EP 10 Workshop เพิ่มน้ำนม

 

บทที่ 10 - Workshop เพิ่มน้ำนม

 

            สำหรับคุณแม่ที่รู้สึกว่าตัวเองมีปัญหานมน้อย หรือไม่พอนั้น ขอให้แยกประเภทปัญหาของตัวเองก่อนนะคะ

 

กรณีที่ 1

ลูกเข้าเต้าแม่ได้ดี ไม่มีปัญหา แต่ให้นมผสมเพิ่มวันละ  1-2 ครั้ง รวมแล้วไม่เกิน 3 ออนซ์ ต่อวัน

 

            กรณีแบบนี้ ปัญหาส่วนใหญ่จะอยู่ที่ความไม่มั่นใจของคุณแม่มากกว่า กังวลว่านมจะไม่พอ กลัวว่าลูกจะไม่อิ่ม หรือ อาจจะเกิดจากแรงกดดันของคนรอบข้าง ทำให้ต้องเพิ่มนมผสมทั้งๆ ที่อาจจะไม่จำเป็น

 

            วิธีแก้ก็คือ ขอให้มั่นใจว่าคุณแม่มีน้ำนมเพียงพอ และงดนมผสมแบบหักดิบไปเลยค่ะ  ตื่นเช้าขึ้นมาให้ตั้งใจเลยว่าวันนี้ทั้งวัน เราจะไม่ให้นมผสมลูก ลูกร้องเมื่อไหร่ให้เข้าเต้าอย่างเดียว ก่อนจะเริ่มดีเดย์ แนะนำให้เตรียมตัวให้พร้อมพยายามพักผ่อนให้มากๆ ลูกหลับ แม่ก็หลับด้วย ทานอาหารให้เต็มที่ ดื่มน้ำให้เพียงพอ โดยสังเกตจาก ไม่รู้สึกกระหายน้ำ และปัสสาวะเป็นสีเหลืองค่อนข้างใส ไม่ขุ่นเข้ม

 

            สองสามวันแรกที่งดให้นมผสมลูก อาจจะรู้สึกว่าลูกเข้าเต้าถี่ขึ้น ขอให้พยายามอดทน ให้เข้าเต้าไปเรื่อยๆ ภายในหนึ่งสัปดาห์ ทุกอย่างจะเข้าที่ ร่างกายจะปรับการผลิตน้ำนมมากขึ้นได้เพียงพอตามความต้องการของลูกเอง   เมื่องดนมผสมได้เด็ดขาดแล้ว ก็เริ่มกระบวนการปั๊มเพื่อเก็บเป็นสต็อคเผื่อไว้ไปทำงานได้ (อ่านหัวข้อ เคล็ดลับการทำสต็อคน้ำนม)

 

กรณีที่ 2

ลูกเข้าเต้าแม่ได้ดีไม่มีปัญหา แต่ให้นมผสมเพิ่มวันละ  3-4 ครั้ง รวมทั้งวันไม่เกิน 6 ออนซ์

 

            กรณีนี้ต้องย้ำว่า ลูกต้องไม่มีปัญหาในการดูดนมแม่จริงๆ นะคะ หมายความว่า ลูกชอบดูด ท่าทางมีความสุขเป็นส่วนใหญ่เวลาที่ดูดนมแม่ ไม่ร้องโมโหเวลาดูดนมแม่ ถ้าเป็นลักษณะฝืนให้ลูกดูด เพราะมีคนแนะนำว่าต้องพยายามให้ดูดก่อน แล้วตามด้วยนมผสม แต่ลูกไม่ค่อยจะชอบดูดเท่าไหร่ ให้ข้ามไปดูกรณีที่ 3 แทนค่ะ

 

            วิธีแก้ปัญหาลักษณะนี้ก็คือ ให้ตรวจสอบปริมาณนมผสมที่เสริมให้ลูกในแต่ละวันให้ได้ตัวเลขที่ถูกต้องก่อน ต้องจดบันทึกจริงๆ เลยว่าครั้งที่ 1 กินกี่ออนซ์ ครั้งที่ 2-3-4 กี่ออนซ์ รวมแล้วในรอบ 24 ชั่วโมงได้รับนมผสมไปทั้งหมดกี่ออนซ์ ข้อควรระวังคือ ต้องบันทึกเฉพาะปริมาณที่ลูกกินจริงๆ ไม่ใช่ปริมาณที่ชง เพราะบางครั้งเราชงเผื่อ แล้วลูกกินไม่หมด อย่างเช่นชง 3 ออนซ์ ลูกกินไป 2.5 ออนซ์ เหลือ 0.5 ออนซ์ แบบนี้จดแค่ 2.5 ออนซ์เท่านั้นค่ะ 

