EP 9 เคล็ดลับการทำสต็อคน้ำนมและเพิ่มน้ำนมด้วยการปั๊มนม

 

บทที่ 9 - เคล็ดลับการทำสต็อคน้ำนมและเพิ่มน้ำนมด้วยการปั๊มนม

 

สิ่งสำคัญที่ควรรู้

ปริมาณน้ำนมที่ร่างกายผลิต = ปริมาณน้ำนมที่ระบายออก

ดังนั้นถ้าต้องการให้มีน้ำนมมากเท่าใด  ต้องให้ดูดหรือปั๊มออกให้มากเท่านั้น

 


ตัวอย่าง : 
ถ้าลูกต้องการน้ำนมวันละ 24 ออนซ์ 

  • กรณีที่ 1    แม่ให้ลูกดูดทั้งวันโดยไม่ใช้นมผสมเลย ร่างกายแม่ก็จะผลิตน้ำนมได้ 24 ออนซ์เท่าที่ลูกดูดออกไป ซึ่งพอสำหรับลูก
                     แต่ไม่มีสต็อค
  • กรณีที่ 2    แม่ให้ลูกดูดทั้งวันและให้นมผสม 1 มื้อ จำนวน 2 ออนซ์  ถ้าทำเช่นนี้ ร่างกายแม่ก็จะผลิตน้ำนมได้เพียง 22 ออนซ์
                     ซึ่งไม่พอสำหรับลูก  ถ้าให้นมผสมร่วมเช่นนี้ไปเรื่อยๆ  ร่างกายแม่ก็จะผลิตน้ำนมน้อยลงเรื่อยๆ
  • กรณีที่ 3    แม่ให้ลูกดูดทั้งวัน  และปั๊มออกมาได้อีกวันละครั้ง ๆ ละ 2 ออนซ์  แบบนี้ร่างกายแม่จะผลิตน้ำนมได้วันละ 26 ออนซ์
                     เท่ากับเหลือวันละ 2 ออนซ์เพื่อเป็นสต็อค

 

การทำสต็อคน้ำนม

            ยิ่งเริ่มต้นเร็วเท่าไรยิ่งง่ายเท่านั้น  โดยเฉพาะภายใน 1-2 สัปดาห์แรกหลังคลอด  แต่ถ้าคุณพลาดช่วงเวลานั้นมาแล้ว ก็ไม่ใช่เรื่องที่ต้องกังวล
เริ่มต้นได้เลยตั้งแต่วันพรุ่งนี้

 

            เริ่มจากมื้อเช้า ตี 5-6 โมง  ร่างกายแม่จะผลิตน้ำนมได้มากที่สุดในช่วงนี้ 

 

            ถ้าตื่นก่อนลูก ให้ปั๊มน้ำนมออกก่อน 1 ข้าง สมมุติว่าเป็นข้างขวา ประมาณ 10-15 นาที ได้เท่าไหร่ให้เก็บเอาไว้  แรกๆ อาจจะไม่ถึงออนซ์
ก็ไม่ต้องกังวล ทำทุกวัน น้ำนมจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เมื่อลูกตื่นให้ลูกดูดข้างซ้าย  นานจนกว่าลูกจะพอใจและปล่อยเต้าแม่เอง  ถ้าไม่หลับ ก็ให้ลูก
มาดูดต่อข้างขวาที่เราปั๊มไปแล้ว เมื่อลูกดูดเสร็จ  ให้กลับมาปั๊มข้างซ้ายที่ลูกดูดตอนแรกต่ออีก 2-3 นาทีเพื่อกระตุ้น

 

