EP 4.5 FAQ-5 ทำไมปั๊มนมไม่ออกหรือปั๊มได้น้อย

ทำไมปั๊มนมไม่ออกหรือปั๊มได้น้อย

 

คุณแม่ที่ใช้เครื่องปั๊มนมคุณภาพดี นุ่มนวล ไม่เจ็บ เครื่องที่โค้ชเลือกให้ว่าเหมาะสมแล้ว แต่ทำไมยังปั๊มไม่ค่อยออกหรือปั๊มได้น้อยนั้น ลองตรวจสอบสาเหตุและวิธีแก้ไขดังนี้ คือ

 

  1. ร่างกายผลิตน้ำนมได้น้อย ได้แก่ คุณแม่ที่เพิ่งคลอดใหม่ๆ หรือ คุณแม่ที่คลอดมานานแล้ว แต่เต้านมไม่ได้ระบายน้ำนมออกอย่างเหมาะสมคือ ไม่ได้ให้ลูกเข้าเต้า/ไม่ได้ปั๊มนม (หรือดูดน้อย/ปั๊มน้อย) ทำให้ร่างกายค่อยๆ ลดการผลิตน้ำนม วิธีแก้ไขคือ ให้ลูกเข้าเต้าบ่อยๆ หรือปั๊มไปพร้อมๆ กับที่ลูกเข้าเต้า แต่ถ้าลูกไม่เข้าเต้า ให้ใช้เครื่องปั๊มนมคุณภาพดี นุ่มนวล ไม่เจ็บ แบบปั๊มคู่ ปั๊มให้ได้อย่างน้อยวันละ 8 ครั้ง โดยต้องปั๊มกลางคืน 2 ครั้งเป็นอย่างน้อย ใช้เวลาปั๊มครั้งละ 10-15 นาที แม้จะไม่มีน้ำนมออกมา มีแต่ลมก็ต้องปั๊ม แต่ระวังอย่าปรับแรงดูดมากจนทำให้เจ็บ

 

  1.  ร่างกายผลิตน้ำนมได้ปกติ  ได้แก่คุณแม่ที่ให้ลูกเข้าเต้ามาตลอด และมีน้ำนมพอสำหรับลูกโดยไม่ได้ให้นมผสม แต่ไม่เคยปั๊มนมมาก่อน คุณแม่กลุ่มนี้เมื่อมาเริ่มต้นปั๊มนมหลังจากลูกครบเดือน เพราะจะเตรียมไปทำงาน อาจจะพบว่าปั๊มนมได้เพียงเล็กน้อย 1-2 ออนซ์ หรือบางครั้งอาจจะไม่ถึงออนซ์ กรณีนี้ก็เป็นเรื่องปกติ เพราะร่างกายผลิตน้ำนมได้พอดีกับความต้องการของลูกแล้ว น้ำนมที่ปั๊มได้จะเป็นน้ำนมส่วนเกิน ซึ่งยังไม่มาก ถ้าต้องการให้มากขึ้น ก็ต้องปั๊มเพิ่มบ่อยๆ น้ำนมจะค่อยๆ เพิ่ม

 

  1.  ร่างกายผลิตน้ำนมได้ปกติ เคยปั๊มได้มาก แต่อยู่ดีๆ ปั๊มไม่ออกหรือปั๊มได้น้อย กรณีนี้เกิดจากกลไกการหลั่งน้ำนมไม่ทำงาน โดยมีสาเหตุมาจาก ความเครียดและกังวลเป็นหลัก ถ้าเป็นเครื่องปั๊มนมเดิมที่เคยใช้ ก็อาจจะเป็นความเครียดจากการทำงาน ความเครียดในครอบครัวหรืออาจจะมีปัญหาเรื่องสุขภาพ ถ้าลดความเครียดและความกังวลได้ ทำให้จิตใจผ่อนคลาย กลไกการหลั่งน้ำนมก็จะกลับมาเหมือนเดิม

 

