EP 4.2 FAQ-2 ลูกดูดหรือเครื่องปั๊ม แบบไหนเกลี้ยงเต้ากว่ากัน

เครื่องปั๊มหรือลูกดูด แบบไหนเกลี้ยงเต้ากว่ากัน

 

คำเตือนที่คุณแม่มือใหม่แม่มักจะได้ยิน คือ ต้องปั๊มให้เกลี้ยงเต้า หรือลูกดูดได้เกลี้ยงเต้ากว่าใช้เครื่องปั๊ม ซึ่งอาจจะทำให้หลายคนเข้าใจผิด ตัวอย่างของความเข้าใจผิดก็คือ มักจะมีคำถามว่า ปั๊มนมเสร็จแล้ว แต่ไม่เกลี้ยงเต้า บีบด้วยมือก็ยังออกมาอีก ทำอย่างไรถึงจะเกลี้ยงเต้า

 

สิ่งแรกที่ต้องทำความเข้าใจก่อนก็คือ คำว่า "เกลี้ยงเต้า" จนไม่มีน้ำนมเหลือในเต้านั้น จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อแม่เลิกให้นมหรือเลิกปั๊มนมแล้ว เต้านมจะหยุดผลิตน้ำนม หรือที่เรียกว่านมแห้งนั่นเอง ถ้าให้ลูกเข้าเต้าหรือปั๊มนมอยู่เรื่อยๆ นั้น จะไม่มีทาง "เกลี้ยงเต้า" จริง ๆ ได้เลย ร่างกายเราจะผลิตน้ำนมอยู่ตลอดเวลา และจะถูกเก็บไว้ในเต้านม เมื่อพื้นที่เก็บเต็ม จะเกิดอาการคัด เพราะน้ำนมที่ผลิตใหม่ไม่มีที่จะเก็บ คุณแม่ต้องระบายน้ำนมออกโดยการให้ลูกดูดหรือปั๊มออก เพื่อให้มีพื้นที่ว่างสำหรับเก็บน้ำนมที่ผลิตออกมาใหม่

           

นอกจากนี้ร่างกายจะผลิตน้ำนมตามความต้องการของน้ำนมที่ระบายออก ไม่ว่าจะให้ลูกเข้าเต้า ปั๊มด้วยเครื่อง หรือบีบด้วยมือ ยิ่งระบายออกได้มาก ยิ่งผลิตมาก ถ้าระบายออกได้น้อย จะผลิตน้อย และถ้าปล่อยให้เต้าเต็มบ่อย ๆ จะเป็นการส่งสัญญาณว่ามีความต้องการน้ำนมลดลง ร่างกายจะผลิตน้ำนมน้อยลง

 

เวลาที่เราพูดคำว่า "เกลี้ยงเต้า" นั้น แท้จริงแล้วหมายถึง การระบายจนน้ำนมส่วนใหญ่ออกจากเต้าเกือบหมด หรือประมาณ 70-80% เท่านั้นเอง ไม่ใช่เกลี้ยงจนไม่เหลืออะไรเลย ลองคิดถึงการบ้วนน้ำลายดู เป็นไปไม่ได้เลยที่เราจะบ้วนน้ำลายจนเกลี้ยงปาก เพราะน้ำลายจะถูกผลิตอยู่ตลอดเวลาเช่นเดียวกัน 

           

สำหรับคำถามที่ว่า การให้ลูกดูดหรือใช้เครื่องปั๊ม แบบไหนเกลี้ยงเต้ากว่ากัน เรื่องนี้ก็สร้างความเข้าใจผิดได้มากทีเดียว เพราะการที่จะบอกว่าลูกดูดหรือเครื่องปั๊มแบบไหนเกลี้ยงเต้ากว่านั้น ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ ถ้าในเต้านมมีน้ำนมพอ ๆ กับที่ลูกต้องการกิน ลูกจะดูดได้มากกว่าเครื่องปั๊ม เพราะน้ำนมที่เหลือน้อย ๆ ลึก ๆ ลูกจะดูดออกได้ดีกว่า แต่ถ้าในเต้านมมีน้ำนมมากกว่าที่ลูกต้องการ การปั๊มนมด้วยเครื่องที่เหมาะสมอย่างถูกวิธี จะสามารถระบายน้ำนมออกมาได้มากกว่าลูกดูด เพราะลูกจะดูดน้ำนมเท่าที่เขาต้องการเท่านั้น เมื่ออิ่มแล้วก็จะหยุดดูด แม้ว่าเขาจะยังอมหัวนมแม่อยู่ แต่ลักษณะการดูดจะเปลี่ยนไป คือดูดเล่น ไม่ได้ดูดกิน จึงยังมีนมเหลือค้างอยู่ในเต้า ซึ่งนมส่วนที่เหลือนี้สามารถใช้เครื่องปั๊มหรือมือบีบออกมาทำสต็อคน้ำนมได้