 

เมื่อได้ตัวเลขนมผสมที่แท้จริงแล้ว ให้เริ่มกำหนดเป้าหมายในการเพิ่มปริมาณน้ำนมแม่ ด้วยการค่อยๆ ลดปริมาณนมผสมในแต่ละวันลง ตัวอย่างเช่น ปัจจุบันลูกกินนมผสมเสริมอยู่ 6 ออนซ์ต่อวัน ก็ให้เริ่มลดลง 1 ออนซ์ทุกสองวัน โดยการกำหนดดังนี้ 

 

       วันที่ 1 ต้องให้นมผสมรวมแล้วไม่เกิน 6 ออนซ์ต่อวัน

       วันที่ 2 ต้องให้นมผสมรวมแล้วไม่เกิน 6 ออนซ์ต่อวัน

       วันที่ 3 ต้องให้นมผสมรวมแล้วไม่เกิน 5 ออนซ์ต่อวัน

       วันที่ 4 ต้องให้นมผสมรวมแล้วไม่เกิน 5 ออนซ์ต่อวัน

       วันที่ 5 ต้องให้นมผสมรวมแล้วไม่เกิน 4 ออนซ์ต่อวัน

       วันที่ 6 ต้องให้นมผสมรวมแล้วไม่เกิน 4 ออนซ์ต่อวัน

       วันที่ 7 ต้องให้นมผสมรวมแล้วไม่เกิน 3 ออนซ์ต่อวัน

       ……..

 

            ลดลงไปเรื่อยๆ จนไม่ต้องใช้นมผสมอีกต่อไป   ถ้าสองวันรู้สึกว่าลูกงอแงเกินไป ก็อาจจะทุกสามวันก็ได้ ถ้าเรากำหนดเป้าหมายให้ชัดเจน และปฏิบัติอย่างเคร่งครัด ร่างกายจะค่อยๆ ปรับตัวเพิ่มปริมาณการผลิตน้ำนมได้ตามความต้องการในที่สุด โปรดระลึกไว้ว่า ที่ผ่านมานั้น ร่างกายเราไม่สามารถผลิตน้ำนมได้เพียงพอ ก็เพราะเราเริ่มต้นไม่ถูกต้อง และแทรกแซงกระบวนการผลิตน้ำนมด้วยนมผสม ทุกหนึ่งออนซ์ที่เราเพิ่มนมผสมให้ลูก ก็หมายถึงร่างกายได้รับสัญญาณว่ามีความต้องการลดลง ทำให้ผลิตน้ำนมน้อยลงจนไม่พอ เมื่อเราเริ่มลดนมผสม ลูกก็จะต้องพยายามดูดจากแม่ให้ได้มากขึ้น เมื่อน้ำนมถูกดูดออกไปมากขึ้น ร่างกายก็จะผลิตน้ำนมเพิ่มขึ้นเอง 

 

กรณีที่ 3

ลูกเข้าเต้าแม่ได้ไม่ค่อยดี หรือไม่ยอมดูดนมแม่ ให้นมผสมมากกว่า 10 ออนซ์ขึ้นไปต่อวัน

 

            คุณแม่หลายท่านอาจจะเคยได้รับคำแนะนำว่าให้พยายามเอาลูกเข้าเต้าบ่อยๆ เพื่อกระตุ้นการสร้างน้ำนม แต่ในทางปฏิบัติจริงแล้ว พบว่าส่วนใหญ่มักไม่ค่อยได้ผลในการที่จะเพิ่มน้ำนมด้วยการพยายามให้ลูกดูดบ่อยๆ ในกรณีที่ลูกกินนมผสมเป็นหลัก เนื่องจากผู้ที่มีปัญหาลักษณะนี้ มักจะถูกรุมเร้าด้วยปัญหาอื่นๆ อีกหลายทาง ทุกครั้งที่พยายามให้ลูกดูด ลูกก็จะร้องงอแง โมโห เวลาลูกร้อง  แม่ก็เครียด  ร้อยละร้อยของกรณีแบบนี้ มักจะมีคนรอบข้างช่วยซ้ำเติมด้วยแรงกดดันให้แม่รู้สึกแย่หนักเข้าไปอีก