ถ้าเป็นการเปลี่ยนเครื่องปั๊มนม เช่น เปลี่ยนจากปั๊มมือเป็นปั๊มไฟฟ้า หรือเปลี่ยนยี่ห้อ อาจจะเกิดจากความเคยชินกับเครื่องเก่า เคยคิดกังวลไปล่วงหน้าว่าเปลี่ยนใหม่แล้วจะไม่ดีเท่าเครื่องเก่า  วิธีแก้คือ เลิกใช้เครื่องเก่า ฝึกกระตุ้นกลไกการหลั่งน้ำนมก่อนการปั๊มด้วยการนวดคลึงเต้านม หรือนวดข้างนึง ปั๊มอีกข้างนึง หรือหากิจกรรมเพลิดเพลินทำในขณะปั๊มนม ไม่ควรนั่งจ้องว่าน้ำนมออกหรือยัง ออกแค่ไหนแล้ว พยายามทำใจให้สบาย คิดถึงลูกมากๆ

 

การปั๊มนมเป็น ทักษะที่ต้องอาศัยการเรียนรู้และฝึกฝน ไม่ต่างกับการหัดขับรถหรือทำกับข้าว ในครั้งแรกของการปั๊ม คุณแม่อาจจะได้น้ำนมแค่ติดก้นขวด  เมื่อปั๊มบ่อยๆ ทุกวัน จะสามารถเรียนรู้กลไกการหลั่งน้ำนม (Let-down Reflex) ของตนเอง  และจะปั๊มได้ง่ายและมีปริมาณมากขึ้นในที่สุด 

 

คุณแม่ที่เริ่มใช้เครื่องปั๊มนมใหม่ๆ ไม่ว่าจะเปลี่ยนยี่ห้อ เปลี่ยนจากปั๊มมือเป็นปั๊มไฟฟ้า หรือไม่เคยใช้เครื่องปั๊มนมมาก่อนเลยนั้น ขอให้ใจเย็นๆ อย่าพยายามกดดันตัวเอง ด้วยการเอาไปเปรียบเทียบกับคุณแม่นักปั๊มที่ชำนาญแล้ว การปั๊มนมเป็นทักษะที่ต้องฝึกและเรียนรู้ บางคนก็เรียนรู้เร็ว บางคนก็เรียนรู้ช้า ส่วนใหญ่คนที่เรียนรู้เร็ว จะเป็นคนที่มองโลกในแง่ดี ไม่ขี้กังวล ฮอร์โมนในการผลิตน้ำนมจะหลั่งได้ดีถ้าไม่มีความเครียดค่ะ คนที่เครียดมาก กังวลมาก คาดหวังสูง ฮอร์โมนจะไม่หลั่ง น้ำนมจะไม่ออก 

 

วิธีฝึกที่ง่ายที่สุดคือใช้ลูกเป็นตัวช่วย ให้ลูกเข้าเต้าข้างนึง แล้วปั๊มอีกข้างนึงไปพร้อมๆ กัน เพราะเวลาที่ลูกเข้าเต้านั้น กลไกการหลั่งน้ำนมจะทำงานได้ดี เพราะเรามีความรักต่อลูก บางคนไปทำงาน แค่นึกถึงลูก น้ำนมก็พุ่งเลย บางทีเสื้อเปียกไม่ทันรู้ตัว ฝึกบ่อยๆ ก็จะรู้จังหวะ แล้วก็จะรู้ว่าจริงๆ แล้วมันง่ายนิดเดียว

 

ถ้าลูกไม่เข้าเต้า สามารถหัดกระตุ้นกลไกการหลั่งน้ำนมด้วยการนวดคลึงเต้านมก่อนการปั๊ม โดยการใช้นิ้วชี้และนิ้วหัวแม่มือสัมผัสหัวนมเบาๆ หรือนวดในลักษณะปั้นหัวนมเหมือนปั้นดินน้ำมัน  อาจจะประคบเต้านมด้วยผ้าอุ่นๆ หรือดื่มเครื่องดื่มอุ่นๆ ก่อนการปั๊ม พยายามทำตัวให้ผ่อนคลายและคิดถึงลูกน้อย อาจทำกิจกรรมอื่นๆ ไปด้วยเช่น เล่นเน็ต ดูทีวีเพลินๆ ในขณะที่ปั๊มนม อย่าเอาแต่นั่งจ้องว่าน้ำนมไหลหรือยัง ได้แค่ไหนแล้ว เพราะจะยิ่งเครียด น้ำนมจะยิ่งไหลน้อยค่ะ

 