 

อธิบายให้เห็นภาพชัดเจนขึ้นก็คือ ถ้าร่างกายสามารถตอบสนองเครื่องปั๊มได้ดี (กลไกการหลั่งน้ำนมทำงานในขณะปั๊ม สังเกตได้จากการรู้สึกจี๊ดๆ แล้วน้ำนมพุ่งแรง อาจจะเกิดขึ้นได้หลายครั้งก็ได้ในการปั๊มแต่ละรอบ) เมื่อปั๊มเสร็จ สังเกตจากน้ำนมหยุดไหล เต้านิ่ม เครื่องปั๊มนมจะสามารถระบายน้ำนมออกจากเต้าได้ประมาณ 80% หากบีบด้วยมือต่อ อาจจะนำน้ำนมออกมาได้อีกสัก 5-10% แล้วก็จะบีบไม่ค่อยออก แต่ถ้าให้ลูกเข้าเต้าต่อ ลูกก็จะดูดได้อีกประมาณ 5-10% ถ้าลูกหิว แล้วให้ดูดตอนท้ายแบบนี้ ลูกจะหงุดหงิดมาก เพราะเหลือน้ำนมน้อยมากแล้ว

 

นี่จึงก็เป็นคำอธิบายว่า ทำไมแม่ที่ปั๊มนมบ่อย ๆ จึงสามารถมีน้ำนมเหลือเฟือไว้ทำสต็อคได้ เพราะเราใช้เครื่องปั๊มนมหลอกร่างกายว่ามีความต้องการน้ำนมมาก ๆ ถ้าให้ลูกเข้าเต้าอย่างเดียวโดยไม่ปั๊ม น้ำนมจะถูกระบายออกมาน้อยกว่า เพราะจะออกเท่าที่ลูกต้องการ แต่การที่ให้ลูกเข้าเต้าอย่างเดียวโดยไม่บีบหรือไม่ได้ปั๊มนมออกเลย ก็ไม่ได้หมายความว่าแม่จะมีนมไม่เพียงพอนะคะ ถ้าลูกเข้าเต้าอย่างมีประสิทธิภาพ คุณแม่ก็จะมีน้ำนมพอสำหรับลูกได้ แต่จะไม่มีเหลือเก็บเท่านั้นเอง 

 

ส่วนคุณแม่ที่กังวลว่าลูกไม่ดูดเต้าเลย จะเลี้ยงนมแม่ได้นานแค่ไหนนั้น ก็ไม่จำเป็นต้องกังวลมากไป ตราบใดที่ไม่ขี้เกียจปั๊ม จะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่นานแค่ไหนก็ได้  จริงๆ แล้วคนที่ขยันปั๊มแต่ลูกไม่ดูด สามารถผลิตน้ำนมได้มากกว่าคนที่ลูกดูดแต่ขี้เกียจปั๊มเสียอีก ยกตัวอย่างผู้เขียนเอง ทำงานส่วนตัว ลูกเข้าเต้ามากกว่าปั๊ม พอได้ 7-8 เดือนก็ปั๊มน้อยลง ลูกก็เริ่มกินอาหารเสริมมากขึ้น รู้เลยว่าน้ำนมน้อยลง แต่ก็ไม่ได้หมายความว่านมไม่พอ เพราะลูกผู้เขียนไม่ได้กินนมผสมเลย กลับกันคนที่ปั๊มสม่ำเสมอ บางคนปีนึงแล้วก็ยังปั๊มได้ปริมาณเท่าๆ กับตอนหกเดือน แต่ของผู้เขียนตอนครบปี ปั๊มได้น้อยมากๆ เพราะฉะนั้น ไม่ต้องกังวลเลย ไม่ว่าจะให้ลูกเข้าเต้า หรือปั๊มให้กิน จะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่นานแค่ไหนก็ได้ตามต้อง ขอให้สม่ำเสมอกับการปั๊มหรือลูกดูดเท่านั้นเอง

 

