได้อย่างสมบูรณ์

 


ปริมาณเวย์โปรตีนในน้ำนมแม่สูงกว่าในน้ำนมของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดอื่นอย่างมีนัยสำคัญ สัดส่วนของเวย์และเคซีนในนมวัวจะตรงข้ามกับน้ำนมแม่ คือ 20:80 (ซึ่งเป็นเหตุผลว่าทำไมมันจึงไม่เหมาะสำหรับทารกอายุต่ำกว่า 1 ปี)

 


“น้ำนมมีลักษณะเฉพาะตามวัตถุประสงค์” ศจ.ฮาร์ทมันน์อธิบาย “แม้ว่าน้ำนมทุกชนิดจะมีส่วนประกอบบางอย่างที่เหมือนกัน เช่น โปรตีนและไขมัน แต่เมื่อดูว่ามีโปรตีนประเภทใดหรือไขมันประเภทใด คุณสามารถบอกได้ว่ามาจากสัตว์ชนิดใด ส่วนประกอบของน้ำนมจากสัตว์แต่ละชนิด มีความเฉพาะเจาะจงเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกของมัน”

 


การเปลี่ยนระดับการป้องกันของ น้ำนมระยะเปลี่ยนผ่าน

 


แม้ว่าทารกจะยังตัวเล็ก แต่ในช่วง 2-3 สัปดาห์แรก เขาจะเริ่มพัฒนาระบบภูมิคุ้มกันของตัวเองแล้ว และเริ่มต้องการการปกป้องจากแม่น้อยลง
ด้วยเหตุนี้ ความเข้มข้นของเอนไซม์ป้องกันเชื้อโรคและแอนติบอดีในนมแม่จะเปลี่ยนแปลงไป บางชนิด เช่น แลคโตเฟอริน (เอนไซม์ป้องกันเชื้อโรค) และ sIgA (แอนติบอดี) จะลดลง ในขณะที่ชนิดอื่นๆ เช่น ไลโซไซม์ (เอนไซม์ต้านเชื้อแบคทีเรีย) จะเพิ่มขึ้น

 


“ปริมาณโปรตีนในน้ำนมก็ลดลงในช่วงนี้เช่นกัน” ศจ.ฮาร์ทมันน์ชี้ให้เห็น “โปรตีนสำหรับป้องกันเชื้อโรคถูกสังเคราะห์ขึ้นในอัตราเดิม แต่มันเจือจางลงเนื่องจากปริมาณน้ำนมถูกผลิตมากขึ้น”

 


ความเข้มข้นของสังกะสีทองแดงและแมงกานีส ซึ่งแร่ธาตุเหล่านี้ช่วยสนับสนุนระบบภูมิคุ้มกันของทารก ก็จะลดลงด้วยเพราะระบบภูมิคุ้มกันของทารกดีขึ้น

 


เมื่อน้ำนมมาเต็มที่

 


ในช่วงระยะเปลี่ยนผ่าน องค์ประกอบของน้ำนมแม่มีการปรับเปลี่ยนอย่างน่าทึ่ง เมื่อสิ้นเดือนแรกน้ำนมจะกลายเป็นน้ำนมขาว ซึ่งเหมาะสำหรับทารกที่โตขึ้น หลังจากนี้องค์ประกอบจะไม่เปลี่ยนไปมากนัก ไม่ว่าคุณจะให้ลูกด้วยนมแม่ต่อไปอีก 2-3 เดือนปีหรือนานกว่านั้น

 


น้ำนมขาว (Mature Milk) คืออะไร?

 


เมื่อทารกอายุ 1 เดือน น้ำนมแม่จะกลายเป็นน้ำนมขาว หลังจากนี้ไปองค์ประกอบของน้ำนมจะไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก เว้นแต่ว่าทารกจะต้องการการปกป้องเป็นพิเศษ

 


น้ำนมขาว สำหรับแม่และทารก

 


น้ำนมแม่จะเริ่มเป็นน้ำนมขาวที่หลังจากประมาณ 2 สัปดาห์ แต่จะยังไม่เป็นน้ำนมขาวทั้งหมดจนกว่าทารกจะอายุประมาณ 4 สัปดาห์ หลังจากนี้องค์ประกอบทั่วไปของน้ำนมจะคงที่ คือจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงเด่นชัดเหมือนในเดือนแรก

 


น้ำนมขาว มีชีวิต

 