การกระตุ้นกลไกการหลั่งน้ำนมก่อนการปั๊มนม จะช่วยให้ปั๊มนมได้ง่ายและเร็วขึ้น คนที่อารมณ์ดีๆ มีความสุขกับการปั๊มนม ฝึกจนชำนาญแล้ว แค่เอากรวยมาครอบเต้าก็จี๊ดได้เลย

           

หัดปั๊มนมใหม่ๆ ได้น้อย ก็อย่าเพิ่งตีตนไปก่อนไข้ หนทางยาวไกล จะถึงเป้าหมายได้ เริ่มจากก้าวแรกทั้งนั้นค่ะ ขยันๆ ปั๊ม ฝึกชั่วโมงบินสะสมไปเรื่อยๆ น้ำนมเพิ่มทุกคนค่ะ 

 

เริ่มต้นใหม่ๆ อย่าไปเปรียบเทียบกับคนอื่นให้เสียกำลังใจ ดูแค่ตัวเองว่าวันนี้ได้เท่านี้ พรุ่งนี้ขยันมากกว่านี้ น้ำนมก็จะมากกว่านี้ เชื่อไหมคะ เผลอแป๊บเดียว ต้องซื้อตู้แช่แล้ว จากประสบการณ์ของผู้เขียน  คนที่เดินไม่ถึงเป้าหมาย คือคนที่หยุดเดินก่อน ถ้าไม่หยุดเสียก่อน ถึงเป้าหมายทุกคน คนไหนเดินช้า ถึงช้า คนไหนเดินเร็ว ถึงเร็ว เพื่อลูก เชื่อว่าแม่ทุกคนทำได้แน่นอนค่ะ

 

ทำไมแม่ที่ให้ลูกเข้าเต้าถึงปั๊มนมได้น้อย

 

เนื่องจากสมัยนี้เป็นยุคของโซเชียลมีเดีย ทำให้เราเห็นคุณแม่นักปั๊มแชร์รูปปริมาณน้ำนมที่ปั๊มได้กันเยอะมาก จนทำให้แม่มือใหม่หลายท่านเข้าใจผิด รู้สึกวิตกกังวลว่าทำไมเราปั๊มนมได้นิดเดียว ปั๊มไม่ได้มากเท่าคนอื่น ต้องเข้าใจก่อนว่าการปั๊มนมเป็นทักษะที่ต้องฝึกฝน เหมือนการขี่จักรยาน เล่นดนตรี ฯลฯ การฝึกบ่อยๆ ทำบ่อยๆ จะทำให้เราเก่งขึ้น

           

คุณแม่ที่ให้ลูกเข้าเต้าเป็นหลัก กับคุณแม่ที่ปั๊มล้วนนั้นจะมีความแตกต่างกันมากในเรื่องของปริมาณน้ำนมที่ปั๊มได้ คุณแม่ที่ปั๊มนมอย่างเดียวนั้น ร่างกายจะผลิตน้ำนมตอบสนองกับปริมาณน้ำนมที่ระบายออกไปจากการปั๊มของเครื่อง ซึ่งเป็นปริมาณที่เรียกว่า Over Supply คือมากกว่าปริมาณที่ลูกต้องการ ยิ่งปั๊มมาก น้ำนมจะยิ่งมาก ยิ่งปั๊มบ่อย น้ำนมจะยิ่งเยอะ อาจจะดูเป็นเรื่องปกติที่คุณแม่นักปั๊มจะสามารถปั๊มนมได้ถึงวันละ 40-60 ออนซ์ ในขณะที่ลูกต้องการน้ำนมจริงๆ เพียงวันละ 24-30 ออนซ์ ทำให้คุณแม่กลุ่มนี้มีน้ำนมเต็มตู้ และจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนไม่มีที่เก็บ เพราะลูกกินไม่ทัน

           

ในทางตรงข้าม คุณแม่ที่ให้ลูกเข้าเต้าตั้งแต่แรกคลอด และไม่ได้มีการปั๊มนมเพิ่มเลย (หรือปั๊มน้อยไม่สม่ำเสมอ) เมื่อครบเดือน แล้วจะเริ่มปั๊มจริงจังเพื่อเตรียมตัวไปทำงาน ส่วนใหญ่จะพบว่าปั๊มนมได้ 1-2 ออนซ์ เมื่อเห็นภาพคุณแม่นักปั๊มเอารูปปริมาณน้ำนมที่ปั๊มได้เต็มขวดมาแชร์ก็จะยิ่งวิตกกังวลว่าทำไมเราปั๊มนมได้น้อย เครื่องปั๊มไม่ดี หรือว่าเรามีนมไม่พอ