            ข้อควรระวังสำหรับคุณแม่ที่ปั๊มล้วน ก็คือ ต้องเลือกเครื่องปั๊มนมที่เหมาะสม รู้สึกนุ่มสบายเวลาปั๊ม ไม่ทำให้เต้าบาดเจ็บ หากรู้สึกเจ็บในขณะปั๊มนม จะทำให้ฮอร์โมนในการหลั่งน้ำนมลดลง ซึ่งจะส่งผลให้ร่างกายผลิตน้ำนมได้น้อยลงในที่สุด หากต้องการเพิ่มปริมาณน้ำนม แนะนำให้เพิ่มรอบปั๊มให้บ่อยขึ้น นวดเต้าระหว่างปั๊ม และบีบด้วยมือหลังปั๊มนมเป็นประจำให้เกลี้ยงที่สุด

 


  • ฟัง YouTube ฟัง Podcast 1 - ในขณะที่พ่อแม่ส่วนใหญ่ทราบดีว่า “การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ดีที่สุดสำหรับทารก” แต่อัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่กลับต่ำกว่าการเลี้ยงลูกด้วยนมผสมหลายเท่า นั่นเป็...

  • ฟัง Youtube ฟัง Podcast EP2 ทำความเข้าใจเรื่องกระบวนการผลิตน้ำนม Lactogenesis I & II น้ำนมแม่ถูกผลิตจากการทำงานของฮอร์โมน กระบวนการผลิตน้ำนมของร่างกาย จะแบ่งเป็นสามช่วง ช่วง...

  • น้ำนมแม่แบ่งได้ 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 โคลอสตรัม หรือหัวน้ำนมเหลือง เป็นน้ำนมที่เต้านมผลิตออกมาในช่วงแรกคลอดจนถึง 3-5 วันหลังคลอด ปริมาณเฉลี่ย 15-30 cc ต่อวัน มีลักษณะเหนียวและข้...

  • ใครบ้างที่ต้องปั๊มนม คุณแม่ที่คลอดก่อนกำหนด หรือลูกมีปัญหาทางสุขภาพทำให้เข้าเต้าไม่ได้ ต้องอยู่ NICU คุณแม่ผ่าคลอดที่ลูกมาเข้าเต้าช้า มีปัญหาในการเข้าเต้า เข้าเต้าได้ไม่ดี หรื...

  • เริ่มปั๊มนมเมื่อไหร่ดี สำหรับคุณแม่ที่ลูกเข้าเต้าได้ดี อย่าลืมว่าการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่ดีที่สุด คือการให้ลูกเข้าเต้า การปั๊มนมแม่แล้วใส่ขวดป้อน สู้ให้ลูกเข้าเต้าไม่ได้ แต่สำหรั...

  • กลไกการหลั่งน้ำนม กลไกการหลั่งน้ำนม หรือ Let-down Reflex เป็นกระบวนการที่ร่างกายหลั่งน้ำนมออกมาโดยการทำงานของฮอร์โมน Oxytocin คุณแม่บางท่านอาจจะรู้สึกจี๊ดๆ ที่เต้านมก่อนที่น้ำนมจะ...

  • ทำไมปั๊มนมไม่ออกหรือปั๊มได้น้อย คุณแม่ที่ใช้เครื่องปั๊มนมคุณภาพดี นุ่มนวล ไม่เจ็บ เครื่องที่โค้ชเลือกให้ว่าเหมาะสมแล้ว แต่ทำไมยังปั๊มไม่ค่อยออกหรือปั๊มได้น้อยนั้น ลองตรวจสอบสาเหตุ...

  • บทที่ 5 - 20 เคล็ดลับสำหรับแม่ทำงาน ตอนที่ 1 เคล็ดลับในบทนี้แปลและเรียบเรียงมาจากเว็บไซต์ของ Dr. Sear บริบทบางอย่างอาจจะไม่ตรงกับสังคมไทย แต่ส่วนใหญ่แล้วเป็นคำแนะนำที่มีประโยชน์ซ...

  • บทที่ 5 - 20 เคล็ดลับสำหรับแม่ทำงาน ตอนที่ 2 ทำชีวิตให้ง่ายขึ้น 11.ทำให้การออกจากบ้านตอนเช้าเป็นเรื่องง่ายขึ้น ลูกจะทำให้กิจวัตรประจำตอนเช้าวันทำงานของคุณไม่ราบรื่นเหมือนเดิม ...

  • บทที่ 6 - วิธีเก็บรักษานมแม่ เก็บน้ำนมในภาชนะสำหรับใส่อาหารแบบไหนก็ได้ หรือจะใช้ถุงเก็บน้ำนมแม่ก็ได้ เขียนวันเวลาที่ปั๊มนมไว้บนภาชนะ ควรแบ่งปริมาณน้ำนมให้พอดีกับมื้อหนึ่งที่ลูกกิน...