            ถ้าลูกตื่นก่อนก็ให้ลูกดูดก่อนหนึ่งข้าง* สมมุติว่าข้างซ้าย  ให้ลูกดูดนานเท่าที่ลูกต้องการ เมื่อลูกถอนปากออกจากเต้า  ให้ปั๊มอีกข้างคือ
ข้างขวา ประมาณ 15 นาที  แล้วกลับมาปั๊มข้างซ้ายที่ลูกดูดไปแล้วอีก 2-3 นาที ทั้งสองข้างได้นมเท่าไหร่ ก็เก็บไว้   ถ้าลูกไม่หลับ อาจจะให้ลูก
มาดูดต่อข้างขวาที่ปั๊มไปแล้วซ้ำอีกก็ได้

           

ถ้าเป็นไปได้หัดให้ลูกดูดข้างหนึ่ง แล้วปั๊มอีกข้างหนึ่งไปพร้อมๆ กัน จะช่วยประหยัดเวลา และปั๊มนมได้ง่ายขึ้น

           

ในระหว่างวันก็เช่นกัน  หลังลูกดูด 1 ชม. ให้ขโมยปั๊มประมาณ 10 นาที ถ้ากลัวลูกตื่น ก็ปั๊มข้างเดียว อีกข้างไว้เผื่อลูกตื่น แต่ถ้าลูกนอนนาน
ก็ปั๊มออกทั้งสองข้างได้เลย  ทำเรื่อยๆ  ทุกวัน  ร่างกายก็จะรับรู้ว่าต้องผลิตน้ำนมเพิ่ม  น้ำนมที่ปั๊มก็จะได้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ  1  oz. -2  oz. -3 oz.

 

ข้อควรระวัง       

            น้ำนมที่บีบหรือปั๊มออกมาในช่วงที่ทำการเก็บสต็อคนี้  ต้องไม่นำมาให้ลูกกิน  เพราะการนำนมส่วนนี้มาให้ลูกกิน  ไม่ได้ช่วยให้ร่างกาย
ผลิตน้ำนมเพิ่ม  ไม่ต่างกับการให้ลูกเข้าเต้าเอง น้ำนมที่เราต้องการสต็อคนี้ควรนำมาใช้หลังจาก 1 เดือนผ่านไปแล้ว  ซึ่งเป็นระยะที่ร่างกายแม่
ผลิตน้ำนมได้คงที่แล้ว

      

            ถ้าต้องกลับไปทำงานก็ใช้น้ำนมที่สต็อคไว้นี้ให้ลูก  เมื่อไปทำงาน ก็ปั๊มจากที่ทำงานกลับมาทดแทนสต็อคที่ใช้ไป  ถ้าทำได้เช่นนี้ จะสามารถ
ให้นมลูกได้จนถึงสองปี โดยไม่ต้องพึ่งนมผสม

      

            การปั๊มนมหลังจากที่ไปทำงานแล้ว ต้องมีวินัยอย่างสม่ำเสมอ เช้าให้ลูกดูดก่อนไปทำงาน และเมื่อถึงที่ทำงาน ขอแนะนำให้จัดเวลาปั๊ม
ให้ได้อย่างน้อยวันละ 3 ครั้งทุกวัน แล้วกลับมาให้ลูกดูดทันทีที่กลับถึงบ้าน

      

            วันเสาร์-อาทิตย์ ควรให้ลูกดูดทั้งวันตามต้องการ

 

คำเตือน                   

            ในช่วง 1-3 เดือน  ถ้าให้ลูกดูดสม่ำเสมอ  ร่วมกับการบีบหรือปั๊ม ร่างกายจะผลิตน้ำนมได้มาก  จนอาจทำให้ชะล่าใจว่า น้ำนมเหลือเฟือ
เกินพอ  อยากจะหยุดให้ลูกดูดบางมื้อ  หยุดปั๊มตามเวลา พยายามให้ลูกงดมื้อดึก ฯลฯ   การทำแบบนั้น  อาจทำให้น้ำนมลดลงได้ภายในไม่กี่วัน 

 