 

            พี่ป้าน้าอา ปู่ย่าตายาย มักไม่เข้าใจว่า ทำไมถึงต้องพยายามให้กินนมแม่ ทั้งๆ ที่แม่ก็ไม่มีน้ำนม คือ เขาไม่รู้ว่าที่เหมือนนมไม่พอนั้น เป็นเพราะปฏิบัติตัวไม่ถูก และไม่เข้าใจว่าการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่นั้นเป็นอย่างไร  พอหลานร้องก็สั่งให้ชงนมทันที หลายๆ บ้าน ทะเลาะกันใหญ่โต คนที่รับบทหนัก คือ คุณแม่ค่ะ ทั้งเครียด ทั้งเสียใจ น้อยใจ รู้สึกผิด โทษตัวเอง ท้อถอย อยากร้องไห้ทุกครั้งที่ป้อนนมลูกเลยทีเดียว พอแนะนำให้พยายามให้ลูกดูด ก็มักจะยอมแพ้กลับไปหานมผสมเหมือนเดิมทุกที 

            สำหรับกรณีแบบนี้ ถ้าลูกไม่ยอมดูด ก็หยุดไปเลยค่ะ ไม่ต้องสนใจ ปล่อยให้เขาชงนมผสมเลี้ยงกันไปก่อน เปลี่ยนแผนเลยนะคะ กลับมาหาตัวช่วยด้วยการใช้เครื่องปั๊มนมกระตุ้นแทนค่ะ  

            การใช้เครื่องปั๊มนมกระตุ้นนั้น มีเงื่อนไขสำคัญคือ เครื่องปั๊มนมที่จะใช้นั้น ต้องมีคุณภาพดีพอ นุ่มนวลไม่ทำให้เจ็บ เป็นปั๊มไฟฟ้าแบบปั๊มคู่ มีแรงดูดไม่เกิน 250 มม.ปรอท และมีรอบดูดหรือรอบดูดอย่างน้อย 40 ครั้งต่อนาที แล้วก็ต้องปั๊มให้ได้อย่างน้อยวันละ 8 ครั้ง ครั้งละ 15-20 นาที  

 

            การกระตุ้นการสร้างน้ำนมนั้น ไม่ว่าจะด้วยวิธีให้ลูกดูดบ่อยๆ หรือใช้เครื่องปั๊มนั้น ขอให้เข้าใจว่า เป็นไปไม่ได้ที่น้ำนมจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วอย่างที่ใจต้องการภายในวันสองวัน ยิ่งน้ำนมหายไปมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งใช้เวลานานเท่านั้นในการกระตุ้นเพื่อให้มันกลับมาใหม่  กว่าจะมีน้ำนมกลับมาเต็มที่ใหม่ อาจใช้เวลาเป็นเดือนก็ได้ 

 

            ดังนั้นในการปั๊มกระตุ้นวันแรกๆ อาจจะมีน้ำนมออกน้อยมาก ไม่กี่หยด หรืออาจจะไม่มีน้ำนมออกมาเลยในบางครั้ง ก็จำเป็นต้องปั๊มต่อไป ที่เราเรียกว่าปั๊มลมนั่นเอง เวลาที่เราปั๊มลมแบบนี้ แนะนำให้ดูทีวีเพลินๆ อย่าไปนั่งเฝ้าว่ามันจะออกมั้ย ทำไมไม่ออกนะ เพราะจะทำให้เครียดมากขึ้น ควรจะผ่อนคลายให้รู้สึกสบายใจ คิดเสียว่าไม่เป็นไร ได้แค่ไหนก็แค่นั้น ดีกว่าไม่ได้พยายามทำอะไรเลย เรามีหน้าที่ปั๊มตามตารางก็ทำไป 

 