  • บทที่ 7 – วิธีฝึกลูกดูดนมแม่จากขวด เมื่อคุณแม่ต้องกลับไปทำงาน ก็จำเป็นต้องให้ลูกกินนมแม่ด้วยวิธีอื่นแทนการเข้าเต้าการป้อนนมแม่ที่ปั๊มออกมาด้วยขวดเป็นวิธีที่ใช้กันมากที่สุด แต่เมื่...

  • บทที่8 -ทารกต้องการน้ำนมปริมาณมากน้อยเพียงใด   แม่ ๆ หลายคนสงสัยว่าจะต้องเตรียมน้ำนมแม่ไว้ปริมาณเท่าไร เวลาที่ไม่สามารถอยู่ให้นมลูกได้ด้วยตนเอง ในเด็กทารกที่เลี้ยงด้วยนมแ...

  • บทที่ 9 - เคล็ดลับการทำสต็อคน้ำนมและเพิ่มน้ำนมด้วยการปั๊มนม สิ่งสำคัญที่ควรรู้ ปริมาณน้ำนมที่ร่างกายผลิต = ปริมาณน้ำนมที่ระบายออก ดังนั้นถ้าต้องการให้มีน้ำนมมากเท่าใด ต้อ...

  • บทที่ 10 - Workshop เพิ่มน้ำนม สำหรับคุณแม่ที่รู้สึกว่าตัวเองมีปัญหานมน้อย หรือไม่พอนั้น ขอให้แยกประเภทปัญหาของตัวเองก่อนนะคะ กรณีที่ 1 ลูกเข้าเต้าแม่ได้ดี ไม่มีปัญหา แต่ให้นมผ...

  • บทที่ 11 - Power Pumping ปั๊มเพิ่มน้ำนม Power pumping เป็นเทคนิคการปั๊มนม โดยเลียนแบบการดูดของทารกในช่วงแรกเกิดซึ่งมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ทารกจะดูดบ่อยและนาน ช่วยกระตุ้นการ...

  • บทที่ 12 - ยาเพิ่มน้ำนม คำถามยอดนิยมของคุณแม่ให้นมลูกทุกคนก็คือ มียาอะไรที่ช่วยเพิ่มน้ำนมได้บ้าง แม้จะแนะนำว่าควรแก้ปัญหาด้วยวิธีที่ไม่ใช้ยาก่อนดีกว่า โดยการให้ลูกดูดให้ถูกวิธี ด...

  • nommaecenter_เครื่องปั๊มนมไฟฟ้า_สต๊อกนม_Unimom_Allegro2.jpg
    เมื่อตั้งใจจะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ล้วนให้นานที่สุด และเลือกที่จะใช้เครื่องปั๊มนมเป็นผู้ช่วย เราเข้าใจดีว่า คุณแม่ก็ยังมีความกังวล และมีคำถามในใจอีกมากมาย เราจึงรวบรวมคำตอบจากความกังวล...

  • nommaecenter_ปั๊มนม_สต๊อกนม_นมแม่1.jpg
    คำถามที่ได้ยินบ่อยๆ จากคุณแม่ที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่คือ ต้องสต๊อกน้ำนมไว้เท่าไหร่ถึงจะพอสำหรับลูก คำตอบคือ ถ้าต้องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ล้วนโดยไม่ใช้นมผสม ช่วงที่ลาคลอดสามเดือน ต่อให้...

  • nommaecenter_เครื่องปั๊มนม_ARDO_Calypso.jpg
    วิธีเพิ่มปริมาณน้ำนมที่ดีที่สุด คือ ให้ลูกดูดนมแม่อย่างถูกวิธีบ่อยๆ และต้องเป็นการดูดอย่างมีประสิทธิภาพ คือ ดูดแล้วต้องได้น้ำนม ไม่ใช่แค่การอมหัวนมแม่เป็นเวลานานๆ เท่านั้น ปกติแล้...

  • nommaecenter_เลี้ยงลูกด้วยนมแม่_ปั๊มนม_เต้านมอักเสบ1.jpg
    ปวดเต้า แดง เจ็บปวดมาก ทำอย่างไรดี? นี่คืออาการ "เต้านมอักเสบ" ที่แม่หลายคนกลัว หลายคนประสบมาแล้วรู้ว่ามันเจ็บปวดทรมานแค่ไหน จนทำให้แม่หลายคนล้มเลิกความตั้งใจที่จะเดินต่อไปบนเส้นทา...

