บทที่ 5 20 เคล็ดลับสำหรับแม่ทำงาน ตอนที่ 1

 

บทที่ 5 - 20 เคล็ดลับสำหรับแม่ทำงาน ตอนที่ 1

 

เคล็ดลับในบทนี้แปลและเรียบเรียงมาจากเว็บไซต์ของ Dr. Sear บริบทบางอย่างอาจจะไม่ตรงกับสังคมไทย แต่ส่วนใหญ่แล้วเป็นคำแนะนำที่มีประโยชน์ซึ่งคุณแม่ทุกท่านสามารถนำไปปรับใช้ได้

 

            แต่ไหนแต่ไรมา ผู้หญิงเราล้วนแล้วแต่ต้องให้นมลูกไปด้วยทำงานไปด้วย ผู้หญิงเมื่อหลายร้อยปีก่อนก็มีงานที่ต้องรับผิดชอบมากมายนอกเหนือจากการให้นมลูก ส่วนผู้หญิงยุคใหม่ที่อยู่บ้านก็ใช่ว่าจะเลี้ยงลูกแค่อย่างเดียว เพราะมีทั้งงานบ้านอันแสนจะยุ่งเหยิง และจะต้องรับมือกับเจ้าตัวเล็กอีก ผู้หญิงยุคนี้จำนวนมากก็จำเป็นต้องออกไปทำงานนอกบ้านเพื่อช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่าย แต่ถึงจะกลับไปทำงานแล้ว แม่ทำงานก็ยังให้นมแม่กับเจ้าตัวน้อยต่อไปได้ เรามีเคล็ดลับ 20 วิธีสำหรับแม่ทำงานมาแนะนำ

 

ช่วงลาคลอด

 

  1. ตั้งเป้าหมายระยะสั้นก่อน “มุ่งมั่นว่าเราต้องทำได้ “

การทำงานควบคู่ไปกับการเลี้ยงลูกเป็นเรื่องยาก คุณต้องวิเคราะห์ทางเลือกที่มีอยู่ทั้งหมด แล้ววางแผนว่าจะจัดการอย่างไรจึงจะดีที่สุด ถ้ายังลังเลอยู่ว่าจะให้นมแม่หลังกลับไปทำงานดีไหม ก็อาจจะตั้งเป้าทดลองอย่างน้อย 30 วัน จะได้มีเวลามากพอจะหาทางออกให้กับปัญหาที่พบเจอ แล้วคุณจะรู้ว่ารางวัลที่คุณกับเจ้าตัวน้อยของคุณได้รับมันคุ้มค่าขนาดไหน

        2. สร้างความผูกพันกับลูก “ไม่เครียด” เลิกตั้งคำถามว่า “จะเกิดอะไรขึ้น ถ้า...” เช่น “ถ้าลูกไม่ยอมดูดนมขวด จะทำยังไง” “ถ้าลูกติดนมแม่
                ต้องให้ดูดถึงจะยอมนิ่งล่ะ” “ตอนอยู่บ้านก็ปั๊มได้แค่ติดก้นขวด กลับไปทำงานจะปั๊มพอให้ลูกกินได้ยังไง”

 

            ปัญหาทุกอย่างมีทางออก การวางแผนล่วงหน้าเป็นเรื่องดี แต่ไม่จำเป็นต้องเตรียมตัวมากมายเกินเหตุ อย่าให้ความวิตกกังวลพวกนี้มาขัดขวางช่วงเวลาของคุณกับลูกในสัปดาห์แรกๆ หลังคลอด  แม่บางคนพยายามทุกวิถีทางที่จะยืดเวลาที่จะได้อยู่กับลูกให้นานขึ้น แม่ที่ใช้เวลาอยู่กับลูกเต็มที่ในช่วงแรกนี้ เมื่อกลับไปทำงานจะพยายามอย่างสุดความสามารถที่จะรักษาสายสัมพันธ์อันนี้ไว้ และทำให้เกิดผลดีกับลูกเต็มๆ

 

ลางานให้นานที่สุดเท่าที่จะทำได้ ยิ่งลาได้นานเท่าไร ก็ยิ่งให้นมหลังกลับไปทำงานได้ง่ายขึ้นเท่านั้น ใช้วันลาพักร้อนหรือวันลาอื่นที่มี ถ้าลาแบบไม่รับเงินเดือนต่อได้ยิ่งดี (เงินเดือนที่เสียไปอาจจะกลายเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าที่สุด) หากลูกจำเป็นต้องได้รับนมแม่เพราะคลอดก่อนกำหนดหรือเป็นภูมิแพ้ อาจจะให้หมอช่วยออกใบรับรองแพทย์ให้ลางานได้ยาวขึ้นอีก