            ในขณะเดียวกัน เมื่อลูกอายุมากขึ้นเรื่อยๆ  3-6 เดือนขึ้นไป การบีบหรือปั๊มอาจจะได้ปริมาณลดลง หรือไม่รู้สึกคัดเต้านม  ก็ไม่ใช่เรื่อง
ที่ต้องเป็นกังวล  ตราบใดที่ลูกยังดูดจากเต้าแม่สม่ำเสมอ  บีบหรือปั๊มออกตามเวลาทุกวัน  น้ำนมก็ไม่มีวันหมดไปจากร่างกายของคุณแม่
ปริมาณน้ำนมที่ลดลงเมื่อลูกอายุมากขึ้น  เป็นเรื่องปกติตามธรรมชาติ  เพราะเมื่ออายุมากขึ้น  ลูกจะต้องเจริญเติบโตจากอาหารอื่นร่วมด้วยแล้ว
ไม่ใช่นมแม่เพียงอย่างเดียว

 

สต็อคเท่าไหร่ถึงจะพอ

            ถ้าต้องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ล้วนๆ  โดยไม่ต้องใช้นมผสมนั้น  ในช่วงที่ลาสามเดือนนั้น  ต่อให้เร่งทำสต็อคได้เป็นพันออนซ์ก็จะไม่พอสำหรับลูก  ถ้าคุณแม่ไปทำงานแล้วปั๊มได้แค่วันละครั้งหรือสองครั้ง

            ในทางกลับกัน ถึงแม้จะมีสต็อคแค่สิบยี่สิบออนซ์ก่อนไปทำงาน  แต่คุณแม่สามารถหาเวลาปั๊มนมให้ลูกได้เท่ากับจำนวนออนซ์
และมื้อที่ลูกกินตอนที่แม่ไปทำงาน เช่น ลูกกินที่บ้าน 3 มื้อ รวม 12 oz. แม่ก็ปั๊ม 3 มื้อ กลับมาส่งลูก 12 oz.  ถ้าทำได้แบบนี้  จะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
ให้นานแค่ไหนก็ได้

 

            ปัญหาหลักที่หลายคนทำผิดพลาดเมื่อกลับไปทำงานก็คือ

 

  • ไม่ได้ปั๊มเท่ากับจำนวนมื้อที่ลูกกิน  วันแรกที่กลับไปทำงานใหม่ๆ  แม้ว่าบางคนจะปั๊มแค่ครั้งเดียวตอนเที่ยง  ก็อาจจะได้น้ำนมมาก
    เป็นสิบออนซ์  เพราะนมสะสมมากจากที่เคยให้ลูกดูดตอนอยู่บ้าน 3-4 ครั้ง  แต่พอไม่กี่วัน ก็จะปั๊มนมได้น้อยลงจนตกใจ  และถ้ายังคงปั๊ม
    วันละครั้งไปเรื่อยๆ  ไม่นานก็จะลดลงเรื่อยๆ  จนไม่พอในที่สุด  เพราะร่างกายจะตอบสนองกับความต้องการที่ลดลงนี้โดยอัตโนมัติ
  • ใช้เครื่องปั๊มนมที่ไม่ดีพอ  หรือไม่สามารถฝึกการใช้งานเครื่องให้คุ้นเคยได้ ทำให้ไม่สามารถปั๊มนมออกมาได้เท่ากับที่ลูกเคยดูดในแต่ละมื้อ
    โดยปกติ  ถ้าในช่วงลา 3 เดือน แม่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ล้วนๆ  โดยไม่ใช้นมผสม  เมื่อกลับไปทำงาน  ถ้าบีบด้วยมือได้คล่องและชำนาญ  หรือ
    ใช้เครื่องปั๊มนมคุณภาพดี  บีบหรือปั๊มเท่าจำนวนครั้งที่ลูกกินที่บ้าน ส่วนใหญ่จะปั๊มได้มากกว่าที่ลูกต้องการอยู่แล้ว