            การปั๊มให้ได้ 8 ครั้งต่อวันนั้น จะทุก 3 ชม. ก็ได้ หรือในช่วงกลางคืนที่เรานอน อาจจะห่างกัน 4 ชม. สองครั้ง แล้วก็มีกลางวันสองครั้งที่ห่างกัน 2 ชม. ก็ได้ ขอให้ยึดที่จำนวนครั้งต่อวันเป็นหลัก คือต้องปั๊มให้ครบ 8 ครั้งในรอบ 24 ชม.นั่นเอง เรื่องนี้เป็นเรื่องที่สำคัญมาก ถ้าเราขาดวินัย เช่น วันนี้ปั๊มได้ 8 ครั้ง พรุ่งนี้ 5 ครั้ง อีกวันไม่อยากปั๊มแล้ว แล้วก็กลับมาปั๊มใหม่ แบบนี้จะไม่มีทางสำเร็จได้เลย ขอย้ำว่า ต้อง 8 ครั้งอย่างน้อย มากกว่ายิ่งดี แต่น้อยกว่าไม่ได้  

 

            การปั๊มในแต่ละครั้ง จะต้องจดบันทึกไว้ทุกครั้งว่า ปั๊มตอนกี่โมง ได้ปริมาณเท่าไหร่ รวมทั้งวันได้เท่าไหร่ จดไว้ทุกวันเพื่อเปรียบเทียบปริมาณและดูแนวโน้มว่ามีปริมาณเพิ่มขึ้นหรือไม่

 

            น้ำนมที่ปั๊มได้นั้น นำไปใส่ขวดให้ลูกกินได้เลย ถ้ามีมากพอสำหรับหนึ่งมื้อก็ให้เต็มมื้อ ถ้าไม่พอก็เสริมด้วยนมผสม  

 

            โดยปกติแล้วถ้าทำได้อย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง ภายในสิบวัน ปริมาณน้ำนมที่ปั๊มได้จากวันแรกเปรียบเทียบกับวันที่สิบ จะต้องเห็นว่ามีปริมาณเพิ่มขึ้น ภายในหนึ่งเดือนน่าจะตัดสินใจได้แล้วว่า เรามาถูกทางหรือไม่ 

            วิธีการปั๊มน้ำนมเพื่อกระตุ้นการสร้างน้ำนม โดยใช้เครื่องปั๊มนมอย่างเดียวโดยไม่ให้ลูกดูดนั้น ได้ความคิดมาจากคุณแม่ท่านหนึ่งชื่อว่าคุณนุ้ยค่ะ เวลานั้นลูกคุณนุ้ยใกล้สามเดือนแล้ว นมไม่พอให้ลูก ต้องใช้นมผสมช่วย ตอนนั้นก็พยายามแนะให้คุณนุ้ยให้ลูกดูดด้วย แต่คุณนุ้ยก็ยืนยันว่าไม่เอา จะปั๊มอย่างเดียว ภายในหนึ่งเดือน คุณนุ้ยก็ทำได้สำเร็จ คือ ปั๊มได้ปริมาณมากพอ โดยที่ไม่ต้องใช้นมผสมช่วย และยังเหลือไปแบ่งให้คนอื่นได้อีก ทั้งๆ ที่ก่อนหน้านี้ก็เคยไม่พอมาก่อน  

            ตอนที่รู้ว่าคุณนุ้ยทำได้ก็แปลกใจ เพราะไม่คิดว่าจะขยันปั๊มได้ขนาดนั้น แต่ภายหลังก็คิดได้ว่า ที่คุณนุ้ยน่าจะทำได้ง่าย เพราะไม่ต้องเครียดกับภาวะลูกร้อง ไม่ยอมดูด ไม่ต้องฝืน ไม่ต้องบังคับกัน ไม่ต้องรับแรงกดดันใดๆ จากคนรอบข้าง ไม่ต้องเครียด ไม่ต้องกังวล แค่ตั้งหน้าตั้งตาปั๊มตามตาราง เมื่อไม่เครียด ใจก็สบาย ปั๊มกระตุ้นไปเรื่อยๆ นมก็มาเอง

 