           3. เริ่มต้นดี มีชัยไปกว่าครึ่ง “ดูดเร็ว ดูดบ่อย ดูดถูกวิธี” ยิ่งการให้นมลูกในช่วงสัปดาห์แรกๆ ราบรื่นเท่าไร โอกาสที่จะประสบความสำเร็จ
               ในการให้นมหลังกลับไปทำงานก็ยิ่งมากขึ้นเท่านั้น ให้ลูกเข้าเต้าเร็วที่สุดหลังคลอด และพยายามกระตุ้นให้ร่างกายผลิตน้ำนมให้ได้มากๆ
                การให้ลูกเข้าเต้าทุกครั้งตามที่ลูกต้องการจะช่วยให้ร่างกายผลิตน้ำนมได้มากพอสำหรับลูก

 

ขโมยปั๊มเพิ่มหลังลูกดูดเพื่อหลอกร่างกายให้ผลิตนมเพิ่มขึ้นเพื่อทำสต็อกล่วงหน้า ในช่วงลาคลอดนี้ ไม่เพียงแต่ต้องฝึกลูกให้ดูดนมจากเต้าให้เก่งในเดือนแรก เพื่อจะได้ไม่เกิดอาการสับสนเมื่อต้องดูดจุกนมยางภายหลังแล้ว การปั๊มนมก็ต้องฝึกด้วยเช่นกัน ถ้าร่างกายคุ้นเคยทั้งการเข้าเต้าของลูกและเครื่องปั๊ม กลไกการหลั่งน้ำนมก็จะทำงานได้ดีแม้ว่าต้องปั๊มนมในที่ทำงานโดยที่ลูกไม่ได้เข้าเต้า

 

วางแผนกลับไปทำงาน

 

  1. ศึกษาทางเลือกที่มีอยู่ลองนึกดูว่าคุณมีทางเลือกอะไรอยู่บ้างหลังกลับไปทำงาน
    • พาลูกไปด้วย แม่ที่ทำธุรกิจส่วนตัวอาจพาลูกไปที่ทำงานด้วย หาที่ให้เจ้าตัวเล็กนอน เปลี่ยนผ้าอ้อม และคลานเล่น
    • ใช้เป้อุ้ม จะได้ทำงานบางอย่างไปได้ด้วย ไม่ว่าจะเป็นขายของ จัดเอกสาร ทำคอมพิวเตอร์ หรือแม้กระทั่งเข้าประชุม
    • ทำงานที่บ้าน บางคนอาจทำงานที่บ้านสัปดาห์ละวันสองวัน และเข้าออฟฟิศในวันที่เหลือ บางคนอาจทำงานช่วงที่ลูกหลับ หรือเข้านอนดึกหน่อย ตื่นให้เช้าขึ้น แม่บางคนเอาลูกไว้ใกล้ๆ หรือบนตักระหว่างทำงาน    อาจหาพี่เลี้ยงมาช่วยดูแลลูกระหว่างที่ตัวเองทำงาน แล้วค่อยไปให้นมเวลาที่ลูกหิว
    • หาที่เลี้ยงลูกในที่ทำงาน นายจ้างบางรายใจดี จัดให้มีที่เลี้ยงเด็กในที่ทำงาน แม่สามารถไปให้นมลูกได้ช่วงพักหรือให้พี่เลี้ยงโทรมาตามเวลาลูกหิวนม หรืออาจนัดกับพี่เลี้ยงว่าจะไปให้นมลูกช่วงไหน เขาจะได้ไม่ให้นมลูกจนอิ่มไปเสียก่อน
    • หาที่เลี้ยงลูกใกล้ที่ทำงาน พ่อแม่บางคู่พยายามหาเนอร์สเซอรีใกล้บ้าน แต่บางครั้งเนอร์สเซอรีใกล้ที่ทำงานอาจจะดีกว่า โดยเฉพาะสำหรับคนที่ต้องใช้เวลาเดินทางนานๆ ถ้าเนอร์สเซอรีอยู่ใกล้ที่ทำงาน แม่อาจไปให้นมลูกได้ในบางมื้อ ให้ลูกเข้าเต้าที่เนอร์สเซอรีตอนไปส่งช่วงเช้าและตอนรับกลับช่วงเย็น จะช่วยให้ลดปริมาณนมที่คุณต้องปั๊มระหว่างวันลงไปได้
    • พาลูกไปหาแม่ บางครั้งอาจให้คนเลี้ยง ซึ่งอาจจะเป็นพ่อ ปู่ ย่า ตา ยาย หรือพี่เลี้ยง ใครก็ได้ที่ยอมลำบากเดินทางเพื่อสุขภาพและความสุขของเจ้าตัวเล็ก อุ้มลูกไปหาแม่ในช่วงพักกลางวันหรือช่วงอื่นตามแต่จะสะดวก หรือจะนัดเจอกันครึ่งทางก็ได้
    • งานพาร์ทไทม์ เลือกทำงานพาร์ทไทม์ระหว่างที่ลูกยังเล็ก บางคนค่อยๆ เพิ่มเวลาทำงานขึ้นอย่างช้าๆ จนทำเต็มเวลาเมื่อตัวเองและลูกพร้อม