หลังจากที่น้ำนมกลายเป็นน้ำนมขาว มันจะเริ่มมีส่วนประกอบที่ช่วยป้องกันทารกจากการติดเชื้อแบคทีเรียและไวรัสสูงขึ้น อาจไม่ใช่เรื่องบังเอิญที่การผลิตน้ำนมแม่ในระยะนี้จะเกิดขึ้นพร้อมๆ กับเวลาที่ทารกเริ่มรู้จักหยิบจับสิ่งของใส่เข้าปาก

 


แต่จะมีความเปลี่ยนแปลงที่ใหญ่ที่สุดเกิดขึ้นเมื่อแม่หรือทารกรับเชื้อโรค ตอนนั้นสัดส่วนของเม็ดเลือดขาวในนมของคุณจะพุ่งสูงขึ้นเพื่อต่อสู้กับเชิ้อโรค

 


เช่นเดียวกับน้ำนมแม่ในทุกระยะ น้ำนมขาวเป็นของเหลวที่มีชีวิต ต่อให้เรารู้แน่ชัดว่ามันทำมาจากอะไรและสิ่งเหล่านั้นทำอะไร (ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ยังคงพยายามวิเคราะห์อยู่) เราก็ยังไม่สามารถเลียนแบบได้เหมือน เพราะน้ำนมจากแม่แต่ละคน มีการปรับเปลี่ยนตามความต้องการของทารกของตัวเอง

 


“นมแม่เกิดจากส่วนประกอบที่ส่งผ่านกระแสเลือดไปยังเต้านม” ศจ.ปีเตอร์ ฮาร์ทมันน์ผู้เชี่ยวชาญด้านนมแม่จากมหาวิทยาลัยเวสเทิร์นออสเตรเลียอธิบาย “เซลล์สร้างน้ำนมจะดึงส่วนประกอบที่ทารกต้องการออกมา และทารกก็ค่อนข้างจุกจิกกับสิ่งที่เขาจะได้รับ!”

 


มันมีสารอาหาร การป้องกัน สารสร้างกล้ามเนื้อและสร้างการรับรู้รสชาติ ครบหมดในหนึ่งเดียว แต่เราที่ไม่ต้องคิดอะไรเลยเพราะร่างกายจะผลิตน้ำนมออกมาตามสัดส่วนที่ทารกต้องการ

 


ความแตกต่างระหว่าง น้ำนมส่วนหน้า foremilk และ น้ำนมส่วนหลัง hindmilk

 


ในช่วงเริ่มต้นของการให้นมแต่ละครั้ง น้ำนมขาวของคุณจะดูใสกว่า ซึ่งเรียกกันทั่วไปว่า น้ำนมส่วนหน้า แต่ศจ.ฮาร์ทมันน์จะชอบคำว่า น้ำนมก่อนหน้า (pre-milk) มากกว่า เมื่อแม่ให้ลูกกินนมต่อไปเรื่อยๆ น้ำนมจะค่อยๆ ข้นขึ้น เรียกว่า น้ำนมส่วนหลัง หรือ น้ำนมตามหลัง (post-milk)
“ปริมาณไขมันจะสัมพันธ์กับการที่น้ำนมเต็มเต้าหรือเกลี้ยงเต้า” ศจ.ฮาร์ทมันน์อธิบาย

 

“ไขมันจะสูงขึ้นในระหว่างให้ลูกกินนมจากเต้า ไปจนถึงประมาณ 30 นาทีหลังจากให้นมเสร็จ แล้วจึงลดลงในขณะที่เต้านมค่อยๆ ถูกน้ำนมเติมเต็ม ความเข้มข้นของไขมันในน้ำนมส่วนหน้าและน้ำนมส่วนหลัง ขึ้นกับปริมาณน้ำนมที่ทารกดูดออกจากเต้านมด้วย ดังนั้นน้ำนมส่วนหน้าในมื้อหนึ่งของวันนี้ อาจมีไขมันสูงกว่าน้ำนมส่วนหลังในอีกมื้อหนึ่งของวันอื่น

 


“เมื่อน้ำนมแม่เป็นน้ำนมขาวแล้ว น้ำนมจะมีไขมันให้ทารกในปริมาณเท่ากับที่ทารกต้องการใน 24 ชั่วโมงไม่ว่าจะให้ทารกจะกินนมบ่อยแค่ไหนก็ตาม” เขากล่าวเสริม