            เมื่อเราสามารถปั๊มนมได้ปริมาณเพียงพอสำหรับลูกโดยไม่ต้องใช้นมผสมแล้ว เราค่อยมาพิจารณาว่า เราจะหัดให้ลูกเข้าเต้าไหม หรือจะปั๊มต่อไปโดยไม่ต้องให้ลูกดูดดี อันนี้ก็แล้วแต่ความพอใจของแต่ละครอบครัว แต่โดยส่วนตัวแล้วก็ยังยืนยันว่า ประสบการณ์ในการให้ลูกเข้าเต้าจากอกนั้น เป็นเรื่องที่แม่ทุกคนไม่ควรพลาด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อลูกพ้นขวบไปแล้ว แววตาอ้อนวอน รอยยิ้มทั้งปากและตาที่ส่งให้แม่เวลาที่ได้ดูดนมอย่างมีความสุขนั้น เป็นสิ่งที่พิเศษสุดสำหรับแม่ทุกคนจริงๆ อาจจะเป็นตรงนี้ก็ได้ ที่ทำให้การหย่านมเป็นเรื่องยากอย่างที่มักได้ยินคำขู่กัน

 

            แต่อยากจะบอกว่า เมื่อเรามีน้ำนมแล้วนั้น การฝึกให้ลูกหันกลับมาดูดนมแม่ใหม่นั้น ไม่ใช่เรื่องยากแล้วค่ะ เพราะธรรมชาติเค้ามักจะมีความสุขเวลาดูดอยู่แล้ว หลังจากที่เขาดูดนมแม่จากขวดไปแล้ว เขาจะอิ่มและไม่งอแงแล้ว ก็ลองให้ดูดจากเต้าตาม หัดให้คุ้นไปเรื่อยๆ อ้อมกอดและสัมผัสจะช่วยให้เขาคุ้นเคยได้ไม่ยาก ลองดูค่ะ

 

            หลายคนอาจจะยังสงสัยว่า จะเป็นไปได้หรือ ที่เราจะเพิ่มน้ำนมด้วยการใช้เครื่องปั๊มกระตุ้น ขอบอกว่าวิธีการนี้เป็นวิธีการที่ใช้กันแพร่หลายมากในต่างประเทศ  คนที่ไม่ได้คลอดลูกเอง แต่รับเด็กเป็นลูกบุญธรรมก็ใช้วิธีนี้ในการสร้างน้ำนมเพื่อที่จะได้สามารถเลี้ยงลูกบุญธรรมด้วยนมตัวเองได้

 

            ทารกเป็นเครื่องกระตุ้นการสร้างน้ำนมที่ดีที่สุดก็ต่อเมื่อทารกนั้นดูดนมได้อย่างถูกวิธี ดูดแล้วได้น้ำนม แต่สำหรับทารกที่ดูดนมไม่เป็น โดยเฉพาะกลุ่มที่ได้รับขวดตั้งแต่แรกคลอดนั้น จะช่วยกระตุ้นได้น้อย เพราะจะดูดแล้วไม่ได้น้ำนม เมื่อไม่มีน้ำนมออกมา ร่างกายก็ไม่ได้รับการกระตุ้นนั่นเอง

 

            สรุปเพื่อไม่ให้หลงทางในการแก้ปัญหา คือ เลือกให้ได้ว่าเราอยู่ในกรณีไหน สำหรับกรณีที่ 1 และ 2 ที่ลูกไม่มีปัญหาในการดูดนมแม่นั้น ให้ยึดที่ลูกเป็นเครื่องกระตุ้นการสร้างน้ำนมก่อนอื่น ไม่ต้องวุ่นวายกับการใช้เครื่องปั๊ม จนกว่านมจะมาเต็มที่ เลิกนมผสมได้เด็ดขาด แล้วค่อยไปเริ่มปั๊มเพื่อสร้างสต็อค ส่วนกรณีที่ 3 ที่ลูกไม่ดูดนั้น ก็ยังไม่ต้องพยายามฝืนให้ดูด แม่จะได้ไม่ต้องเครียดหลายอย่าง ให้ใช้เครื่องปั๊มกระตุ้นให้เต็มที่ เมื่อนมมีปริมาณมากเพียงพอจนแม่มั่นใจ แล้วค่อยกลับไปฝึกให้ลูกเข้าเต้าแทน

 

            ในช่วงระหว่างพยายามที่จะเพิ่มน้ำนมนี้ อาจจะกินยาดอมเพอริโดน ยาประสระน้ำนม หรือ Fenugreek เพื่อเป็นตัวช่วยด้วยก็ได้ค่ะ


  • ฟัง YouTube ฟัง Podcast 1 - ในขณะที่พ่อแม่ส่วนใหญ่ทราบดีว่า “การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ดีที่สุดสำหรับทารก” แต่อัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่กลับต่ำกว่าการเลี้ยงลูกด้วยนมผสมหลายเท่า นั่นเป็...