 

  1. ยืดหยุ่นให้มากทารกมักจะสามารถทำให้แม่หลุดออกจากแผนชีวิตในเรื่องหน้าที่การงานที่วางไว้ได้เสมอ คุณจะต้อง เปลี่ยนขนาดเสื้อผ้า เปลี่ยนพี่เลี้ยง เปลี่ยนเครื่องปั๊มนมหรือกระทั่งเปลี่ยนงานใหม่ พยายามยืดหยุ่นให้มากที่สุดในการวางแผนกลับไปทำงานและให้นมลูก ความต้องการของคุณเปลี่ยนไปเรื่อยๆ และของลูกก็เหมือนกัน

ถ้าวิธีที่เคยใช้ได้ผลเมื่อสองสามสัปดาห์ก่อนใช้ไม่ได้วันนี้ ก็หาวิธีใหม่ เด็กจะมีความต้องการและความชอบที่ต่างกันไปในแต่ละช่วงวัย พ่อแม่หลายคู่ปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และเป้าหมายชีวิตในเรื่องงานของตัวเองไปในช่วงที่เลี้ยงลูกที่ยังเล็ก มองหาทางเลือกใหม่ที่คุณอาจจะไม่สนใจมาก่อนที่จะมีลูก ไม่ว่าจะเป็นการลาออกจากงาน หางานใหม่ที่มีเวลาให้ครอบครัวมากขึ้น เริ่มทำธุรกิจส่วนตัว หรือแม้กระทั่งเปิดเนอร์สเซอรีรับดูแลลูกให้คนอื่นไปพร้อมๆ กับเลี้ยงลูกไปด้วย

 

  1. หาพี่เลี้ยงเด็กที่ยินดีสนับสนุนเรื่องนมแม่ถ้าเป็นไปได้ควรจะเริ่มมองหาไว้เนิ่นๆ ตั้งแต่ช่วงท้อง จะได้ไม่ต้องเสียเวลาไปวิ่งหาแทนที่จะได้อยู่กับลูกเต็มที่หลังคลอด

 

ถ้าพี่เลี้ยงไม่มีความรู้เรื่องนมแม่ที่คุณจะปั๊มให้ลูก ค่อยๆ แนะนำเขาว่านมแม่มีประโยชน์กับลูกอย่างไร สอนให้เขารู้วิธีละลายและอุ่นนมแม่ และเขียนไว้เป็นลายลักษณ์อักษร จัดระบบการเตรียม เขียนฉลาก และเตรียมนมแม่ใส่ขวดให้ลูกไว้ พยายามทำให้ขั้นตอนพวกนี้ง่ายที่สุด ลองใช้เทคนิคต่อไปนี้เพื่อช่วยให้พี่เลี้ยงเตรียมนมได้เร็วขึ้น