 


น้ำนมขาวให้มากกว่าสารอาหาร

 


แม้ว่าทารกจะเริ่มกินอาหารเสริมเมื่ออายุประมาณ 6 เดือน แต่นมแม่ก็ยังให้พลังงานประมาณครึ่งหนึ่งของแคลอรี่ที่ทารกต้องการในแต่ละวัน ควบคู่ไปกับอาหารอื่นๆ จนถึงขวบปีที่สอง และน้ำนมแม่ที่แสนอัศจรรย์ก็ยังคงมีบทบาทมากกว่าแค่สารอาหารทั่วไป

 


“เราเชื่อว่าในตอนแรกสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมจะเริ่มหลั่งน้ำนมเพื่อปกป้องลูกของมัน และการให้สารอาหารเป็นวิวัฒนาการในภายหลัง” ศจ.ฮาร์ทมันน์อธิบาย “ดังนั้นสารประกอบส่วนใหญ่ในนมแม่ที่มีบทบาททางโภชนาการ จึงมีบทบาทการปกป้อง ไม่ทางใดก็ทางหนึ่งด้วยเช่นกัน นี่หมายความว่านมแม่มีคุณค่ามหาศาล แต่มันก็มีความซับซ้อนเมื่อคุณศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับมัน!”

 


เขายกตัวอย่าง แอลฟาแลคตัลบูมิน (alpha-lactalbumin) ซึ่งเป็นโปรตีนหลักในนมแม่ มีคุณสมบัติในการต้านเชื้อแบคทีเรียและช่วยกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของทารก แลคโตเฟอริติน(lactoferrin) ซึ่งเป็นโปรตีนที่ลำเลียงธาตุเหล็กในร่างกายและยังมีฤทธิ์ต้านเชื้อรา และกรดไขมันในนมแม่สามารถต้านไวรัสและต้านเชื้อแบคทีเรียได้อีกด้วย

 


ลำไส้ ระบบภูมิคุ้มกัน และการพัฒนาสมอง

 


น้ำนมทุกชนิดมีแลคโตส แต่น้ำนมแม่มีโอลิโกแซคคาไรด์ (oligosaccharides) มากกว่า 200 ชนิด น้ำตาลเชิงซ้อนเหล่านี้ช่วยสร้างและปกป้องลำไส้ที่แข็งแรงและพัฒนาระบบภูมิคุ้มกัน นมวัวหรือนมผงมีไม่มีจำนวนโอลิโกแซคคาไรด์มากมายขนาดนี้ และนักวิจัยยังคงศึกษาอยู่ว่ามันบทบาทอย่างไรต่อมนุษย์

 

 

ในทำนองเดียวกัน น้ำนมทุกชนิดมีไขมัน แต่สัดส่วนของไขมันในน้ำนมขาวมีความซับซ้อนอย่างยิ่ง สมองของมนุษย์มีความซับซ้อนกว่าสมองของสัตว์อื่นๆ และเนื่องจากสมองของมนุษย์เป็นไขมันมากครึ่งหนึ่ง เราจึงต้องการส่วนผสมของไขมันที่เฉพาะเจาะจงเพื่อช่วยสร้างอวัยววะที่ซับซ้อนนั้น

 


เมื่อเทียบกับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอื่นๆ มนุษย์คลอดออกจากท้องแม่ในช่วงที่การพัฒนาของสมองเพิ่งเริ่มต้น แต่ในช่วง 6 เดือนแรกมวลสมองของเราเพิ่มขึ้นเกือบสองเท่า จึงไม่น่าแปลกใจที่ทารกจะต้องการการปกป้องและการบำรุงสมองอย่างมากในช่วงเดือนและปีแรกๆ

 


“น้ำนมของแม่ ดีสำหรับทารกมากกว่า นมผงที่ได้ซื้อจากร้านค้า ตลอดเวลา”

 


โปรตีนเป็นโมเลกุลเชิงซ้อนที่มีบทบาทสำคัญหลายอย่างต่อสุขภาพของเรา บางชนิดเป็นส่วนประกอบสำหรับการเจริญเติบโตและการซ่อมแซม ในขณะที่ชนิดอื่นๆ ช่วยให้เกิดปฏิกิริยาทางเคมีที่จำเป็นในร่างกายของเรา น้ำนมขาวมีโปรตีนมากกว่า 1,000 ชนิด ชนิด ที่ช่วยสร้างเสริมระบบประสาทและระบบภูมิคุ้มกันของทารก ควบคู่ไปกับการเจริญเติบโต