  • ฟัง Youtube ฟัง Podcast EP2 ทำความเข้าใจเรื่องกระบวนการผลิตน้ำนม Lactogenesis I & II น้ำนมแม่ถูกผลิตจากการทำงานของฮอร์โมน กระบวนการผลิตน้ำนมของร่างกาย จะแบ่งเป็นสามช่วง ช่วง...

  • น้ำนมแม่แบ่งได้ 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 โคลอสตรัม หรือหัวน้ำนมเหลือง เป็นน้ำนมที่เต้านมผลิตออกมาในช่วงแรกคลอดจนถึง 3-5 วันหลังคลอด ปริมาณเฉลี่ย 15-30 cc ต่อวัน มีลักษณะเหนียวและข้...

  • ใครบ้างที่ต้องปั๊มนม คุณแม่ที่คลอดก่อนกำหนด หรือลูกมีปัญหาทางสุขภาพทำให้เข้าเต้าไม่ได้ ต้องอยู่ NICU คุณแม่ผ่าคลอดที่ลูกมาเข้าเต้าช้า มีปัญหาในการเข้าเต้า เข้าเต้าได้ไม่ดี หรื...

  • เครื่องปั๊มหรือลูกดูด แบบไหนเกลี้ยงเต้ากว่ากัน คำเตือนที่คุณแม่มือใหม่แม่มักจะได้ยิน คือ ต้องปั๊มให้เกลี้ยงเต้า หรือลูกดูดได้เกลี้ยงเต้ากว่าใช้เครื่องปั๊ม ซึ่งอาจจะทำให้หลายคนเข้า...

  • เริ่มปั๊มนมเมื่อไหร่ดี สำหรับคุณแม่ที่ลูกเข้าเต้าได้ดี อย่าลืมว่าการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่ดีที่สุด คือการให้ลูกเข้าเต้า การปั๊มนมแม่แล้วใส่ขวดป้อน สู้ให้ลูกเข้าเต้าไม่ได้ แต่สำหรั...

  • กลไกการหลั่งน้ำนม กลไกการหลั่งน้ำนม หรือ Let-down Reflex เป็นกระบวนการที่ร่างกายหลั่งน้ำนมออกมาโดยการทำงานของฮอร์โมน Oxytocin คุณแม่บางท่านอาจจะรู้สึกจี๊ดๆ ที่เต้านมก่อนที่น้ำนมจะ...

  • ทำไมปั๊มนมไม่ออกหรือปั๊มได้น้อย คุณแม่ที่ใช้เครื่องปั๊มนมคุณภาพดี นุ่มนวล ไม่เจ็บ เครื่องที่โค้ชเลือกให้ว่าเหมาะสมแล้ว แต่ทำไมยังปั๊มไม่ค่อยออกหรือปั๊มได้น้อยนั้น ลองตรวจสอบสาเหตุ...

  • บทที่ 5 - 20 เคล็ดลับสำหรับแม่ทำงาน ตอนที่ 1 เคล็ดลับในบทนี้แปลและเรียบเรียงมาจากเว็บไซต์ของ Dr. Sear บริบทบางอย่างอาจจะไม่ตรงกับสังคมไทย แต่ส่วนใหญ่แล้วเป็นคำแนะนำที่มีประโยชน์ซ...

  • บทที่ 5 - 20 เคล็ดลับสำหรับแม่ทำงาน ตอนที่ 2 ทำชีวิตให้ง่ายขึ้น 11.ทำให้การออกจากบ้านตอนเช้าเป็นเรื่องง่ายขึ้น ลูกจะทำให้กิจวัตรประจำตอนเช้าวันทำงานของคุณไม่ราบรื่นเหมือนเดิม ...

  • บทที่ 6 - วิธีเก็บรักษานมแม่ เก็บน้ำนมในภาชนะสำหรับใส่อาหารแบบไหนก็ได้ หรือจะใช้ถุงเก็บน้ำนมแม่ก็ได้ เขียนวันเวลาที่ปั๊มนมไว้บนภาชนะ ควรแบ่งปริมาณน้ำนมให้พอดีกับมื้อหนึ่งที่ลูกกิน...