            อย่างไรก็ตาม  มีเคล็ดลับเล็กๆ น้อยๆ สำหรับคุณแม่ที่ที่ทำงานไม่สะดวกให้ปั๊มนมได้วันละ 3-4 ครั้ง  ขอบอกว่าถ้าวันละครั้งเดียว
นี่ยากมาก  แต่ถ้าได้อย่างน้อย 2 ครั้ง พอได้ค่ะ  สมมติว่าลูกอยู่บ้านกินนมวันละ 4 มื้อ แม่ปั๊มได้แค่ 2 ครั้ง เที่ยงกับบ่ายสาม  ก็ขอให้มาปั๊มชดเชย
ตอนตีห้า  กับ ห้าทุ่มเที่ยงคืนเพิ่มค่ะ  ในมื้อที่จะปั๊มชดเชยนี้  พยายามให้ลูกกินข้างเดียว  แล้วปั๊มเก็บอีกข้าง  ทำแบบนี้สักอาทิตย์  ร่างกายก็จะ
รับรู้ว่ามีความต้องการในเวลานั้นๆ  มากกว่าเวลากลางวัน  มันก็จะปรับการผลิตให้เอง  แบบนี้แม้ว่าจะปั๊มได้แค่วันละสองครั้งที่ทำงาน
ก็พอช่วยได้

 

            เป็นเรื่องปกติ ถ้าบางวันจะปั๊มได้มากบ้าง น้อยบ้าง สลับกันไป ปกติลูกกินวันละ 12 อาจจะมีบางวันได้ 10 บางวันได้ 14 การผลิตน้ำนม
ก็ขึ้นอยู่กับสุขภาพร่างกายของเรา  วันไหนอารมณดี กินอิ่ม นอนเยอะ ก็ปั๊มได้เยอะ  วันไหนเครียด กินน้อย นอนไม่พอ ก็ปั๊มได้น้อยไปบ้าง
ไม่ต้องตกอกตกใจ ยิ่งเครียด ยิ่งน้อย  ขอให้ยึดหลักความสม่ำเสมอ  ทำให้ได้ทุกวัน ดูแลร่างกายให้ดี สักพักก็จะกลับมาเหมือนเดิม

 

            ในทางกลับกัน ถึงแม้จะมีสต็อคแค่สิบยี่สิบออนซ์ก่อนไปทำงาน  แต่คุณแม่สามารถหาเวลาปั๊มหรือบีบนมให้ลูกได้เท่ากับจำนวนออนซ์
และมื้อที่ลูกกินตอนที่แม่ไปทำงาน ลูกกินที่บ้าน 3 มื้อ รวม 12 oz. แม่ก็ปั๊ม 3 มื้อ กลับมาส่งลูก 12 oz. ถ้าทำได้แบบนี้  จะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
ให้นานแค่ไหนก็ได้ 

 


  • ฟัง YouTube ฟัง Podcast 1 - ในขณะที่พ่อแม่ส่วนใหญ่ทราบดีว่า “การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ดีที่สุดสำหรับทารก” แต่อัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่กลับต่ำกว่าการเลี้ยงลูกด้วยนมผสมหลายเท่า นั่นเป็...

  • ฟัง Youtube ฟัง Podcast EP2 ทำความเข้าใจเรื่องกระบวนการผลิตน้ำนม Lactogenesis I & II น้ำนมแม่ถูกผลิตจากการทำงานของฮอร์โมน กระบวนการผลิตน้ำนมของร่างกาย จะแบ่งเป็นสามช่วง ช่วง...

  • น้ำนมแม่แบ่งได้ 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 โคลอสตรัม หรือหัวน้ำนมเหลือง เป็นน้ำนมที่เต้านมผลิตออกมาในช่วงแรกคลอดจนถึง 3-5 วันหลังคลอด ปริมาณเฉลี่ย 15-30 cc ต่อวัน มีลักษณะเหนียวและข้...

  • ใครบ้างที่ต้องปั๊มนม คุณแม่ที่คลอดก่อนกำหนด หรือลูกมีปัญหาทางสุขภาพทำให้เข้าเต้าไม่ได้ ต้องอยู่ NICU คุณแม่ผ่าคลอดที่ลูกมาเข้าเต้าช้า มีปัญหาในการเข้าเต้า เข้าเต้าได้ไม่ดี หรื...