 


น้ำนมขาวยังอุดมไปด้วยสารอาหารรอง (micronutrient) ซึ่งได้แก่ วิตามินและแร่ธาตุต่างๆ ตั้งแต่แคลเซียมไปจนถึงแคดเมียม เพื่อช่วยสร้างพัฒนาการและความเป็นอยู่ที่ดี สัดส่วนของสารอาหารรองเหล่านี้เปลี่ยนแปลงตลอดทั้งวัน เพื่อตอบสนองความต้องการของทารก

 


ส่วนประกอบของน้ำนมแม่บางอย่างอาจทำให้คุณประหลาดใจ “น้ำนมขาวมีโคเลสเตอรอลสูง มีน้ำตาลในรูปของแลคโตสสูง และสัดส่วนของโปรตีนก็ต่ำมาก คือมีเพียง 7% หรือ 8% ของพลังงานที่ทารกกินนมแม่ต้องการในแต่ละวัน เมื่อเทียบกับประมาณ 12% เมื่อทารกโตขึ้น” ศจ.ฮาร์ทมันน์เผยว่า “ไม่ใช่สัดส่วนที่เราคิดว่าเหมาะสำหรับผู้ใหญ่ แต่มันเหมาะสำหรับเด็กทารก และมันแสดงให้เห็นว่าน้ำนมแม่มีการปรับเปลี่ยนเป็นการเฉพาะให้เหมาะสมกับความต้องการของทารกอย่างไร”

 


ส่วนผสมในนมแม่ที่ไม่สามารถลอกเลียนแบบได้

 


องค์ประกอบบางอย่างของน้ำนมแม่ไม่สามารถสร้างเลียนแบบได้ เนื่องจากมันเป็นลักษณะเฉพาะของร่างกายของแต่ละคน เกือบ 30% ของแบคทีเรียชนิดดีในลำไส้ของทารกมาจากน้ำนมแม่ และอีก 10% มาจากผิวหนังของเต้านมแม่

 


น้ำนมแม่ยังมีเซลล์ต้นกำเนิด ซึ่งเป็น 'เซลล์มหัศจรรย์' ที่สามารถแตกตัวเป็นเซลล์ใหม่ได้เองและสามารถเปลี่ยนเป็นเซลล์ชนิดอื่นได้ นักวิจัยยังคงศึกษาเกี่ยวกับบทบาทของมันในน้ำนมและพัฒนาการของทารก

 


มีฮอร์โมนในน้ำนมขาวด้วยเช่นกัน ซึ่งรวมถึงฮอร์โมนที่ช่วยควบคุมความอยากอาหารและการที่ทารกจัดการกับอินซูลิน นี่อาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่เด็กที่กินนมแม่ตอนเป็นทารก มีแนวโน้มที่จะเป็นโรคอ้วนน้อยกว่าเด็กที่กินนมผง

 


และเนื่องจากอาหารที่คุณกินมีผลต่อรสชาติของนมแม่ ทารกจึงได้สัมผัสกับรสชาติที่แตกต่างกันทุกวัน ในขณะที่นมผงไม่สามารถทำได้
“ความแตกต่างระหว่างนมแม่และนมผงมีมาก เราสามารถใช้เวลาทั้งวันอธิบายความแตกต่างและความยากลำบากในการพยายามผลิตนมเทียมสำหรับทารก” ศจ.ฮาร์ทมันน์กล่าว “ตัวอย่างเช่น ความเข้มข้นของเกลือในนมวัวที่ใช้ในผลิตนมผง อาจเป็นพิษต่อทารกได้ มันจึงต้องผ่านขบวนการมากมาย”

 


“ไม่ว่าคุณจะให้ลูกกินนมแม่ต่อไปนานแค่ไหน น้ำนมของคุณจะดีต่อลูกน้อยมากกว่านมผงที่หาซื้อได้ตามร้านค้า หรือนมผงที่นักวิทยาศาสตร์สร้างขึ้นเองในห้องแล็บ นอกจากนี้ยังเป็นการให้นมลูกที่สะดวกและประหยัด และมีประโยชน์อันยิ่งยวดต่อสุขภาพของแม่และทารก”

 