  • เวลาแช่นมแม่ให้แข็ง ให้ใส่ปริมาณไม่มากนัก จะได้ละลายได้เร็วขึ้น แนะนำไม่เกิน 6 ออนซ์ต่อถุง
  • ละลายนมแม่ที่จะใช้ในวันรุ่งขึ้นโดยการเอาออกจากช่องแช่แข็ง แล้วทิ้งไว้ข้ามคืนให้ละลายในช่องแช่เย็นธรรมดาด้านล่าง
  • นมที่ละลายแล้วไม่ได้ใช้ภายใน 24 ชั่วโมงจะต้องทิ้งไป
  • ให้พี่เลี้ยงลองป้อนนมแม่แช่เย็นจากตู้เย็นโดยไม่ต้องอุ่นก่อนดู แม้ว่าเด็กอาจจะชอบนมอุ่นๆ เหมือนกับที่ดูดจากเต้าของแม่มากกว่าก็ตาม
  • บอกกับพี่เลี้ยงว่าให้อุ้มน้องทุกครั้งเวลาป้อนนม และถ้าร้องหรือโยเยก็ให้อุ้มขึ้นมา
  • ถ้าลูกไม่ยอมดูดนมจากขวด ลองอ่านหัวข้อ “วิธีฝึกให้ลูกยอมดูดนมแม่จากขวด”
  • สอนพี่เลี้ยงว่าควรจะทำอย่างไรเมื่อน้องแค่รู้สึกอยากดูด จะให้ดูดจุกหลอก หรือนิ้วมือที่ล้างสะอาดแล้วของพี่เลี้ยงก็ได้
  • พยายามสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับพี่เลี้ยงเอาไว้ แต่จำไว้ว่าคุณคือคนเดียวเท่านั้นที่เป็นคนรับผิดชอบและกำหนดความเป็นอยู่ของลูก ไม่ใช่ใครคนอื่น

 

  1.  เตรียมซื้อเครื่องปั๊มนมไว้ก่อนล่วงหน้าสำหรับคุณแม่ทำงานที่ต้องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างต่อเนื่องหลังจากกลับไปทำงาน เครื่องปั๊มนมเป็นอุปกรณ์ที่จำเป็น เพราะคุณแม่จะต้องปั๊มนมอย่างสม่ำเสมอทุก 2-3 ชม. ทุกวันที่ไปทำงาน เพื่อให้ร่างกายผลิตน้ำนมได้เพียงพอสำหรับลูก

 

การปั๊มนมเป็นความสามารถที่ต้องฝึกฝน เพราะร่างกายเราจะตอบสนองกับเครื่องปั๊มนมได้ไม่เหมือนที่ลูกดูด การเริ่มต้นปั๊มนมเร็วๆ ตั้งแต่หลังคลอด จะช่วยให้ร่างกายผลิตน้ำนมได้มากและเคยชินกับเครื่องปั๊มได้เร็ว แต่ต้องไม่ลืมว่าการปั๊มนมในเดือนแรกนั้น เป็นการปั๊มเพื่อเก็บเป็นสต็อก ไม่ใช่ปั๊มเพื่อใส่ขวดป้อนลูก ไม่ควรให้ลูกดูดขวดก่อนหนึ่งเดือน เพื่อป้องกันการสับสนหัวนม

 

  • เวลาที่ดีที่สุดในการปั๊มคือช่วงเช้า ซึ่งเป็นช่วงที่น้ำนมมักไหลเยอะ
  • ร่างกายของคุณจะผลิตน้ำนมอยู่เรื่อยๆ ตลอดเวลา เพราะฉะนั้นถึงคุณจะปั๊มนมออกไปบ้างแล้วตอนลูกหลับ ก็จะยังมีน้ำนมเหลือพอให้ลูกดูดได้
  • อย่าตกใจถ้าปั๊มนมได้แค่นิดเดียวในครั้งแรกๆ ปั๊มบ่อยๆ ทุกวันๆ นมจะค่อยๆ เพิ่มขึ้นเอง

 

 

  1.  ฝึกลูกให้คุ้นกับขวดนมแต่อย่าเริ่มเร็วเกินไป  พยายามอย่าให้นมขวดกับลูก โดยเฉพาะในช่วงเดือนแรก เพราะเป็นช่วงที่ลูกกำลังฝึกดูดนมแม่ และร่างกายของคุณกำลังพยายามสร้างน้ำนมให้มากพอสำหรับลูก ถ้าให้นมขวดเร็วเกินไป เด็กบางคนอาจจะเกิดอาการสับสนระหว่างหัวนมกับจุกนม  ทำให้ไม่อยากดูดนมจากเต้าแม่

 

มีเด็กบางคนที่ดูดได้ดีทั้งนมแม่และนมขวด แต่เด็กบางคนอาจจะชอบนมขวดมากกว่า เพราะไม่ต้องออกแรงดูดมากก็มีน้ำนมไหลออกมา เลยกลายเป็นว่าไม่ค่อยยอมกลับไปดูดนมแม่อีก ทางที่ดีอย่าเสี่ยงจะดีกว่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าลูกของคุณเริ่มต้นการดูดนมแม่อย่างยากลำบากอยู่แล้ว ให้เวลาเขาเรียนรู้เรื่องการดูดนมแม่ให้เก่งก่อนจะเริ่มให้ลองของใหม่ ทารกจะยอมดูดขวดแต่โดยดีเองเวลาหิว โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าในขวดเป็นนมแม่ อย่าไปกังวลหรือบังคับลูกถ้าเขาไม่ยอมดูด ทารกบางคนไม่ยอมดูดนมขวดที่แม่ป้อน แต่ยอมดูดแต่โดยดีหากเป็นคนอื่นป้อน