  • เครื่องปั๊มหรือลูกดูด แบบไหนเกลี้ยงเต้ากว่ากัน คำเตือนที่คุณแม่มือใหม่แม่มักจะได้ยิน คือ ต้องปั๊มให้เกลี้ยงเต้า หรือลูกดูดได้เกลี้ยงเต้ากว่าใช้เครื่องปั๊ม ซึ่งอาจจะทำให้หลายคนเข้า...

  • เริ่มปั๊มนมเมื่อไหร่ดี สำหรับคุณแม่ที่ลูกเข้าเต้าได้ดี อย่าลืมว่าการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่ดีที่สุด คือการให้ลูกเข้าเต้า การปั๊มนมแม่แล้วใส่ขวดป้อน สู้ให้ลูกเข้าเต้าไม่ได้ แต่สำหรั...

  • กลไกการหลั่งน้ำนม กลไกการหลั่งน้ำนม หรือ Let-down Reflex เป็นกระบวนการที่ร่างกายหลั่งน้ำนมออกมาโดยการทำงานของฮอร์โมน Oxytocin คุณแม่บางท่านอาจจะรู้สึกจี๊ดๆ ที่เต้านมก่อนที่น้ำนมจะ...

  • ทำไมปั๊มนมไม่ออกหรือปั๊มได้น้อย คุณแม่ที่ใช้เครื่องปั๊มนมคุณภาพดี นุ่มนวล ไม่เจ็บ เครื่องที่โค้ชเลือกให้ว่าเหมาะสมแล้ว แต่ทำไมยังปั๊มไม่ค่อยออกหรือปั๊มได้น้อยนั้น ลองตรวจสอบสาเหตุ...

  • บทที่ 5 - 20 เคล็ดลับสำหรับแม่ทำงาน ตอนที่ 1 เคล็ดลับในบทนี้แปลและเรียบเรียงมาจากเว็บไซต์ของ Dr. Sear บริบทบางอย่างอาจจะไม่ตรงกับสังคมไทย แต่ส่วนใหญ่แล้วเป็นคำแนะนำที่มีประโยชน์ซ...

  • บทที่ 5 - 20 เคล็ดลับสำหรับแม่ทำงาน ตอนที่ 2 ทำชีวิตให้ง่ายขึ้น 11.ทำให้การออกจากบ้านตอนเช้าเป็นเรื่องง่ายขึ้น ลูกจะทำให้กิจวัตรประจำตอนเช้าวันทำงานของคุณไม่ราบรื่นเหมือนเดิม ...

  • บทที่ 6 - วิธีเก็บรักษานมแม่ เก็บน้ำนมในภาชนะสำหรับใส่อาหารแบบไหนก็ได้ หรือจะใช้ถุงเก็บน้ำนมแม่ก็ได้ เขียนวันเวลาที่ปั๊มนมไว้บนภาชนะ ควรแบ่งปริมาณน้ำนมให้พอดีกับมื้อหนึ่งที่ลูกกิน...

  • บทที่ 7 – วิธีฝึกลูกดูดนมแม่จากขวด เมื่อคุณแม่ต้องกลับไปทำงาน ก็จำเป็นต้องให้ลูกกินนมแม่ด้วยวิธีอื่นแทนการเข้าเต้าการป้อนนมแม่ที่ปั๊มออกมาด้วยขวดเป็นวิธีที่ใช้กันมากที่สุด แต่เมื่...

  • บทที่8 -ทารกต้องการน้ำนมปริมาณมากน้อยเพียงใด   แม่ ๆ หลายคนสงสัยว่าจะต้องเตรียมน้ำนมแม่ไว้ปริมาณเท่าไร เวลาที่ไม่สามารถอยู่ให้นมลูกได้ด้วยตนเอง ในเด็กทารกที่เลี้ยงด้วยนมแ...