  • บทที่ 7 – วิธีฝึกลูกดูดนมแม่จากขวด เมื่อคุณแม่ต้องกลับไปทำงาน ก็จำเป็นต้องให้ลูกกินนมแม่ด้วยวิธีอื่นแทนการเข้าเต้าการป้อนนมแม่ที่ปั๊มออกมาด้วยขวดเป็นวิธีที่ใช้กันมากที่สุด แต่เมื่...

  • บทที่8 -ทารกต้องการน้ำนมปริมาณมากน้อยเพียงใด   แม่ ๆ หลายคนสงสัยว่าจะต้องเตรียมน้ำนมแม่ไว้ปริมาณเท่าไร เวลาที่ไม่สามารถอยู่ให้นมลูกได้ด้วยตนเอง ในเด็กทารกที่เลี้ยงด้วยนมแ...

  • บทที่ 9 - เคล็ดลับการทำสต็อคน้ำนมและเพิ่มน้ำนมด้วยการปั๊มนม สิ่งสำคัญที่ควรรู้ ปริมาณน้ำนมที่ร่างกายผลิต = ปริมาณน้ำนมที่ระบายออก ดังนั้นถ้าต้องการให้มีน้ำนมมากเท่าใด ต้อ...

  • บทที่ 11 - Power Pumping ปั๊มเพิ่มน้ำนม Power pumping เป็นเทคนิคการปั๊มนม โดยเลียนแบบการดูดของทารกในช่วงแรกเกิดซึ่งมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ทารกจะดูดบ่อยและนาน ช่วยกระตุ้นการ...

  • บทที่ 12 - ยาเพิ่มน้ำนม คำถามยอดนิยมของคุณแม่ให้นมลูกทุกคนก็คือ มียาอะไรที่ช่วยเพิ่มน้ำนมได้บ้าง แม้จะแนะนำว่าควรแก้ปัญหาด้วยวิธีที่ไม่ใช้ยาก่อนดีกว่า โดยการให้ลูกดูดให้ถูกวิธี ด...

  • nommaecenter_เครื่องปั๊มนมไฟฟ้า_สต๊อกนม_Unimom_Allegro2.jpg
    เมื่อตั้งใจจะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ล้วนให้นานที่สุด และเลือกที่จะใช้เครื่องปั๊มนมเป็นผู้ช่วย เราเข้าใจดีว่า คุณแม่ก็ยังมีความกังวล และมีคำถามในใจอีกมากมาย เราจึงรวบรวมคำตอบจากความกังวล...

  • nommaecenter_ปั๊มนม_สต๊อกนม_นมแม่1.jpg
    คำถามที่ได้ยินบ่อยๆ จากคุณแม่ที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่คือ ต้องสต๊อกน้ำนมไว้เท่าไหร่ถึงจะพอสำหรับลูก คำตอบคือ ถ้าต้องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ล้วนโดยไม่ใช้นมผสม ช่วงที่ลาคลอดสามเดือน ต่อให้...

  • nommaecenter_เครื่องปั๊มนม_ARDO_Calypso.jpg
    วิธีเพิ่มปริมาณน้ำนมที่ดีที่สุด คือ ให้ลูกดูดนมแม่อย่างถูกวิธีบ่อยๆ และต้องเป็นการดูดอย่างมีประสิทธิภาพ คือ ดูดแล้วต้องได้น้ำนม ไม่ใช่แค่การอมหัวนมแม่เป็นเวลานานๆ เท่านั้น ปกติแล้...

  • nommaecenter_เลี้ยงลูกด้วยนมแม่_ปั๊มนม_เต้านมอักเสบ1.jpg
    ปวดเต้า แดง เจ็บปวดมาก ทำอย่างไรดี? นี่คืออาการ "เต้านมอักเสบ" ที่แม่หลายคนกลัว หลายคนประสบมาแล้วรู้ว่ามันเจ็บปวดทรมานแค่ไหน จนทำให้แม่หลายคนล้มเลิกความตั้งใจที่จะเดินต่อไปบนเส้นทา...

  • nommaecenter_เครื่องปั๊มนมไฟฟ้า_สต๊อกนม_Unimom_Minuet_LCD1.jpg
    คุณแม่หลายคนได้รับข้อมูลมาผิดๆ จนทำให้เชื่อว่า เครื่องปั๊มนมที่ยิ่งดูดแรงยิ่งดี จึงมักตัดสินใจเลือกซื้อเครื่องปั๊มนมไฟฟ้าด้วยเหตุผลนั้น แล้วยังปรับโหมดไว้แรงสุดตั้งแต่คลอดใหม่ๆ ซึ่...