เมื่อพูดถึงการให้นมลูก น้ำนมแม่ คือ ครีมของเนื้อครีม (ที่สุดของที่สุด) อย่างแท้จริง

 

ที่มา: https://www.medela.com/breastfeeding/mums-journey/colostrum

https://www.medela.com/breastfeeding/mums-journey/transitional-milk

https://www.medela.com/breastfeeding/mums-journey/mature-milk


  • คุยกันเรื่องนมแม่ EP 33ฉีดวัคซีนป้องกันโควิดแล้วให้นมลูกได้ไหม?ชวนมาฟังงานวิจัยล่าสุดกันค่ะ นมแม่เดอะซีรีย์ และ คุยกันเรื่องนมแม่ออกอากาศทุกวันพุธและวันเสาร์ติดตามตอนใหม่ได้ที่ You...

  • น้องแรกคลอดตัวเหลือง คุณหมอแนะนำให้เสริมนมผง เพราะคิดว่านมไม่ควร ควรเสริมหรือไม่ มาหาคำตอบกันค่ะ สนับสนุนโดย Ardo ผลิตภัณฑ์เพื่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างมีความสุข จาก Switzerland...

  • ปั๊มน้ำนมได้มากขึ้นด้วย Ardo Calypso เครื่องปั๊มนมทั้งหมดไม่ได้ถูกสร้างขึ้นมาเหมือนกัน คุณแม่รู้ไหมว่าอะไรคือพลังของเครื่องปั๊มนมที่คุณแม่ใช้อยู่? เชื่อหรือไม่ว่า กลไกภายในเคร...

  • แม้ปัจจุบันนี้คนส่วนใหญ่ต่างก็ทราบดีว่านมแม่เป็นอาหารที่ดีที่สุดสำหรับทารก แต่ก็ยังมีบุคลากรทางการแพทย์จำนวนไม่น้อยทีเดียวที่ยังมีความเชื่อผิดๆ ว่าเมื่อลูกอายุเท่านั้นเท่านี้แล้ว น...

  • "ตัวเหลืองเป็นอาการสามัญที่เกิดขึ้นได้กับทารกโดยทั่วไป ภายในสัปดาห์แรกหลังคลอด และมีแนวโน้มที่จะพบมากขึ้นในทารกที่เลี้ยงด้วยนมแม่ ส่วนมากแล้วไม่เป็นอันตรายและไม่จำเป็นต้องทำการรักษ...

  • 10 ข้อที่พ่อแม่ทุกคนควรรู้เกี่ยวกับ RSV (Respiratory Syncytial Virus) Respiratory syncytial virus (RSV) ทำให้เกิดการติดเชื้อที่ปอดและทางเดินหายใจ ในผู้ใหญ่และเด็กที่มีสุขภาพแข็งแรง...

  • EP. 26 เครื่องปั๊มที่ได้มาตรฐานเครื่องมือแพทย์ คุยกันเรื่องนมแม่ Podcast EP 26 เครื่องปั๊มที่ได้มาตรฐานเครื่องมือแพทย์ นาทีที่ 0:49 เครื่องปั๊มนมที่ผู้ผลิตเป็นเครื่องมือแพทย์กั...

  • สรุปปัญหาของคุณแม่ที่ปั๊มนมได้ไม่พอจากโพสต์ #เปลี่ยนนมผงเป็นนมแม่ นะคะ ขอทบทวนสมการผลิตน้ำนมของร่างกายกันก่อนค่ะ ระบายออกได้มากเท่าไหร่ = ผลิตได้มากเท่านั้น ระบายออกไม่ได้ = ลดกำ...

  • Ep 24 อาหารเสริมเริ่มตอนไหนดี คุยกันเรื่องนมแม่ Podcast Ep 24 อาหารเสริมเริ่มตอนไหนดี นาทีที่ 0:13 แชร์บทความของ ดร.แจ็ค นาทีที่ 0:29 ควรเริ่มอาหารเสริมที่อายุเท่าไร จากบทความ...

  • นมน้อย นมไม่พอ ปั๊มไม่ออก ปั๊มแล้วเจ็บ ปรึกษาปัญหาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และการเลือกเครื่องปั๊มนมกับโค้ชนมแม่มืออาชีพ ---------------------------- สนับสนุนโดย Ardo ผลิตภัณฑ์เพื่อ...