  • บทที่ 10 - Workshop เพิ่มน้ำนม สำหรับคุณแม่ที่รู้สึกว่าตัวเองมีปัญหานมน้อย หรือไม่พอนั้น ขอให้แยกประเภทปัญหาของตัวเองก่อนนะคะ กรณีที่ 1 ลูกเข้าเต้าแม่ได้ดี ไม่มีปัญหา แต่ให้นมผ...

  • บทที่ 11 - Power Pumping ปั๊มเพิ่มน้ำนม Power pumping เป็นเทคนิคการปั๊มนม โดยเลียนแบบการดูดของทารกในช่วงแรกเกิดซึ่งมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ทารกจะดูดบ่อยและนาน ช่วยกระตุ้นการ...

  • บทที่ 12 - ยาเพิ่มน้ำนม คำถามยอดนิยมของคุณแม่ให้นมลูกทุกคนก็คือ มียาอะไรที่ช่วยเพิ่มน้ำนมได้บ้าง แม้จะแนะนำว่าควรแก้ปัญหาด้วยวิธีที่ไม่ใช้ยาก่อนดีกว่า โดยการให้ลูกดูดให้ถูกวิธี ด...

  • nommaecenter_เครื่องปั๊มนมไฟฟ้า_สต๊อกนม_Unimom_Allegro2.jpg
    เมื่อตั้งใจจะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ล้วนให้นานที่สุด และเลือกที่จะใช้เครื่องปั๊มนมเป็นผู้ช่วย เราเข้าใจดีว่า คุณแม่ก็ยังมีความกังวล และมีคำถามในใจอีกมากมาย เราจึงรวบรวมคำตอบจากความกังวล...

  • nommaecenter_ปั๊มนม_สต๊อกนม_นมแม่1.jpg
    คำถามที่ได้ยินบ่อยๆ จากคุณแม่ที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่คือ ต้องสต๊อกน้ำนมไว้เท่าไหร่ถึงจะพอสำหรับลูก คำตอบคือ ถ้าต้องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ล้วนโดยไม่ใช้นมผสม ช่วงที่ลาคลอดสามเดือน ต่อให้...

  • nommaecenter_เครื่องปั๊มนม_ARDO_Calypso.jpg
    วิธีเพิ่มปริมาณน้ำนมที่ดีที่สุด คือ ให้ลูกดูดนมแม่อย่างถูกวิธีบ่อยๆ และต้องเป็นการดูดอย่างมีประสิทธิภาพ คือ ดูดแล้วต้องได้น้ำนม ไม่ใช่แค่การอมหัวนมแม่เป็นเวลานานๆ เท่านั้น ปกติแล้...

  • nommaecenter_เลี้ยงลูกด้วยนมแม่_ปั๊มนม_เต้านมอักเสบ1.jpg
    ปวดเต้า แดง เจ็บปวดมาก ทำอย่างไรดี? นี่คืออาการ "เต้านมอักเสบ" ที่แม่หลายคนกลัว หลายคนประสบมาแล้วรู้ว่ามันเจ็บปวดทรมานแค่ไหน จนทำให้แม่หลายคนล้มเลิกความตั้งใจที่จะเดินต่อไปบนเส้นทา...

  • nommaecenter_เครื่องปั๊มนมไฟฟ้า_สต๊อกนม_Unimom_Minuet_LCD1.jpg
    คุณแม่หลายคนได้รับข้อมูลมาผิดๆ จนทำให้เชื่อว่า เครื่องปั๊มนมที่ยิ่งดูดแรงยิ่งดี จึงมักตัดสินใจเลือกซื้อเครื่องปั๊มนมไฟฟ้าด้วยเหตุผลนั้น แล้วยังปรับโหมดไว้แรงสุดตั้งแต่คลอดใหม่ๆ ซึ่...