 

  1. วางแผนล่วงหน้าและคุยกับนายก่อน  
  • วางแผนล่วงหน้า เช่น จะไปให้นมลูกตอนพักกลางวันอย่างไร ถามคนในที่ทำงานที่เคยปั๊มนมให้ลูกว่ามีปัญหาอะไรบ้าง และเขาแก้ไขอย่างไร
  • จะปั๊มตอนไหน ปั๊มบ่อยเท่ากับที่ลูกเข้าเต้า อาจจะทุกสองถึงสามชั่วโมง เช่น ปั๊มช่วงสายๆ ครั้งหนึ่ง พักกลางวันครั้งหนึ่ง และบ่ายๆ อีกครั้ง ควรใช้ปั๊มคู่ที่ปั๊มได้สองข้างในครั้งเดียว จะช่วยประหยัดเวลาได้มาก
  • จะปั๊มที่ไหน ที่โต๊ะ ในห้องน้ำ หรือมีห้องไหนว่างและส่วนตัวพอจะใช้เป็นที่ปั๊มได้บ้าง (แขวนป้าย “ห้ามรบกวน”ไว้หน้าห้อง) ถ้ามีห้องพักผู้หญิงก็อาจจะพอใช้ได้ ถ้าทำงานในโรงพยาบาล อาจจะมีห้องปั๊มนมตั้งอยู่ใกล้ๆ กับห้องเด็กอ่อนจะเก็บน้ำนมที่ไหน ในตู้เย็นที่ทำงาน หรือถ้าไม่มีก็ต้องหากระติกน้ำแข็งเตรียมไว้ด้วย
    1. ที่ทำงานบางแห่งจัดให้มีที่ปั๊มนมสำหรับแม่ให้นมลูกโดยเฉพาะ ถ้าคุณทำงานบริษัทใหญ่ที่มีผู้หญิงวัยกำลังมีลูกเล็กอยู่เยอะ ก็อาจจะเป็นไปได้ที่จะขอให้บริษัทสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่โดยจัดห้องปั๊มนมให้ และให้มีปั๊มไฟฟ้าแบบที่ใช้กันตามโรงพยาบาลและตู้แช่เก็บนมเตรียมเอาไว้ให้ใช้กันในห้อง
    2. บริเวณที่ปั๊มควรมีปลั๊กไฟให้เสียบกรณีใช้ปั๊มไฟฟ้า มีอ่างสำหรับล้างมือ อาจจะมีโต๊ะกับเก้าอี้ด้วย เผื่อจะใช้วางอุปกรณ์ อาหารกลางวัน หรืองานที่คุณหอบเข้าไปอ่านด้วยระหว่างปั๊ม
  • จะเก็บน้ำนมที่ไหน ในตู้เย็นที่ทำงาน หรือถ้าไม่มีก็ต้องหากระติกน้ำแข็งเตรียมไว้ด้วย

คุยกับนายเรื่องแผนการปั๊มนม บอกนายว่าต้องการให้นมต่อและต้องมีการปั๊มนมในระหว่างงาน  ขอความสนับสนุนหรือให้เขาช่วยหาทางออกให้ในปัญหาบางเรื่อง ถึงจะวางแผนล่วงหน้าเอาไว้แล้ว แต่ก็ควรจะยืดหยุ่นพอจะปรับเปลี่ยนแผนบ้างในบางครั้ง ท่องเอาไว้เสมอว่า เพราะรู้ว่านมแม่ดี ฉันจึงต้องทำให้ได้

          10. ปรับตัวเข้ากับตารางชีวิตใหม่ เลือกกลับไปทำงานวันแรกในวันพุธหรือพฤหัสบดี เพราะทำงานแค่ 2-3 วันก็ได้หยุด จะได้ไม่เหนื่อยมาก
                นักเมื่อถึงปลายสัปดาห์
และได้พักวันเสาร์อาทิตย์ หรืออาจขอทำงานพาร์ทไทม์ตอนลูกเล็กๆ เพื่อใช้เวลาปรับตัว                                                              

 

Visitors: 96,597