  • นมน้อย นมไม่พอ ปั๊มไม่ออก ปั๊มแล้วเจ็บ ปรึกษาปัญหาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และการเลือกเครื่องปั๊มนมกับโค้ชนมแม่มืออาชีพ ---------------------------- สนับสนุนโดย Ardo ผลิตภัณฑ์เพื่...

  • นมน้อย นมไม่พอ ปั๊มไม่ออก ปั๊มแล้วเจ็บ ปรึกษาปัญหาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และการเลือกเครื่องปั๊มนมกับโค้ชนมแม่มืออาชีพ ---------------------------- สนับสนุนโดย Ardo ผลิตภัณฑ์เพื่...

  • นมน้อย นมไม่พอ ปั๊มไม่ออก ปั๊มแล้วเจ็บ ปรึกษาปัญหาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และการเลือกเครื่องปั๊มนมกับโค้ชนมแม่มืออาชีพ ---------------------------- สนับสนุนโดย Ardo ผลิตภัณฑ์เพื่...

  • นมน้อย นมไม่พอ ปั๊มไม่ออก ปั๊มแล้วเจ็บ ปรึกษาปัญหาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และการเลือกเครื่องปั๊มนมกับโค้ชนมแม่มืออาชีพ ---------------------------- สนับสนุนโดย Ardo ผลิตภัณฑ์เพื่...

  • นมน้อย นมไม่พอ ปั๊มไม่ออก ปั๊มแล้วเจ็บ ปรึกษาปัญหาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และการเลือกเครื่องปั๊มนมกับโค้ชนมแม่มืออาชีพ ---------------------------- สนับสนุนโดย Ardo ผลิตภัณฑ์เพื่...

  • นมน้อย นมไม่พอ ปั๊มไม่ออก ปั๊มแล้วเจ็บ ปรึกษาปัญหาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และการเลือกเครื่องปั๊มนมกับโค้ชนมแม่มืออาชีพ ---------------------------- สนับสนุนโดย Ardo ผลิตภัณฑ์เพื่...

  • นมน้อย นมไม่พอ ปั๊มไม่ออก ปั๊มแล้วเจ็บ ปรึกษาปัญหาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และการเลือกเครื่องปั๊มนมกับโค้ชนมแม่มืออาชีพ ---------------------------- สนับสนุนโดย Ardo ผลิตภัณฑ์เพื่...

  • นมน้อย นมไม่พอ ปั๊มไม่ออก ปั๊มแล้วเจ็บ ปรึกษาปัญหาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และการเลือกเครื่องปั๊มนมกับโค้ชนมแม่มืออาชีพ ---------------------------- สนับสนุนโดย Ardo ผลิตภัณฑ์เพื่...

  • นมน้อย นมไม่พอ ปั๊มไม่ออก ปั๊มแล้วเจ็บ ปรึกษาปัญหาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และการเลือกเครื่องปั๊มนมกับโค้ชนมแม่มืออาชีพ ---------------------------- สนับสนุนโดย Ardo ผลิตภัณฑ์เพื่...

  • นมน้อย นมไม่พอ ปั๊มไม่ออก ปั๊มแล้วเจ็บ ปรึกษาปัญหาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และการเลือกเครื่องปั๊มนมกับโค้ชนมแม่มืออาชีพ ---------------------------- สนับสนุนโดย Ardo ผลิตภัณฑ์เพื่...

  • Ep12 หลัง 1 เดือน นมจะลดมั้ย คนทั่วไป ส่วนใหญ่เข้าใจว่า หลัง 1 เดือน ปริมาณน้ำนมจะลด หด หายไป!!! จริงๆ เป็นอย่างที่เข้าใจกันมั้ย

  • หลากหลายคำถามจาก "กรุ๊ปคุณแม่นักปั๊มทำทุกอย่างเพื่อลูก" จากสมาชิกกว่า 88,000 คน เราหยิบยก 1 คำถามยอดฮิต มาตอบกันในรายการ กับการตกรอบปั๊มนม ถ้าตกไปแล้วเราจะแก้ไขยังไง น้ำนมจะลดลง...

  • ไขความลับ เครื่องปั๊มนม ซื้อมือ 1 หรือมือสองดีกว่ากัน -เครื่องปั๊มที่ถูกส่งต่อจากรุ่นสู่รุ่น -เครื่องปั๊มนมรุ่นดังที่เล็งไว้เจอประกาศขายมือ2 -เครื่องปั๊มนมที่เพื่อนใช้ดีม...