  • all-um.jpg
    ตารางคำนวณปริมาณน้ำนม กรอกจำนวนมื้อที่ป้อนนมลูกในช่อง แล้วกด calculate

  • หัวนมบาดเจ็บจากปั๊ม_181116_0020.jpg
    ปัญหาที่แม่ๆ หลายคนต้องพบเจอจากการใช้เครื่องปั๊มนมที่ไม่เหมาะกับตัวเอง มีอยู่ 5 ปัญหาหลักๆ คือ 1. ปั๊มไม่ออก ปั๊มได้น้อย2. ปั๊มแล้วเจ็บ จนขยาดไม่อยากปั๊ม3. ปั๊มได้เลือด แทนได้นม4. ...

  • Molax_Molax-M6002PPS0.jpg
    ข้อขัดแย้งเรื่องการใช้ Domperidone (Motilium) สำหรับแม่ให้นม บทความโดย พญ.สุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ https://www.doctorbreastfeeding.com คุณแม่แฟนเพจหลายท่านแชร์โพสต์จากเพจ RDU มาถาม...

  • molax-m.jpg
    เริ่มใช้ดอมเพอริโดน (Domperidone) บทนำ ดอมเพอริโดน (Domperidone หรือ Motilium) เป็นยาซึ่งมีผลข้างเคียงช่วยกระตุ้นการสร้างน้ำนม ซึ่งอาจจะเป็นผลมาจากการเพิ่มปริมาณฮอร์โมนโปรแลคติน (...

  • 47386512_2168287783192458_4535804095314788352_n.jpg
    คุณแม่ปั๊มล้วน ไม่ได้ให้ลูกเข้าเต้า ต้องทำอย่างไรจึงจะมีน้ำนมเพียงพอ เรามีเคล็ดลับมาฝากกัน ตั้งเป้าหมาย โดยปั๊มนมให้ได้ปริมาณเต็มที่ 25 - 35 ออนซ์ต่อวัน ภายใน 10 - 14 วัน หลังคลอด...

  • มะเขือเปราะ-ดาวิกา-3.jpg
    เมื่อมีอาการบ่งบอกว่าเป็นเต้านมอักเสบ นมมีก้อนแข็งควรปฎิบัติดังนี้ 1. อย่าหยุดให้นมข้างที่เป็น เพราะกลัวว่าลูกจะกินไม่ได้ ความจริงคือ ต้องให้ลูกดูดเป็นข้างแรกเสมอ ดูดให้บ่อยขึ้น ปั...

  • ตอบทุกคำถาม FAQ - บีบมือ vs ปั๊มมือ vs ปั๊มไฟฟ้า สำหรับคุณแม่มือใหม่ที่ตั้งใจเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ อาจจะมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการเลือกที่ปั๊มนม หรือเครื่องปั๊มนมว่าควรจะเลือกแบบไหน อย่า...

  • 1. เครื่องปั๊มนมเป็นเครื่องมือแพทย์ที่ใช้แก้ปัญหาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ สามารถช่วยชีวิตได้ทั้งแม่และลูก ไม่ใช่เครื่องใช้ไฟฟ้าทั่วไป การซื้อเครื่องปั๊มนมตามรีวิวโดยขาดความรู้ที่ถูกต้...

  • ใช้ Youha แล้วเจ็บ เปลี่ยนกรวยหรือเปลี่ยนเครื่องดี คุณแม่ที่จะใช้ Youha ได้แล้วไม่เจ็บต้องเป็นคุณแม่ที่นมเยอะมากๆและมีหัวนมยืดหยุ่นลานนมหนานะคะเพราะแรงดูดของ youha แรงมากๆระดับต่ำส...

  • Baby Nursing / Breastfeeding Tracker เป็นแอพสำหรับบันทึกการเข้าเต้า ปั๊มนม ป้อนนม รวมทั้งสุขภาพและพัฒนาการต่างๆ ของลูกน้อย สำหรับ ระบบ Android / Sumsung, Huawei, Oppo, etc. สำห...

Visitors: 94,990