 

ขอย้ำว่าปริมาณน้ำนมที่ได้ 1-2 ออนซ์ของคุณแม่กลุ่มนี้นั้นเป็นเรื่องปกตินะคะ เพราะที่ผ่านมาร่างกายเราปรับปริมาณการผลิตน้ำนมไปตามความต้องการจริงของลูก ลูกดูดไปแค่ไหน ร่างกายก็ผลิตแค่นั้น เป็นปริมาณที่เพียงพอสำหรับลูกค่ะ ไม่ได้น้อยกว่าที่ลูกต้องการ แต่น้อยกว่าคุณแม่นักปั๊มที่เริ่มปั๊มตั้งแต่แรก ซึ่งก็อย่างที่อธิบายไปแล้วว่าเป็นปริมาณที่เกินกว่าความต้องการค่ะ

           

คุณแม่ที่ลูกเข้าเต้าไม่ควรเสียกำลังใจ เพราะการที่เราดูเหมือนจะปั๊มได้น้อยกว่า แต่ก็พอเพียง ยิ่งไปกว่านั้นการที่ลูกเข้าเต้า ทำให้ลูกได้กินนมสดๆ ได้คุณค่าของสารอาหารและภูมิคุ้มกันที่เหนือกว่านมที่ปั๊มออกมาป้อน แถมยังได้ความผูกพันลึกซึ้งอีกด้วย รอให้ลูกอายุเกินขวบไปแล้ว คุณแม่จะยิ่งเข้าใจความรู้สึกนี้ได้ดีขึ้น

 

หากคุณแม่ที่ลูกเข้าเต้าต้องการเพิ่มปริมาณน้ำนมก็สามารถทำได้ด้วยการเพิ่มรอบปั๊มให้มากขึ้น ถ้าลูกติดเต้ามาก ไม่มีเวลาปั๊ม ให้ปั๊มพร้อมกับที่ลูกดูด คือให้ลูกดูดข้างนึง อีกข้างปั๊มไปพร้อมๆ กัน ประมาณ 15 นาที ให้เก็บน้ำนมที่ปั๊มได้ไว้เป็นสต็อค แล้วก็ให้ลูกมาดูดซ้ำข้างที่เพิ่งปั๊มไป ครั้งถัดไปให้สลับกันคือ ข้างที่เข้าเต้าก่อนให้เปลี่ยนเป็นปั๊ม ข้างที่ปั๊มให้เปลี่ยนเป็นเข้าเต้า ในระหว่างวัน ถ้ามีจังหวะทำได้มื้อไหน หลังจากลูกดูด 1 ชม.  ให้ปั๊มพร้อมกันสองข้างประมาณ 10 นาที เก็บเป็นสต็อคได้อีก ไม่ต้องกลัวนมหมดค่ะ ถ้าลูกตื่นก็ให้เข้าเต้าต่อได้เลย

 

สำหรับคุณแม่ที่ให้ลูกเข้าเต้า ปริมาณน้ำนมที่เก็บเพิ่มได้ในแต่ละวัน วันแรกๆ รวมกันได้ 2-3 ออนซ์ก็ใช้ได้แล้วนะคะ ถ้ารวมกันทุกครั้งทั้งวันได้ 10 ออนซ์เมื่อไหร่ ก็พอใจได้เลย เกินกว่านั้นเป็นโบนัส แต่รับรองว่าไม่ได้ใช้ เพราะว่าเด็กที่เข้าเต้า ไม่เหมือนเด็กดูดขวดนะคะ ลูกที่ติดเต้า ส่วนใหญ่จะรอแม่ค่ะ กินขวดน้อย ทำให้แม่กลุ่มนี้ส่วนมากจะปั๊มทิ้งหรือบริจาคมากกว่า


  • ฟัง YouTube ฟัง Podcast 1 - ในขณะที่พ่อแม่ส่วนใหญ่ทราบดีว่า “การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ดีที่สุดสำหรับทารก” แต่อัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่กลับต่ำกว่าการเลี้ยงลูกด้วยนมผสมหลายเท่า นั่นเป็...