  • คุณแม่หลายท่านปั๊มนมได้ปริมาณต่างกัน บางคน 10 oz. บางคน 1 oz. หลายคน 3-4 oz แล้วน้ำนมน้อยขนาดไหนถึงต้องเรียกว่ากู้ กู้นมทำอย่างไร? ใครบ้างที่ต้องกู้? ใช้วิธีการใด?ระยะเวลานานแค...

  • คุณแม่ ที่กำลังจะตัดสินใจซื้อเครื่องปั๊ม เอ๊ะ ไม่รู้ว่า ซื้อก่อนคลอดดี หรือซื้อหลังคลอดดีนะ ลองมาฟัง Podcast ในตอนนี้ดู จะได้ช่วยตัดสินใจได้ ว่าจะซื้อเมื่อไรดี -----------------...

  • 3 ตัวช่วยเพิ่มน้ำนม ราคาไม่แพง และเห็นผลจริง 1. Domperidone (Motilium) หาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป2. Fenugreek หรือ ลูกซัด สั่งซื้อได้ที่ http://fb.me/nommaeshop3. ไม้นมนาง สั่งซื้...

  • คุณแม่จำนวนไม่น้อย ถูกกดดันให้หย่านมลูก ให้เลิกปั๊มนม และให้นมผงแทน วันนี้เราจะมาคุยกันถึงความแตกต่างระหว่างนมแม่ กับนมผง ในแง่ของวิทยาศาสตร์ คุณแม่จะได้มีกำลังใจให้นมลูกต่อไปค่...

  • ทำยังไงถึงปั๊มนมได้เยอะ ใช้เครื่องปั๊มนมอะไร เริ่มต้นยังไง มาฟังแม่กิฟเล่ากันค่ะ ---------------------------- นมน้อย นมไม่พอ ปั๊มไม่ออก ปั๊มแล้วเจ็บ ปรึกษาปัญหาการเลี้ยงลูกด้วยนม...

  • เคล็ดไม่ลับ 5 ข้อ ที่จะช่วยให้คุณแม่ปั๊มนมได้เต็มตู้ ปั๊มได้เหลือเฟือ ไม่ต้องห่วงว่าลูกจะไม่พอกิน ---------------------------- นมน้อย นมไม่พอ ปั๊มไม่ออก ปั๊มแล้วเจ็บ ปรึกษาปัญหาก...

  • EP 3 ท่อน้ำนมอุดตัน ปั๊มไม่ออก นมลด สาเหตุที่ทำให้ท่อน้ำนมอุดตัน ปั๊มไม่ออก ปั๊มได้น้อย ปริมาณน้ำนมลดลง

  • ทำไมบางคนนมเยอะ ทำไมบางคนนมน้อย สาเหตุที่ทำให้นมเยอะ คนส่วนใหญ่นมเยอะ หรือนมน้อย นาทีที่ 1:02 ทำไมบางคนนมเยอะ ทำไมบางคนนมน้อย นาทีที่ 1:57 ทำไมบางคนนมเยอะ นาทีที่ 3:18 สาเหตุอะ...

  • รู้จักคนคุย พี่เก๋ พี่ต่ายเป็นใคร คุยกันเรื่องอะไร คุยกันวันไหน นมน้อย นมไม่พอ ปั๊มไม่ออก ปั๊มแล้วเจ็บ ปรึกษาปัญหาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และการเลือกเครื่องปั๊มนมกับโค้ชนมแม่มืออาชีพ...

  • มนุษย์นมแม่ Podcast มนุษย์นมแม่ Ep.2 เปลี่ยนเครื่องปั๊มนมตอนลูก 6 เดือนจากนมหดกลับมามีสต็อก นาทีที่ 0:37 คุณแม่แนะนำตัว แล้วปั๊มล้วนหรือเข้าเต้า นมพอไหม ต้องเสริมนมผงหรือเปล่า ...

  • ประสบการณ์การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของคุณแม่ต้นอ้อ คุณแม่ ลูก 2 จากท้องแรกให้นมแม่ได้ 1 เดือนสู่การเป็นคุณแม่ท้อง 2 ที่ตอนนี้ปั๊มนมได้รอบล่ะ 9 oz. อะไรคือเคล็ดลับที่ทำให้คุณแม่ต้นอ้อ...
Visitors: 95,969