  • nommaecenter_เครื่องปั๊มนมไฟฟ้า_สต๊อกนม_Unimom_Minuet_LCD1.jpg
    คุณแม่หลายคนได้รับข้อมูลมาผิดๆ จนทำให้เชื่อว่า เครื่องปั๊มนมที่ยิ่งดูดแรงยิ่งดี จึงมักตัดสินใจเลือกซื้อเครื่องปั๊มนมไฟฟ้าด้วยเหตุผลนั้น แล้วยังปรับโหมดไว้แรงสุดตั้งแต่คลอดใหม่ๆ ซึ่...

  • all-um.jpg
    ตารางคำนวณปริมาณน้ำนม กรอกจำนวนมื้อที่ป้อนนมลูกในช่อง แล้วกด calculate

  • หัวนมบาดเจ็บจากปั๊ม_181116_0020.jpg
    ปัญหาที่แม่ๆ หลายคนต้องพบเจอจากการใช้เครื่องปั๊มนมที่ไม่เหมาะกับตัวเอง มีอยู่ 5 ปัญหาหลักๆ คือ 1. ปั๊มไม่ออก ปั๊มได้น้อย2. ปั๊มแล้วเจ็บ จนขยาดไม่อยากปั๊ม3. ปั๊มได้เลือด แทนได้นม4. ...

  • Molax_Molax-M6002PPS0.jpg
    ข้อขัดแย้งเรื่องการใช้ Domperidone (Motilium) สำหรับแม่ให้นม บทความโดย พญ.สุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ https://www.doctorbreastfeeding.com คุณแม่แฟนเพจหลายท่านแชร์โพสต์จากเพจ RDU มาถาม...

  • molax-m.jpg
    เริ่มใช้ดอมเพอริโดน (Domperidone) บทนำ ดอมเพอริโดน (Domperidone หรือ Motilium) เป็นยาซึ่งมีผลข้างเคียงช่วยกระตุ้นการสร้างน้ำนม ซึ่งอาจจะเป็นผลมาจากการเพิ่มปริมาณฮอร์โมนโปรแลคติน (...

  • 47386512_2168287783192458_4535804095314788352_n.jpg
    คุณแม่ปั๊มล้วน ไม่ได้ให้ลูกเข้าเต้า ต้องทำอย่างไรจึงจะมีน้ำนมเพียงพอ เรามีเคล็ดลับมาฝากกัน ตั้งเป้าหมาย โดยปั๊มนมให้ได้ปริมาณเต็มที่ 25 - 35 ออนซ์ต่อวัน ภายใน 10 - 14 วัน หลังคลอด...

  • มะเขือเปราะ-ดาวิกา-3.jpg
    เมื่อมีอาการบ่งบอกว่าเป็นเต้านมอักเสบ นมมีก้อนแข็งควรปฎิบัติดังนี้ 1. อย่าหยุดให้นมข้างที่เป็น เพราะกลัวว่าลูกจะกินไม่ได้ ความจริงคือ ต้องให้ลูกดูดเป็นข้างแรกเสมอ ดูดให้บ่อยขึ้น ปั...

  • ตอบทุกคำถาม FAQ - บีบมือ vs ปั๊มมือ vs ปั๊มไฟฟ้า สำหรับคุณแม่มือใหม่ที่ตั้งใจเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ อาจจะมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการเลือกที่ปั๊มนม หรือเครื่องปั๊มนมว่าควรจะเลือกแบบไหน อย่า...

  • 1. เครื่องปั๊มนมเป็นเครื่องมือแพทย์ที่ใช้แก้ปัญหาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ สามารถช่วยชีวิตได้ทั้งแม่และลูก ไม่ใช่เครื่องใช้ไฟฟ้าทั่วไป การซื้อเครื่องปั๊มนมตามรีวิวโดยขาดความรู้ที่ถูกต้...

  • ใช้ Youha แล้วเจ็บ เปลี่ยนกรวยหรือเปลี่ยนเครื่องดี คุณแม่ที่จะใช้ Youha ได้แล้วไม่เจ็บต้องเป็นคุณแม่ที่นมเยอะมากๆและมีหัวนมยืดหยุ่นลานนมหนานะคะเพราะแรงดูดของ youha แรงมากๆระดับต่ำส...

  • Baby Nursing / Breastfeeding Tracker เป็นแอพสำหรับบันทึกการเข้าเต้า ปั๊มนม ป้อนนม รวมทั้งสุขภาพและพัฒนาการต่างๆ ของลูกน้อย สำหรับ ระบบ Android / Sumsung, Huawei, Oppo, etc. สำห...

Visitors: 96,166