  • ฟัง Youtube ฟัง Podcast EP2 ทำความเข้าใจเรื่องกระบวนการผลิตน้ำนม Lactogenesis I & II น้ำนมแม่ถูกผลิตจากการทำงานของฮอร์โมน กระบวนการผลิตน้ำนมของร่างกาย จะแบ่งเป็นสามช่วง ช่วง...

  • น้ำนมแม่แบ่งได้ 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 โคลอสตรัม หรือหัวน้ำนมเหลือง เป็นน้ำนมที่เต้านมผลิตออกมาในช่วงแรกคลอดจนถึง 3-5 วันหลังคลอด ปริมาณเฉลี่ย 15-30 cc ต่อวัน มีลักษณะเหนียวและข้...

  • ใครบ้างที่ต้องปั๊มนม คุณแม่ที่คลอดก่อนกำหนด หรือลูกมีปัญหาทางสุขภาพทำให้เข้าเต้าไม่ได้ ต้องอยู่ NICU คุณแม่ผ่าคลอดที่ลูกมาเข้าเต้าช้า มีปัญหาในการเข้าเต้า เข้าเต้าได้ไม่ดี หรื...

  • เครื่องปั๊มหรือลูกดูด แบบไหนเกลี้ยงเต้ากว่ากัน คำเตือนที่คุณแม่มือใหม่แม่มักจะได้ยิน คือ ต้องปั๊มให้เกลี้ยงเต้า หรือลูกดูดได้เกลี้ยงเต้ากว่าใช้เครื่องปั๊ม ซึ่งอาจจะทำให้หลายคนเข้า...

  • เริ่มปั๊มนมเมื่อไหร่ดี สำหรับคุณแม่ที่ลูกเข้าเต้าได้ดี อย่าลืมว่าการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่ดีที่สุด คือการให้ลูกเข้าเต้า การปั๊มนมแม่แล้วใส่ขวดป้อน สู้ให้ลูกเข้าเต้าไม่ได้ แต่สำหรั...

  • กลไกการหลั่งน้ำนม กลไกการหลั่งน้ำนม หรือ Let-down Reflex เป็นกระบวนการที่ร่างกายหลั่งน้ำนมออกมาโดยการทำงานของฮอร์โมน Oxytocin คุณแม่บางท่านอาจจะรู้สึกจี๊ดๆ ที่เต้านมก่อนที่น้ำนมจะ...

  • บทที่ 5 - 20 เคล็ดลับสำหรับแม่ทำงาน ตอนที่ 1 เคล็ดลับในบทนี้แปลและเรียบเรียงมาจากเว็บไซต์ของ Dr. Sear บริบทบางอย่างอาจจะไม่ตรงกับสังคมไทย แต่ส่วนใหญ่แล้วเป็นคำแนะนำที่มีประโยชน์ซ...

  • บทที่ 5 - 20 เคล็ดลับสำหรับแม่ทำงาน ตอนที่ 2 ทำชีวิตให้ง่ายขึ้น 11.ทำให้การออกจากบ้านตอนเช้าเป็นเรื่องง่ายขึ้น ลูกจะทำให้กิจวัตรประจำตอนเช้าวันทำงานของคุณไม่ราบรื่นเหมือนเดิม ...

  • บทที่ 6 - วิธีเก็บรักษานมแม่ เก็บน้ำนมในภาชนะสำหรับใส่อาหารแบบไหนก็ได้ หรือจะใช้ถุงเก็บน้ำนมแม่ก็ได้ เขียนวันเวลาที่ปั๊มนมไว้บนภาชนะ ควรแบ่งปริมาณน้ำนมให้พอดีกับมื้อหนึ่งที่ลูกกิน...

  • บทที่ 7 – วิธีฝึกลูกดูดนมแม่จากขวด เมื่อคุณแม่ต้องกลับไปทำงาน ก็จำเป็นต้องให้ลูกกินนมแม่ด้วยวิธีอื่นแทนการเข้าเต้าการป้อนนมแม่ที่ปั๊มออกมาด้วยขวดเป็นวิธีที่ใช้กันมากที่สุด แต่เมื่...