  • all-um.jpg
    ตารางคำนวณปริมาณน้ำนม กรอกจำนวนมื้อที่ป้อนนมลูกในช่อง แล้วกด calculate

  • หัวนมบาดเจ็บจากปั๊ม_181116_0020.jpg
    ปัญหาที่แม่ๆ หลายคนต้องพบเจอจากการใช้เครื่องปั๊มนมที่ไม่เหมาะกับตัวเอง มีอยู่ 5 ปัญหาหลักๆ คือ 1. ปั๊มไม่ออก ปั๊มได้น้อย2. ปั๊มแล้วเจ็บ จนขยาดไม่อยากปั๊ม3. ปั๊มได้เลือด แทนได้นม4. ...

  • Molax_Molax-M6002PPS0.jpg
    ข้อขัดแย้งเรื่องการใช้ Domperidone (Motilium) สำหรับแม่ให้นม บทความโดย พญ.สุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ https://www.doctorbreastfeeding.com คุณแม่แฟนเพจหลายท่านแชร์โพสต์จากเพจ RDU มาถาม...

  • molax-m.jpg
    เริ่มใช้ดอมเพอริโดน (Domperidone) บทนำ ดอมเพอริโดน (Domperidone หรือ Motilium) เป็นยาซึ่งมีผลข้างเคียงช่วยกระตุ้นการสร้างน้ำนม ซึ่งอาจจะเป็นผลมาจากการเพิ่มปริมาณฮอร์โมนโปรแลคติน (...

  • 47386512_2168287783192458_4535804095314788352_n.jpg
    คุณแม่ปั๊มล้วน ไม่ได้ให้ลูกเข้าเต้า ต้องทำอย่างไรจึงจะมีน้ำนมเพียงพอ เรามีเคล็ดลับมาฝากกัน ตั้งเป้าหมาย โดยปั๊มนมให้ได้ปริมาณเต็มที่ 25 - 35 ออนซ์ต่อวัน ภายใน 10 - 14 วัน หลังคลอด...

  • มะเขือเปราะ-ดาวิกา-3.jpg
    เมื่อมีอาการบ่งบอกว่าเป็นเต้านมอักเสบ นมมีก้อนแข็งควรปฎิบัติดังนี้ 1. อย่าหยุดให้นมข้างที่เป็น เพราะกลัวว่าลูกจะกินไม่ได้ ความจริงคือ ต้องให้ลูกดูดเป็นข้างแรกเสมอ ดูดให้บ่อยขึ้น ปั...

  • ตอบทุกคำถาม FAQ - บีบมือ vs ปั๊มมือ vs ปั๊มไฟฟ้า สำหรับคุณแม่มือใหม่ที่ตั้งใจเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ อาจจะมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการเลือกที่ปั๊มนม หรือเครื่องปั๊มนมว่าควรจะเลือกแบบไหน อย่า...

  • 1. เครื่องปั๊มนมเป็นเครื่องมือแพทย์ที่ใช้แก้ปัญหาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ สามารถช่วยชีวิตได้ทั้งแม่และลูก ไม่ใช่เครื่องใช้ไฟฟ้าทั่วไป การซื้อเครื่องปั๊มนมตามรีวิวโดยขาดความรู้ที่ถูกต้...

  • ใช้ Youha แล้วเจ็บ เปลี่ยนกรวยหรือเปลี่ยนเครื่องดี คุณแม่ที่จะใช้ Youha ได้แล้วไม่เจ็บต้องเป็นคุณแม่ที่นมเยอะมากๆและมีหัวนมยืดหยุ่นลานนมหนานะคะเพราะแรงดูดของ youha แรงมากๆระดับต่ำส...

  • Baby Nursing / Breastfeeding Tracker เป็นแอพสำหรับบันทึกการเข้าเต้า ปั๊มนม ป้อนนม รวมทั้งสุขภาพและพัฒนาการต่างๆ ของลูกน้อย สำหรับ ระบบ Android / Sumsung, Huawei, Oppo, etc. สำห...

Visitors: 94,882