  • บทที่8 -ทารกต้องการน้ำนมปริมาณมากน้อยเพียงใด   แม่ ๆ หลายคนสงสัยว่าจะต้องเตรียมน้ำนมแม่ไว้ปริมาณเท่าไร เวลาที่ไม่สามารถอยู่ให้นมลูกได้ด้วยตนเอง ในเด็กทารกที่เลี้ยงด้วยนมแ...

  • บทที่ 9 - เคล็ดลับการทำสต็อคน้ำนมและเพิ่มน้ำนมด้วยการปั๊มนม สิ่งสำคัญที่ควรรู้ ปริมาณน้ำนมที่ร่างกายผลิต = ปริมาณน้ำนมที่ระบายออก ดังนั้นถ้าต้องการให้มีน้ำนมมากเท่าใด ต้อ...

  • บทที่ 10 - Workshop เพิ่มน้ำนม สำหรับคุณแม่ที่รู้สึกว่าตัวเองมีปัญหานมน้อย หรือไม่พอนั้น ขอให้แยกประเภทปัญหาของตัวเองก่อนนะคะ กรณีที่ 1 ลูกเข้าเต้าแม่ได้ดี ไม่มีปัญหา แต่ให้นมผ...

  • บทที่ 11 - Power Pumping ปั๊มเพิ่มน้ำนม Power pumping เป็นเทคนิคการปั๊มนม โดยเลียนแบบการดูดของทารกในช่วงแรกเกิดซึ่งมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ทารกจะดูดบ่อยและนาน ช่วยกระตุ้นการ...

  • บทที่ 12 - ยาเพิ่มน้ำนม คำถามยอดนิยมของคุณแม่ให้นมลูกทุกคนก็คือ มียาอะไรที่ช่วยเพิ่มน้ำนมได้บ้าง แม้จะแนะนำว่าควรแก้ปัญหาด้วยวิธีที่ไม่ใช้ยาก่อนดีกว่า โดยการให้ลูกดูดให้ถูกวิธี ด...

  • nommaecenter_เครื่องปั๊มนมไฟฟ้า_สต๊อกนม_Unimom_Allegro2.jpg
    เมื่อตั้งใจจะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ล้วนให้นานที่สุด และเลือกที่จะใช้เครื่องปั๊มนมเป็นผู้ช่วย เราเข้าใจดีว่า คุณแม่ก็ยังมีความกังวล และมีคำถามในใจอีกมากมาย เราจึงรวบรวมคำตอบจากความกังวล...

  • nommaecenter_ปั๊มนม_สต๊อกนม_นมแม่1.jpg
    คำถามที่ได้ยินบ่อยๆ จากคุณแม่ที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่คือ ต้องสต๊อกน้ำนมไว้เท่าไหร่ถึงจะพอสำหรับลูก คำตอบคือ ถ้าต้องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ล้วนโดยไม่ใช้นมผสม ช่วงที่ลาคลอดสามเดือน ต่อให้...

  • nommaecenter_เครื่องปั๊มนม_ARDO_Calypso.jpg
    วิธีเพิ่มปริมาณน้ำนมที่ดีที่สุด คือ ให้ลูกดูดนมแม่อย่างถูกวิธีบ่อยๆ และต้องเป็นการดูดอย่างมีประสิทธิภาพ คือ ดูดแล้วต้องได้น้ำนม ไม่ใช่แค่การอมหัวนมแม่เป็นเวลานานๆ เท่านั้น ปกติแล้...

  • nommaecenter_เลี้ยงลูกด้วยนมแม่_ปั๊มนม_เต้านมอักเสบ1.jpg
    ปวดเต้า แดง เจ็บปวดมาก ทำอย่างไรดี? นี่คืออาการ "เต้านมอักเสบ" ที่แม่หลายคนกลัว หลายคนประสบมาแล้วรู้ว่ามันเจ็บปวดทรมานแค่ไหน จนทำให้แม่หลายคนล้มเลิกความตั้งใจที่จะเดินต่อไปบนเส้นทา...

  • nommaecenter_เครื่องปั๊มนมไฟฟ้า_สต๊อกนม_Unimom_Minuet_LCD1.jpg
    คุณแม่หลายคนได้รับข้อมูลมาผิดๆ จนทำให้เชื่อว่า เครื่องปั๊มนมที่ยิ่งดูดแรงยิ่งดี จึงมักตัดสินใจเลือกซื้อเครื่องปั๊มนมไฟฟ้าด้วยเหตุผลนั้น แล้วยังปรับโหมดไว้แรงสุดตั้งแต่คลอดใหม่ๆ ซึ่...

  • all-um.jpg
    ตารางคำนวณปริมาณน้ำนม กรอกจำนวนมื้อที่ป้อนนมลูกในช่อง แล้วกด calculate

  • หัวนมบาดเจ็บจากปั๊ม_181116_0020.jpg
    ปัญหาที่แม่ๆ หลายคนต้องพบเจอจากการใช้เครื่องปั๊มนมที่ไม่เหมาะกับตัวเอง มีอยู่ 5 ปัญหาหลักๆ คือ 1. ปั๊มไม่ออก ปั๊มได้น้อย2. ปั๊มแล้วเจ็บ จนขยาดไม่อยากปั๊ม3. ปั๊มได้เลือด แทนได้นม4. ...

  • Molax_Molax-M6002PPS0.jpg
    ข้อขัดแย้งเรื่องการใช้ Domperidone (Motilium) สำหรับแม่ให้นม บทความโดย พญ.สุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ https://www.doctorbreastfeeding.com คุณแม่แฟนเพจหลายท่านแชร์โพสต์จากเพจ RDU มาถาม...

  • molax-m.jpg
    เริ่มใช้ดอมเพอริโดน (Domperidone) บทนำ ดอมเพอริโดน (Domperidone หรือ Motilium) เป็นยาซึ่งมีผลข้างเคียงช่วยกระตุ้นการสร้างน้ำนม ซึ่งอาจจะเป็นผลมาจากการเพิ่มปริมาณฮอร์โมนโปรแลคติน (...

  • 47386512_2168287783192458_4535804095314788352_n.jpg
    คุณแม่ปั๊มล้วน ไม่ได้ให้ลูกเข้าเต้า ต้องทำอย่างไรจึงจะมีน้ำนมเพียงพอ เรามีเคล็ดลับมาฝากกัน ตั้งเป้าหมาย โดยปั๊มนมให้ได้ปริมาณเต็มที่ 25 - 35 ออนซ์ต่อวัน ภายใน 10 - 14 วัน หลังคลอด...

  • มะเขือเปราะ-ดาวิกา-3.jpg
    เมื่อมีอาการบ่งบอกว่าเป็นเต้านมอักเสบ นมมีก้อนแข็งควรปฎิบัติดังนี้ 1. อย่าหยุดให้นมข้างที่เป็น เพราะกลัวว่าลูกจะกินไม่ได้ ความจริงคือ ต้องให้ลูกดูดเป็นข้างแรกเสมอ ดูดให้บ่อยขึ้น ปั...

  • ตอบทุกคำถาม FAQ - บีบมือ vs ปั๊มมือ vs ปั๊มไฟฟ้า สำหรับคุณแม่มือใหม่ที่ตั้งใจเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ อาจจะมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการเลือกที่ปั๊มนม หรือเครื่องปั๊มนมว่าควรจะเลือกแบบไหน อย่า...

  • 1. เครื่องปั๊มนมเป็นเครื่องมือแพทย์ที่ใช้แก้ปัญหาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ สามารถช่วยชีวิตได้ทั้งแม่และลูก ไม่ใช่เครื่องใช้ไฟฟ้าทั่วไป การซื้อเครื่องปั๊มนมตามรีวิวโดยขาดความรู้ที่ถูกต้...

  • ใช้ Youha แล้วเจ็บ เปลี่ยนกรวยหรือเปลี่ยนเครื่องดี คุณแม่ที่จะใช้ Youha ได้แล้วไม่เจ็บต้องเป็นคุณแม่ที่นมเยอะมากๆและมีหัวนมยืดหยุ่นลานนมหนานะคะเพราะแรงดูดของ youha แรงมากๆระดับต่ำส...

  • Baby Nursing / Breastfeeding Tracker เป็นแอพสำหรับบันทึกการเข้าเต้า ปั๊มนม ป้อนนม รวมทั้งสุขภาพและพัฒนาการต่างๆ ของลูกน้อย สำหรับ ระบบ Android / Sumsung, Huawei, Oppo, etc. สำห...

Visitors: 96,372